พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สิวกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสิวกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40557
อ่าน  381

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 152

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๔

๒. สิวกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิวกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 152

๒. สิวกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิวกเถระ

[๒๘๙] ได้ยินว่า พระสิวกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นบ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายซ่าง คือ ตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร สิ้นชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือน ให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่านเราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนของท่าน เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพนี้เอง.

อรรถกถาสิวกเถรคาถา

คาถาของท่านพระสิวกเถระ เริ่มต้นว่า อนิจฺจานิ คหกานิ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 153

เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส รับบาตรแล้วได้ถวาย ขนมกุมมาสจนเต็มบาตร.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ได้มีนามว่า สีวกะ. เขาเจริญวัยแล้วสำเร็จการศึกษาในวิชาการและศิลปศาสตร์ทั้งหลาย ละกามทั้งหลายแล้วบวชเป็นปริพาชก เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ เที่ยวไป เข้าเฝ้าพระศาสดาฟังธรรม เป็นผู้ได้ศรัทธาจิต บวชแล้วกระทำกรรมในวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเห็นบาตรอันว่างเปล่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระนามว่า วิปัสสี เสด็จเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตอยู่ จึงใส่ขนมกุมมาส จนเต็มบาตร ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายภิกษาใด ด้วยการถวายภิกษานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งขนมกุมมาส. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเรากระทำสำเร็จ แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผลได้กล่าว คาถา ๒ คาถา ความว่า

เรือน คือ อัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้นชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 154

สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน เราทำลายเสียแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพนี้เอง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจานิ คหกานิ ตตฺถํ ตตฺถ ปุนปฺปุนํ ความว่า เรือนทั้งหลายได้แก่เรือนคืออัตภาพ อันบังเกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง คือไม่มั่นคง ไม่คงทน ได้แก่ มีอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.

บทว่า คหการํ คเวสนฺโต มีอธิบายว่า เมื่อเราแสวงหานายช่าง ผู้กระทำเรือนคืออัตภาพนี้ ได้แก่ นายช่างผู้สร้างเรือน คือ ตัณหา ได้ท่องเที่ยวไปตลอดเวลามีประมาณเท่านี้.

บทว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา นายช่างผู้สร้างเรือน เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าชาตินี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพื่อการ เข้าถึงบ่อยๆ เพราะเจือไปด้วย ชรา พยาธิ และมรณะ ก็เมื่อเรายังหาช่าง ผู้สร้างเรือนนั้นไม่พบ ชาตินั้นย่อมไม่สูญหาย ฉะนั้น เมื่อเราแสวงหาช่าง ผู้สร้างเรือนนั้น เราจึงเที่ยวไปแล้ว.

บทว่า คหการก ทิฏฺโสิ ความว่า ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือน ก็บัดนี้ ท่านเป็นผู้อันเราสามารถเห็นได้ ด้วยดวงตา คือ พระอริยมรรคนั้นแล้ว.

บทว่า ปุน เคหํ ความว่า เจ้าจะไม่กระทำ คือจักไม่สร้างเรือนของเรา กล่าวคืออัตภาพในสังสารวัฎนี้ต่อไปได้อีก.

บทว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครง คือ กิเลส ทั้งปวงของเจ้า อันเราหักแล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 155

บทว่า ถูณิกา จ วิทาลิตา ความว่า และบัดนี้เราทำลายช่อฟ้า กล่าวคือ อวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพ อันท่านพึงกระทำเสียแล้ว.

บทว่า วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง คือจักถูกกำจัดเสียในภพ นี้แหละ ได้แก่จักดับไปด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย.

จบอรรถกถาสีวกเถรคาถา