พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. โสภิตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโสภิตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40548
อ่าน  478

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 110

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๓

๓. โสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสภิตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 110

๓. โสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสภิตเถระ

[๒๘๐] ได้ยินว่า พระโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียรเป็นกำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว.

อรรถกถาโสภิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระโสภิตเถระ เริ่มต้นว่า สติมา ปญฺญวา. เรื่อง ราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหงสาวดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ กระทำความปรารถนามุ่งตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเอง ท่องเที่ยวไปใน สุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จ ในภาควิชาการและ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 111

ศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ทั้งหลาย มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ ละฆราวาสวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรมไว้ที่ชัฏแห่งป่า ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยมูลผลาผลในป่า สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่ภัททวดีนคร ด้วยการพักอยู่ร่วมกันเพียงราตรีเดียวเท่านั้น ก็เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๖ คาถา มีอาทิว่า ตุวํ สตฺถา จ เกตุ จ พระองค์เป็นศาสดา เป็นจอมเกตุ ดังนี้ และพระศาสดาก็ทรงประกาศยกย่องพระดาบส. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า โสภิตะ. โดยสมัยต่อมา เขาฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ และได้เป็นผู้มีวสีอันปฏิบัติ แล้ว (มีความชำนาญพิเศษ) ในบุพเพนิวาสญาณ. สมดังคาถาประพันธ์ที่ ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ ทิศทักษิณ แห่งภูเขาหิมวันต์ ครั้งนั้น เราแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่ เรายินดีด้วยลาภและความเสื่อมลาภ คือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียน ใครๆ เที่ยวไป เราอยู่คนเดียว ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์กำลังรื้อขนมหาชน ประกาศสัจจะอยู่ เรามืได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า ถึงใครๆ ที่จะบอกกล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี เราจึงได้สดับข่าวพระนายกของโลก เรานำเอาไฟและฟืนออกไปแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 112

กวาดอาศรม ถือเอาหาบสิ่งของออกจากป่าไป ครั้งนั้น เราพักอยู่ในบ้าน และนิคมแห่งละคืน เข้าไปใกล้พระนครจันทวดี โดยลำดับ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำของโลกพระนามว่า สุเมธะ กำลังรื้อขน เป็นอันมาก ทรงแสดงอมตบท เราได้ผ่านหมู่ชนไป ถวายบังคมพระชินเจ้า ผู้เสด็จมาดี ทำหนังสัตว์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้นำของโลกว่า พระองค์เป็นพระศาสดา เป็นจอมเกตุ เป็นธงชัยและเป็นสายัญของหมู่สัตว์ เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นที่เกาะของหมู่สัตว์ เป็นผู้สูงสุดกว่าประชา. พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในทัสสนะ ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปได้ ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไปได้ ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีในโลก สาครแสนลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้ ด้วยปลายหญ้าคา ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณของพระองค์ ใครๆ ไม่อาจประมาณได้เลย แผ่นดินก็อาจที่จะวางในตราชั่งแล้วกำหนดได้ ข้าแต่พระองค์ ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอกับพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์ใครๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้น ภูมิภาค ๓ อย่างนี้ ประมาณเอาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ พระองค์ย่อมเป็นผู้อันใครๆ จะประมาณเอาไม่ได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 113

เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มีพระยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกรอัญชลี ยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอ ด้วยแผ่นดินเป็นเมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓๗ กัป จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกิน ๑๐๐ ครั้ง และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม จักเป็นผู้มีความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า ในสามหมื่นกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต จักบรรลุพระอรหัต แต่อายุ ๗ ขวบ ในระหว่างที่เราระลึกถึงตน และได้บรรลุศาสนธรรม เจตนาที่ไม่น่ารื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติ ในภพน้อยภพใหญ่ ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มี แก่เราเลย นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ ไฟ ๓ กอง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 114

เราดับสนิทแล้ว เราถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก ในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญพระญาณใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จะจักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระญาณ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณของตนโดยลำดับ ได้เห็นจนถึงอจิตตกปฏิสนธิในอสัญญภพ แต่นั้นก็ไม่เห็นจิตตประวัติ ตลอด ๕๐๐ กัป เห็นเฉพาะในชาติสุดท้ายเท่านั้น เมื่อตรวจดูอยู่ว่า นี้อะไร? จึงเข้าใจว่า จักเป็นอสัญญภพ ด้วยสามารถแห่งนัยสมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้มีอายุยืน ชื่อว่า อสัญญสัตว์มีอยู่ พระโสภิตะ จุติจากอสัญญภพนั้นแล้ว มาบังเกิดในภพนี้ เธอย่อมรู้ภพนั่น โสภิตะย่อมระลึกได้ พระศาสดาทรงเห็นความเป็นผู้ฉลาดในการระลึกชาติ ของพระเถระผู้ระลึกชาติอยู่ ด้วยสามารถแห่งนัยอย่างนี้ จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศของภิกษุผู้ระลึก บุพเพนิวาสญาณ ก็ต่อแต่นั้นมา ท่านพระโสภิตะนี้พิจารณาบุพเพนิวาสานุสติญาณ ของตนพร้อมด้วยคุณพิเศษ และข้อปฏิบัติอันเป็นปัจจัยแห่งบุพเพนิ- วาสานุสติญาณนั้น แล้วเกิดความโสมนัส เมื่อเปล่งอุทานอันแสดงถึงเหตุทั้งสองนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราเป็นภิกษุผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียรเป็นกำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 115

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สติมา ความว่า ชื่อว่าผู้มีสติเพราะความบริบูรณ์ด้วยสติปัฏฐานภาวนา และเพราะถึงความไพบูลย์แห่งสติ อันถึงพร้อมแล้วด้วยกาลเป็นที่ประชุมขึ้นเอง.

บทว่า ญฺญวา ความว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะความบริบูรณ์ ด้วยอภิญญา ๖ และเพราะถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว. ภิกษุชื่อว่า มีความเพียร คือ พลธรรมอันปรารภแล้ว เพราะมีพละ ๕ มีศรัทธา เป็นต้น และความเพียรอันประกอบด้วยสัมมัปปธาน ๔ อย่าง สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว. อธิบายว่า แม้ถึงสติเป็นต้นจะเป็นพลธรรม ในคาถานี้ ท่านก็ถือเอาศรัทธาเป็นต้น ด้วยพลศัพท์ เหมือนในประโยคว่า โคพลิพทฺธา ปุญฺาณสมฺภารา โคพลิพัทธ์ เป็นองค์แห่งบุญและ ปัญญา.

บทว่า ญฺจ กปฺปสตานาหํ เอกรตฺตึ อนุสฺสรึ ความว่า ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ก็วิริยศัพท์ในคาถานี้ แสดงถึงการลบออก ตัดออก พระเถระแสดงความที่ตนเป็นผู้ชำนาญญาณ ในบุพเพนิวาสญาณ ด้วยวิริยศัพท์นี้.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีสติเป็นต้นของตน และเป็นเหตุให้สำเร็จบุพเพนิวาสญาณอันยอดเยี่ยมนั้น พระเถระจึง กล่าวคาถาที่ ๒ ด้วยคำมีอาทิว่า จตฺตาโร ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺาเน ได้แก่ สติปัฏฐาน กล่าวคือสติ อันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ มี ๔ อย่างโดยความต่างแห่งอารมณ์ของตน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า สตฺต ได้แก่ โพชฌงค์ ๗. บทว่า อฏฺ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 116

อธิบายว่า โพชฌงค์ ๗ ของพระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ใน สติปัฏฐานทั้งหลาย ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาแน่นอน มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ก็เหมือนกัน.

สมจริงดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า ในบรรดาโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันประกอบด้วยโกฏฐาส ๗ เมื่อโกฏฐาส หนึ่งถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา ขึ้นชื่อว่าโกฏฐาสนอกนี้ จะไม่ถึงความ บริบูรณ์ด้วยภาวนาไม่มี เพราะพระบาลีมีอาทิว่า พระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ยังโพชฌงค์ ๗ ให้เจริญแล้ว ตามความเป็นจริง ดังนี้. บทว่า ภาวยํ ความว่า มีการเจริญเป็นเหตุ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโสภิตเถรคาถา