พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อุปวาณเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอุปวาณเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40558
อ่าน  373

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 155

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๔

๓. อุปวาณเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปวาณเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 155

๓. อุปวาณเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปวาณเถระ

[๒๙๐] ได้ยินว่า พระอุปวาณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลก เป็นมุนี ถูกลมเบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อนขอจงถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว กว่าเทวดาและพรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคลสักการะแล้ว กว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าโกศล ผู้อันบุคคลพึงสักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว กว่าเหล่า พระขีณาสพที่บุคคลควรนอบน้อม เราปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 156

อรรถกถาอุปวาณเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุปวาณเถระ เริ่มต้นว่า อรหํ สุคโต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า พระเถระนี้บังเกิดในตระกูลที่ยากจน ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมวลมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์ และคนธรรพ์ทั้งหลาย เก็บพระธาตุของพระองค์มากระทำพระสถูป สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สูง ๗ โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตน ซึ่งขาวสะอาดบริสุทธิ์ ผูกปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา. ยักษ์ผู้เสนาบดี นามว่า อภิสัมมตะ อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้ เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์ มีกายไม่ปรากฏ ถือธงนั้น ทรงไว้ในอากาศ กระทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ. เขาเห็นดังนั้น ได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวที่ทรงรับมอบพระวิหาร ชื่อว่า เชตวัน เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน อปทานว่า

พระสัมพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ เสด็จปรินิพพาแล้ว มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 157

กระทำจิตกาธารอย่างสวยงามแล้ว ปลงพระสรีระ มหาชนทั้งหมดพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ทำสรีรกิจเสร็จแล้ว รวบรวมพระธาตุไว้ ณ ที่นั้น ได้สร้างพระสถูปขึ้นไว้ ชั้นที่ ๑ แห่งพระพุทธสถูปนั้น สำเร็จด้วยทอง ชั้นที่ ๒ สำเร็จด้วยแล้วมณี ชั้นที่ ๓ สำเร็จด้วยเงิน ชั้นที่ ๔ สำเร็จด้วยแก้วผลึก ชั้นที่ ๕ ในพระพุทธสถูปนั้น สำเร็จด้วยแก้วทับทิม ชั้นที่ ๖ สำเร็จด้วยแก้วลาย (เพชรตาแมว) ชั้นบนสำเร็จด้วย รัตนะล้วน ทางเดินสำเร็จด้วยแก้วมณีไพทีสำเร็จด้วยรัตนะ พระสถูปสำเร็จด้วยทองล้วนๆ สูงสุด ๑ โยชน์ เวลานั้นเทวดาทั้งหลายมาร่วมประชุมปรึกษากัน ณ ที่นั้นว่า แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ พระธาตุจะได้ไม่เรี่ยราย พระสรีระจะรวมเป็นอันเดียวกัน เราทั้งหลายจะทำกุญแจใส่ในพระสถูปนี้ เทวดาทั้งหลายจึงยังโยชน์อื่น ให้เจริญด้วยรัตนะ ๗ ประการ (คือเทวดานิรมิตพระสถูป ให้สูงขึ้นอีกโยชน์หนึ่ง ด้วยรัตนะ ๗ ประการ) พระสถูปจึงสูง ๒ โยชน์ สว่างไสวขจัดความมืดได้ นาคทั้งหลายมาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้น ในเวลานั้นว่า มนุษย์และเทวดาได้สร้างพระสถูปแล้ว เราทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์กับเทวดาไม่ ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ นาคเหล่านั้น จึงร่วมกันรวบรวมแก้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 158

อินทนิล แก้วมหานิล และแก้วมณีมีรัศมี โชติช่วง ปกปิดพระพุทธสถูป พระพุทธเจดีย์ประมาณเท่านั้น สำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน สูงสุด ๓ โยชน์ ส่องแสง สว่างไสวในเวลานั้น ฝูงครุฑมาประชุมร่วมปรึกษากัน ในเวลานั้นว่า มนุษย์เทวดาและนาค ได้สร้างพระพุทธสถูปแล้ว เราทั้งหลายอย่าประมาทเลย ดังมนุษย์ เป็นต้น กับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ ฝูงครุฑจึงได้สร้างพระสถูปอันสำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน และผ้าคลุมก็เหมือนกัน (สำเร็จด้วยแก้วมณี) ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปให้สูงขึ้นอีก โยชน์หนึ่ง พระพุทธสถูปสูงสุด ๔ โยชน์ รุ่งเรืองอยู่ ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น และพวกกุมภัณฑ์ก็มาประชุมร่วมปรึกษากัน ในเวลานั้นว่า พวกมนุษย์และพวกเทวดา ฝูงนาคและฝูงครุฑ ได้สร้างพระสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้าง พระสถูปถวาย แด่พระโลกนาทผู้คงที่ พวกเราจักใช้รัตนะทั้งหลายประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไป พวกกุมภัณฑ์ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง เวลานั้นพระสถูปสูงสุด ๕ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวกยักษ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้น ในเวลานั้นว่า เวลานั้น มนุษย์ เทวดา นาค กุมภัณฑ์ และครุฑ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 159

ได้พากันสร้างสถูปอันอุดมถวายเฉพาะพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์ เป็นต้น พร้อมกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ นำแก้วผลึกมาประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีก พวกยักษ์ จึงสร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไป ในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง เวลานั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๖ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวกคนธรรพ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ในเวลานั้นว่า สัตว์ทั้งปวง คือ มนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ และ ยักษ์ พากันสร้างพระสถูปแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านี้ พวกเรายังไม่ได้สร้าง แม้พวกเราก็จักสร้างสถูป ถวายแด่พระโลกนาถเจ้าผู้คงที่ พวกคนธรรพ์จึงพากัน สร้างไพที ๗ ชั้น ได้สร้างตลอดทางเดิน เวลานั้น พวกคนธรรพ์ได้สร้างสถูปสำเร็จด้วยทองคำล้วน ในกาลนั้น พระสถูปจึงสูง ๗ โยชน์ สว่างไสวอยู่ กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ แสงสว่างมีอยู่เสมอไป พระจันทร์และพระอาทิตย์ พร้อมทั้งดาว ครอบงำรัศมี พระสถูปนั้นไม่ได้ ก็แสงสว่างโพลงไปไกล ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ (พระสถูป) ในเวลานั้น มนุษย์เหล่าใด จะบูชาพระสถูป พวกเขาไม่ต้องขึ้นพระสถูป พวกเขายกขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์ตนหนึ่งพวกเทวดาตั้งไว้ ชื่อว่า อภิสมมตะ มันยกธงหรือพวงดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องสูง มนุษย์เหล่านั้น มองไม่เห็นยักษ์ มองเห็นแต่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 160

พวงดอกไม้ขึ้นไป ครั้นเห็นเช่นนี้แล้วกลับไป มนุษย์ทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ มนุษย์เหล่าใดชอบใจในปาพจน์ และเหล่าใดเลื่อมใสในพระศาสนา ต้องการจะเห็นปาฏิหาริย์ ย่อมบูชาพระสถูป เวลานั้นเราเป็นคนยากไร้ อยู่ในเมืองหงสาวดี เราได้เห็นหมู่ชนเบิกบาน จึงคิดอย่างนี้ในเวลานั้นว่า เรือนพระธาตุเช่นนี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นี้โอฬาร ก็หมู่ชนเหล่านี้ มีใจยินดี ไม่รู้จักอิ่ม ในสักการะที่ทำอยู่ แม้เราก็จักทำสักการะ แด่พระโลกนาถผู้คงที่บ้าง เราจักเป็นทายาทในธรรมของพระองค์ในอนาคต เราจึงเอาเชือกผูกผ้าห่มของเรา อันซักขาวสะอาดแล้ว คล้องไว้ที่ยอดไม้ไผ่ ยกเป็นธง ขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์อภิสัมมตะ ยกธงของเรานำขึ้นไปไว้ในอัมพร เราเห็นธงอันลมสะบัด ได้เกิดความยินดีอย่างยิ่ง เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้นแล้ว เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กราบไหว้ภิกษุนั้นแล้ว ได้สอบถามถึงผลในการถวายธง ท่านยังความเพลิดเพลิน และปีติให้เกิดแก่เรา กล่าวแก่เราว่า ท่านจักได้เสวยวิบากของธงนั้น ในกาลทั้งปวง จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อม ท่านอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ดนตรีหกหมื่น และกลองเภรีอันประดับสวยงาม จะประโคม แวดล้อมท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 161

หญิงสาวแปดหมื่นหกพัน อันประดับงดงาม มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่แก้วมณี และกุณฑลหน้าแฉล้ม แย้มยิ้ม มีตะโพกผึ่งผาย เอวบาง จักแวดล้อม (บำเรอ) ท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ท่านจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่า โคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์ พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ท่านอันกุศล มูลตักเตือน เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว ประกอบด้วยบุญกรรม จักเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ท่านจักละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก ออกบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม ท่านจักยังพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดมศากยบุตร ผู้ประเสริฐให้โปรดปรานแล้ว จักได้เป็นพระสาวกของพระศาสดา มีชื่อว่า อุปวาณะ กรรมที่เราทำไว้ แล้วในแสนกัป ให้ผลแก่เราในที่นี้แล้ว เราเผากิเลสของเราแล้ว ดุจกำลังลูกศรพ้นจากแล่งไปแล้ว เมื่อเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ งทั้งหลายจักยกขึ้นโดยรอบ ๓ โยชน์ทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในเวลานั้น ด้วยผล

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 162

แห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะ ได้เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธอันเกิดแต่ลม บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. และพราหมณ์ชื่อว่า เทวหิตะ เป็นสหายของพระเถระแต่ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี. เขาปวารณาพระเถระด้วยปัจจัย ๔.

ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะ นุ่งสบงแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปยังที่อยู่ของพราหมณ์นั้น พราหมณ์รู้ว่า พระเถระมาโดยวัตถุประสงค์บางประการ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านประสงค์สิ่งใดจงบอกเถิด. พระเถระเมื่อ จะบอกวัตถุประสงค์แก่พราหมณ์ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลกเป็นมุนี ถูกลม เบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อน ขอจงถวายแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ยิ่งกว่าเทวดา และพรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคล สักการะแล้ว ยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้า โกศล ผู้อันบุคคลพึงสักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว ยิ่งกว่าเหล่าพระขีณาสพ ที่บุคคลควรนอบน้อม เรา ปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์ ดังนี้.

คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า บรรดาบุคคลผู้ควรบูชาในโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อันบุคคลบูชาแล้ว (ยิ่ง) กว่าเทวดาทั้งหลาย มี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 163

ท้าวสักกะเป็นต้น ยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย มีท้าวมหาพรหมเป็นต้น ผู้ควรบูชา บรรดาผู้ที่ควรสักการะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อันบุคคลสักการะแล้ว ยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าโกศลเป็นต้น ผู้ควรสักการะ บรรดาบุคคลผู้ควรนอบน้อมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อันบุคคลนอบน้อมแล้ว ยิ่งกว่าพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ควรนอบน้อมชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะพระคุณมีความเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นต้น ชื่อว่า เป็นพระสุคต เพราะเสด็จไปงามเป็นต้น เป็นพระสัพพัญญู เป็นมุนี เป็นศาสดาของเรา เป็นเทพเหนือเทพ เป็นสักกะเหนือท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมเหนือพรหมทั้งหลาย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระประชวรเพราะโรคลม คือเพราะลมเป็นเหตุ ได้แก่เหตุเพราะลมกำเริบ.

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำร้อน เราปรารถนาจะนำไปถวายเพื่อระงับวาตาพาธ คือเพื่อบำบัดโรคลม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

พราหมณ์ฟังดังนั้นแล้ว นำน้ำร้อน และเภสัช อันเหมาะแก่อาการของโรค และสมควรแก่การระงับโรคลม เข้าไปน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. โรคของพระศาสดาสงบแล้ว เพราะน้ำร้อนและเภสัชนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุปวาณเถรคาถา