พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โสมมิตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโสมมิตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40538
อ่าน  393

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 63

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๒

๔. โสมมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสมมิตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 63

๔. โสมมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสมมิตตเถระ

[๒๗๑] ได้ยินว่า พระโสมมิตตเถระไค้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในสังสารวัฏฏ์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้าน ผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่กับบัณฑิตทั้งหลายผู้สงัด เป็นอริยะมีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งฌาน มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิตย์.

อรรถกถาโสมมิตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระโสมมิตตเถระ เริ่มต้นว่า ปริตฺตํ ทารุํ. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว สดับพระพุทธคุณ มีใจเลื่อมใส วันหนึ่งเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง จึงเก็บเอาดอกมา แล้วเหวี่ยงขึ้นบนอากาศ (ตั้งใจ) บูชาเฉพาะพระศาสดา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนครพาราณสี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โสมมิตตะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 64

เป็นผู้เรียนจบไตรเพท เป็นผู้มีความคุ้นเคยกับพระเถระ ชื่อว่า วิมละ ไปสู่สำนักของพระเถระเนืองๆ ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาในพระศาสนา บวชแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญวัตรปฏิบัติเที่ยวไป.

ส่วนพระวิมลเถระ เป็นผู้เกียจคร้าน มากไปด้วยความหลับ ยังคืนและวันให้ล่วงไป พระโสมมิตตะ คิดว่า จะมีคุณประโยชน์อะไร เพราะอาศัย พระเถระผู้เกียจคร้าน (เช่นนี้) ดังนี้แล้ว จึงละพระวิมลเถระเข้าไปหาพระกัสสปเถระ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระกัสสปเถระแล้ว เริ่มเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ ในพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทาน ว่า

เราเห็นต้นทองกวาวมีดอก จึงประนมกรอัญชลี นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด แล้วบูชาในอากาศ ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง ไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใน กัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวง เราถอนขึ้นแล้ว เราเปรียบเหมือนช้างตัวประเสริฐ ตัดบ่วงได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เรามาในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าของเราเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะคุกคามพระวิมลเถระ โดยโอวาทได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 65

เต่าตาบอดเกาะไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในสังสารวัฏฏ์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้าน ผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่กับบัณฑิตทั้งหลายผู้สงัดเป็นอริยะมีใจเด็ดเดี่ยวเพ่งฌาน มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิตย์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริตฺตํ ทารุมารุยฺห ยถา สีเท มหณฺณเว ความว่า กุลบุตรแม้มีศีลเป็นที่รัก อาศัยคนเกียจคร้าน คือคนขี้เกียจ ย่อมจมลง คือตกไปในสงสาร ได้แก่ ไปไม่ถึงฝั่งแห่งมหรรณพ คือ พระนิพพาน เพราะเหตุเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นบุคคลนั้น ผู้ชื่อว่า เกียจคร้าน เพราะจมลงสู่สภาพอันต่ำช้า โดยไม่ยกศีรษะขึ้น ด้วยสามารถแห่งกุศลธรรมอันยิ่ง ชื่อว่ามีความเพียรเลว เพราะไม่มีการปรารภความเพียร อธิบายว่า ไม่พึงถึงทิฏฐานุคติของเขา (ไม่ควรเอาเยี่ยงเขา) พระเถระครั้นแสดงโทษของความเกียจคร้าน ด้วยคาถาอันเป็นบุคลาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงอานิสงส์ในการปรารภความเพียร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิวตฺเตหิ ดังนี้.

คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็บุคคลเหล่าใด ชื่อว่า เป็นผู้สงัดแล้ว เพราะมีกายวิเวก ต่อแต่นั้นไปก็ชื่อว่าเป็นพระอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจาก กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะความเป็นผู้มีตนอันส่งไป แล้วสู่พระนิพพาน ชื่อว่าเป็นผู้มีฌาน ด้วยสามารถแห่งอารัมมณูปนิชฌาน และด้วยสามารถแห่งลักขณูปนิชฌาน ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เพราะความเป็นผู้มีความเพียรอันประคองแล้ว ตลอดกาลทั้งปวง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 66

เพราะประกอบด้วยปัญญา อันต่างด้วยโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา กุลบุตรผู้ประสงค์จะยังประโยชน์ตนให้สำเร็จ พึงอยู่กับบัณฑิตเหล่านั้น คือ อยู่ร่วมกัน.

พระวิมลเถระ ฟังโอวาทนั้นแล้ว มีความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา ยังประโยชน์ตนให้สำเร็จแล้ว ความข้อนี้นั้นจักมีต่อไปข้างหน้าอีก.

จบอรรถกถาโสมมิตตเถรคาถา