คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง

 
webdh
วันที่  20 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4056
อ่าน  4,049

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151

คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบ

เท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น

คนพาลย่อมประสบทุกข์.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

คำว่าคนพาลในพระไตรปิฎกอธิบายอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ 20 [แก้พาลศัพท์]

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า คนพาล. อีกประการหนึ่ง ครูทั้ง ๖ นี้ คือ ปรูณ กัสสป,มักขลิ โคสาล, นิครนถ นาฏบุตรสญชัย เวลัฏฐบุตร, ปกุทธ กัจจายนะ,อชิตเกสกัมพล, และปาปบุคคลเหล่าอื่นจากครูทั้ง ๖ นั้น มีพระเทวทัตและโกกาลิกภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า "คนพาล." จริงอยู่ คนเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่าคนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญาเป็นอยู่คนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยอาการสักว่าหายใจ. ด้วนเหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า"ชนเหล่าใด เป็นอยู่ อธิบายว่า ดำรงชีพอยู่ ด้วยอาการสักว่าลมหายใจเข้าออก หาใช่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอันประเสริฐไม่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า พาล."

[แก้พาลศัพท์อีกนัยหนึ่ง]

ชนจำพวกใด ตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ ถือเอาแต่สิ่งอันมิใช่ประโยชน์ทั้ง ๒, ชนจำพวกนั้น ชื่อว่าพาล. ความจริง ท่านเรียกชนจำพวกนั้นว่าพาล ก็เพราะถือเอาสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ทั้ง ๒ และเรียกว่าพาล ก็เพราะตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒. กิริยาศัพท์ว่า " ลนฺติ"

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151 ๑๒. ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ยังไม่แปรไปฉะนั้น บาปกรรมย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า กลบไว้ฉะนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 215

คนพาลประสบทุกข์เพราะบาปกรรม

พระศาสดา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส

ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใด

ผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก เป็นผู้ยินดีร่าเริง เป็นประดุจฟูขึ้นๆ

ย่อมทำได้ ประดุจบุรุษเคี้ยวกินรสของหวาน มีจำพวกน้ำผึ้ง และ

น้ำตาลกรวดเป็นต้น บางชนิด" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่า

ที่บาปยังไม่ให้ผล; ก็เมื่อใด บาปให้ผล; เมื่อนั้น

คนพาล ย่อมประสพทุกข์.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

แก้อรรถ (อธิบาย)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุวา เป็นต้น ความว่า ก็เมื่อ

คนพาลกระทำบาป คืออกุศลกรรมอยู่ กรรมนั้นย่อมปรากฏดุจน้ำผึ้ง คือ

ดุจน้ำหวาน ได้แก่ประดุจน่าใคร่ น่าชอบใจ, คนพาลนั้น ย่อมสำคัญบาป

นั้น เหมือนน้ำหวาน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ยาว คือ ตลอดกาลเพียงใด.

สองบทว่า ปาป น ปจฺจติ ความว่า คนพาล ย่อมสำคัญ

บาปนั้นอย่างนั้น ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผลในทิฏฐธรรม หรือใน

สัมปรายภพ. บทว่า ยทา จ ความว่า ก็ในกาลใด เมื่อคนพาลนั้น ถูกทำ

กรรมกรณ์ต่างๆ ในทิฏฐธรรม หรือเสวยทุกข์ใหญ่ในอบายมีนรก

เป็นต้นในสัมปรายภพ บาปนั้นชื่อว่าย่อมให้ผล; ในกาลนั้น คนพาลนั้น

ย่อมเข้าถึง คือ ประสพ ได้แก่ กลับได้ทุกข์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-ปัตติผลเป็นต้น.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ