๖. ขิตกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 170
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๔
๖. ขิตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 170
๖. ขิตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ
[๒๙๓] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน จิตของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่กำหนัดแล้ว ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เราอบรมจิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหนๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 171
อรรถกถาขิตกเถรคาถา
คาถาของท่านพระขิตกเถระ เริ่มต้นว่า กสฺส เสลูปมํ จิตฺตํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้นๆ เป็นคนเฝ้าสวน ดำเนินชีวิตอยู่ในพันธุมดีนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีใจโสมนัส ได้เป็นผู้มีความประสงค์ จะถวายขนุนสำมะลอ พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา ประทับยืนอยู่ใน อากาศนั่นแหละ รับประเคนแล้ว. เขาถวายขนุนสำมะลอนั้นแล้ว เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬาร.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดใน ตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า ขิตกะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เรียนกรรมฐานแล้วอยู่ในป่า เพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น เราเป็นคนเฝ้าสวนอยู่ในพระนครพันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี เสด็จเหาะไปในอากาศ เราได้หยิบเอาผลขนุนสำมะลอ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่ ให้เกิดความปลื้มใจแก่เรา นำความสุข มาให้ในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศนั่นเอง ได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 172
รับประเคน เราถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอันเลื่อมใสแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุขยอดเยี่ยมในครั้งนั้น รัตนะเกิดขึ้นแก่เราผู้เกิดในที่นั้นๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์แล้ว เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ผลและความสุขในพระนิพพาน ท่านกำหนดความเพียรไปสู่ราวป่านั้น เพื่อจะสงเคราะห์ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในราวป่านั้น จึงกล่าวคาถา ๑ คาถา ความว่า
จิตของใครตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นได้แต่ที่ไหน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส เสลูปมํ จิตฺตํ ิตํ นานุกมฺปติ ความว่า เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในราวป่านี้ จิตของภิกษุไร ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะ ได้บรรลุผลอันเลิศ และเพราะถึงความเป็นผู้มีวสี โดยไม่มีความหวั่นไหวทุกอย่าง อุปมาดังภูเขาหินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นสะเทือน ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 173
บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาการอันไม่หวั่นไหวของจิตนั้น พร้อมกับเหตุ พระเถระจึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิรตฺตํ ไม่กำหนัดแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหลานั้น บทว่า วิรตฺตํ รชนีเยสุ ความว่า ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของความกำหนัด ด้วยอริยมรรค กล่าวคือ วิราคธรรม (ความคลายกำหนัด) อธิบายว่า มีความกำหนัดในธรรมอันเป็น ไปในภูมิ ๓ นั้น อันเธอถอนขึ้นแล้ว โดยประการทั้งปวง.
บทว่า กุปฺปนีเย ความว่า ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขึ้งเคียด ได้แก่ ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต แม้ทั้งปวง.
บทว่า น กุปฺปติ ความว่า ไม่ประทุษร้าย คือไม่ถึงอาการที่แปลก.
บทว่า ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตคือใจอันพระอริยบุคคลใด อบรมแล้วอย่างนี้ คือโดยนัยดังกล่าวแล้ว ได้แก่ โดยความเป็นผู้คงที่.
บทว่า กุโต ตํ ทุกฺขเมสฺสติ ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงบุคคลนั้นแต่ที่ไหน คือแต่สัตว์ หรือสังขารเล่า? อธิบายว่า ทุกข์ย่อมไม่มีแก่บุคคล เช่นนั้น.
พระขิตกเถระ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่มีเพียงผู้ถามขึ้น โดยไม่กำหนด แน่นอนอย่างนี้ ทำให้น้อมเข้าไปในตน พยากรณ์พระอรหัตตผลด้วยคาถาที่สอง มีอาทิว่า มม เสลูปมํ จิตฺตํ จิตของเราตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดังภูเขา ดังนี้. บทนั้นมีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา