พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ภารทวาชเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระภารทวาชเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40554
อ่าน  343

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 140

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๓

๙. ภารทวาชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภารทวาชเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 140

๙. ภารทวาชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภารทวาชเถระ

[๒๘๖] ได้ยินว่า พระภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ชื่อว่าผู้ชนะสงครามย่อมบันลือสีหนาท ดังราชสีห์ในถ้ำภูเขา ฉะนั้น เราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว พระธรรมกับพระสงฆ์ เราได้บูชาแล้ว และ เราปลาบปลื้มใจ เพราะเห็นบุตรหมดอาสวะกิเลส แล้ว.

อรรถกถาภารทวาชเถรคาถา

คาถาของท่านพระภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นทนฺติ เอวํ สปฺปญฺญา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไ ร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า สุมนะ เที่ยวบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลวัลลิการะ อันสุกงอม.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีชื่อตามโคตรปรากฏ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 141

ว่า ภารทวาชะ. เขาเจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนได้บุตรคนหนึ่ง เขาได้ตั้ง ชื่อบุตรว่า กัณหทินนะ ในเวลาที่กัณหทินนกุมาร บรรลุนิติภาวะแล้ว เขาส่งเธอไปยังกรุงตักกศิลา ด้วยสั่งว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงไปศึกษาศิลปวิทยาใน สำนักของอาจารย์ชื่อโน้น แล้วจงกลับมา. กัณหทินนพราหมณ์ เดินทางไป ในระหว่างทาง ได้พระมหาเถระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสาวกของพระศาสดา เป็นกัลยาณมิตร ฟังธรรมในสำนักของพระมหาเถระแล้ว ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น พระสัมพุทธะนามว่า " สุมนะ " อยู่ใน พระนครตักกรา เราได้ถือเอาผลวัลลิการะ น้อมถวายแด่พระสยัมภู ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น ภารทวาชพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระกัณหทินนเถระ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ฟังธรรม แล้วบวช การทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. ลำดับนั้น พระกัณหทินนเถระผู้เป็นบุตรมาสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อถวายบังคมพระศาสดา เห็นพระภารทวาชะผู้เป็นบิดา นั่งอยู่แล้วในสำนักของพระศาสดา เป็นผู้มีจิตยินดีแล้ว เมื่อจะทดลองว่า แม้บิดาของเราก็บวชแล้ว กิจแห่งบรรพชาอันพระเถระ ผู้เป็นบิดาให้ถึงที่สุดแล้วหรือยังหนอ ดังนี้ ก็รู้ความที่พระเถระเป็นพระขีณาสพแล้ว ประสงค์จะให้พระเถระผู้บิดาบันลือสีหนาท จึงถามว่า เป็นการดีแล้วแล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 142

ที่ท่านบวชได้ แต่กิจแห่งบรรพชา อันท่านให้ถึงที่สุดแล้วหรือ พระภารทวาชเถระเมื่อจะแสดงการบรรลุพระอรหัต แก่พระเถระผู้เป็นบุตร จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ชื่อว่าผู้ชนะสงความ ย่อมบันลือสีหนาท ดังราชสีห์ ในถ้ำภูเขา ฉะนั้น เราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว พระธรรมกับพระสงฆ์ เราได้บูชาแล้ว และเราปลาบปลื้มใจ เพราะเห็นบุตรหมดอาสวกิเลสแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทนฺติ ความว่า บันลือ คือแผดเสียง บันลืออย่างไม่เกรงขาม ด้วยสามารถแห่งการประมวลมาซึ่งคุณพิเศษตามความ เป็นจริง.

บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงอาการของข้อความที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

บทว่า สปฺปญฺญ ความว่า ถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญาทั้งปวง เพราะได้บรรลุปัญญาคือมรรคอันเลิศ จึงชื่อว่าบรรลุถึงซึ่งปัญญาทุกประการ.

บทว่า วีรา ความว่า ชื่อว่า มีความเพียร เพราะสมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ สัมมัปปธาน ๔ อย่าง. เชื่อมความว่า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาชนะ กิเลสมาร อภิสังขารมาร และเทวบุตรมาร พร้อมทั้งพาหนะ ด้วยการทำลายธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสได้โดยไม่เหลือ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงครามแล้ว โดยประการทั้งปวง ย่อมบันลือสีหนาท.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 143

พระเถระครั้นแสดงสีหนาท ด้วยการชนะกิเลสที่จะพึงชนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสีหนาทนั้น โดยการแสดงความยินดีต่อสิ่งที่ควรยินดี และโดยความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ตามที่ตนปรารถนา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า สตฺถา จ ปริจิณฺโณ เม และเราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺถา จ ปริจิณฺโณ เม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของเรา อันเราคุ้นเคยแล้ว คือ เข้าไป ใกล้ชิดแล้ว โดยการกระทำตามพระโอวาทานุสาสนี ตามที่พระองค์ทรงสั่งสอนแล้ว. อธิบายว่า ไม่ใช่บรรลุคุณพิเศษ เพราะเหตุแห่งธรรม.

บทว่า ธมฺโม สงฺโฆ จ ปูชิโต ความว่า โลกุตรธรรมแม้ทั้ง ๙ อันเราบูชาแล้ว นอบนบแล้ว ด้วยการบรรลุซึ่งมรรค อันมาแล้วตามข้อปฏิบัติ และพระอริยสงฆ์ อันเราบูชาแล้ว นับถือแล้ว ด้วยการถึงความเป็นผู้เสมอ โดยศีลและทิฏฐิ.

บทว่า อหญฺจ วิตฺโต สุมโน ปุตฺตํ ทิสฺวา อนาสวํ ความว่า แม้เราก็ปลาบปลื้ม คือยินดีแล้ว ด้วยปีติที่ปราศจากอามิส เพราะเห็น คือ เพราะเหตุที่ประสบว่า บุตรของเราหาอาสวะมิได้ คือมีอาสวะสิ้นแล้ว โดยประการทั้งปวง. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล. เราจึงดีใจด้วยความโสมนัส อันปราศจากอามิส.

จบอรรถกถาภารทวาชเถรคาถา