พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อุสภเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอุสเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40564
อ่าน  425

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 181

เถรคาถา ทุกนิบาต

วรรคที่ ๔

๙. อุสภเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุสเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 181

๙. อุสภเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุสเถระ

[๒๙๖] ได้ยินว่า พระอุสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูกมหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้นได้ความสลดใจว่า ความฝันนี้เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้างมัวเมา เพราะชาติสกุล ได้ความสังเวชแล้ว จึงบรรลุความสิ้นอาสวะ.

อรรถกถาอุสภเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุสภเถระ เริ่มต้นว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาสํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดา เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลสะคร้อ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 182

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุสภะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสมาคมพระญาติของพระศาสดา ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว.

จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว พระอุสภะไม่บำเพ็ญสมณธรรม ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ในกลางวัน ชอบนอนหลับตลอดทั้งคืน ยังเวลาให้ล่วงไป. วันหนึ่ง ท่านปล่อยสติ ขาดสัมปชัญญะนอนหลับ ฝันเห็นตนเองปลงผมและหนวดแล้ว ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อน นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต เพื่อมนุษย์ทั้งหลายมาชุมนุมกันในที่นั้นนั่นแล จึงลงจากคอช้าง ด้วยความละอาย ตื่นขึ้น เกิดความสลดใจว่า เราปล่อยสติไม่มีสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นเป็นเช่นนี้ไป ดังนี้ แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลนั้น เราได้ถวายผลสะคร้อ แด่พระนราสภผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ งามเหมือนต้นรกฟ้าขาว กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเกระทำความฝันตามที่ตนเห็นแล้วนั่นแล ให้เป็นข้อพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยระบุถึงความฝันนั้นนั่นแล เพราะความที่ตนได้ บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 183

มหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้น เราได้ความสลดใจว่า ความฝันนี้ เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะชาติสกุล ได้ความสังเวชแล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาสํ อํเส กตฺวาน จีวรํ ความว่า เอาจีวรมีสีดังแก้วประพาฬ มีอาการดังใบมะม่วงอ่อนคล้องคอ โดยทำเป็นเฉวียงบ่า.

บทว่า คามํ ความว่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่ราชธานีของตน เพื่อบิณฑบาต พอเข้าไปแล้วเท่านั้น ก็ถูกมหาชน (ห้อมล้อม) แลดู จึงลงจากคอช้าง ยืนอยู่ ตื่นขึ้นแล้ว พอตื่นแล้วเท่านั้น ก็ได้ความสลดใจในครั้งนั้นว่า ความฝันนั้นเกิดแล้ว เพราะเราปล่อยสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ ดังนี้.

ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า พระอุสภเถระยังเป็นพระราชาอยู่นั่นแล เห็นความฝันเช่นนี้ ในเวลากลางคืน เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงขึ้นสู่คอช้าง เสด็จเที่ยวไปในถนนของพระนคร ทรงระลึกถึงความฝันนั้น จึงเสด็จลงจากคอช้าง ได้ความสลดพระทัย ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว.

บทว่า ทิตฺโต ประกอบความว่า ในเวลาที่ได้เสวยราชย์นั้น เราเป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะชาติและความมัวเมาเพราะโภคะเป็นต้น ได้ความสลดใจแล้ว.

จบอรรถกถาอุสภเถรคาถา