๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระกัปปฏกุรเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 184
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๔
๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกัปปฏกุรเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 184
๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกัปปฏกุรเถระ
[๒๙๖] ได้ยินว่า พระกัปปฏกุรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิดๆ ว่า เราจักนุ่งห่มผ่าผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใส คือ อมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ เราเอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่ในหม้ออมตะ เพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ ท่านอย่ามานั่งโงกง่วงอยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดูก่อนกัปปฏะ ท่านนั่งโงกง่วงอยู่ ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย.
จบวรรคที่ ๔
อรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา
คาถาของพระกัปปฏกุรเถระ เริ่มต้นว่า อยมิติ กปฺปโฏ. เรื่อง ราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 185
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกเกตก์ (ดอกการะเกด หรือดอกลำเจียก).
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มาเกิดในตระกูลที่ยากจน กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ จนตราบเท่าเจริญวัย ก็ไม่รู้จักอุบาย. (หากิน) อย่างอื่น นุ่งห่มเศษผ้าเปื้อนๆ ถือขันเที่ยวแสวงหาข้าวสุกในที่นั้นๆ ด้วยเหตุนั้น จึงปรากฏนามว่า กัปปฏกุระ. เขาเจริญวัยแล้วขายหญ้าเลี้ยงชีวิต วันหนึ่งไปสู่ป่าเพื่อเกี่ยวหญ้า เห็นพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพรูปหนึ่งในป่านั้น เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วนั่งอยู่แล้ว. พระเถระแสดงธรรมแก่เขา.
เขาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการขายหญ้านี้เลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้วจึงบวช ทิ้งท่อนผ้าเปื้อนๆ ที่ตนนุ่งแล้ว ไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ก็ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิดความกระสันในเวลานั้น เมื่อท่านมองดูท่อนผ้าเปื้อนฝุ่นนั้น ความกระสันก็หายไป ได้ความสลดใจแล้ว. ท่านทำอยู่อย่างนี้ สึกแล้วถึง ๗ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเหตุนั้นของ ท่านแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่มาวันหนึ่ง พระกัปปฏกุรภิกษุ นั่งอยู่ท้ายบริษัท ในโรงประชุมฟังธรรมหลับอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเตือนท่าน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิดว่า เราจะห่มผ้าผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคือ อมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ เราเอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่หม้ออมตะ เพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 186
อยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดูก่อนกัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมิติ กปฺปโฏ กปฺปโฏกุโร ความว่า ภิกษุชื่อว่า กัปปฏกุระ มีวิตกที่ผิดๆ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจะนุ่งห่มผ้า เปื้อนเก่าๆ ของเรานี้ จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรม ของเรา มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ คือเมื่อหม้ออมตะของเรา กำลังหลั่งน้ำคือ พระธรรมอยู่ในที่นั้นๆ ได้แก่ เมื่อเรายังน้ำอมฤต คือพระธรรมให้ตกลงด้วย การประกาศไปโดยคำมีอาทิว่า เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม ให้สัตวโลก ได้บรรลุอมตธรรม เมื่อสัตวโลกมืดมนมหันธการ เราจะบรรเลงกลองชัยเภรี คืออมตะ ทางที่เราทำไว้ เพื่อสั่งสมฌานทั้งโลกีย์และโลกุตระ คือทางที่เราแผ้วถาง ได้แก่มรรคภาวนาที่จัดแจงไว้เพื่อเป็นแนวทาง นี้เป็นคำสอนของเรา แม้ถึงอย่างนั้น พระกัปปฏกุระ ก็เป็นเพียงกากของพระธรรม คือเป็นผู้มีจิตกระสัน มีใจเหินห่างจากศาสนธรรมของเรา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเตือนเธอแล้ว เมื่อจะแสดงการอยู่อย่างผู้ประมาทของเธอแม้อีกครั้งหนึ่ง เหมือนจับโจรได้พร้อมของกลาง จึงตรัสพระคาถาว่า มา โข ตฺวํ กปฺปฏ ปจาเลสิ ดูก่อนกัปปฎะ เธออย่ามัวมานั่งโงกง่วงอยู่เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โข ตฺวํ กปฺปฏ ปจาเลสิ ความว่า ดูก่อนกัปปฏกุระ เธออย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่เลย คืออย่านั่งสัปหงก ได้แก่ อย่าเข้าถึงความหลับด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 187
บทว่า มา ตฺวํ อุปกณฺณมฺหิ ตาเฬสฺสนฺติ ความว่า เราอย่าต้องทุบท่านผู้หลับอยู่ ด้วยมือคือเทศนา ในที่ใกล้หู คือใกล้ๆ หู อธิบายว่า ต่อแต่นี้ไป ท่านจงปฏิบัติ โดยไม่ต้องให้เราสั่งสอน เพื่อการละกิเลสอีก.
บทว่า น หิ ตฺวํ กปฺปฏ มตฺตมญฺญสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเตือนว่า ดูก่อนกัปปฎะ เธอมัวโงกง่วงสัปหงกอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ย่อมไม่สำคัญประมาณ คือความพอดี คือไม่รู้แม้เหตุเพียงเท่านี้ว่า ขณะเช่นนี้ หาได้ยากอย่างยิ่ง ขณะนั้นอย่าล่วงเลยเราไปเสียเลย ดังนี้ และเธอจงดูความผิดของเธอ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่ม แล้วทรงเตือนกัปปฏกุรภิกษุ คาดคั้นด้วยพระคาถา ๒ คาถา อย่างนี้แล้ว กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความสลดใจ เหมือนถูกศรแทงจดกระดูก และเหมือนช้างตัวดุ (ที่หลงผิด) เดินตรงทาง ฉะนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ฝั่ง แม่น้ำวินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่นดี ครั้งนั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส บูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ด้วยดอกเกตก์ ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 188
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวยืนยันพระคาถาทั้งสองที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละว่า เป็นขอสับแห่งการบรรลุพระอรหัตตผลของตน. ด้วยพระคาถาทั้งสองนั้น ได้นับเป็นการพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระกัปปฏกุรเถระ นั้นด้วยอีกเหมือนกัน.
จบอรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๔
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระมิคสิรเถระ
๒. พระสิวกเถระ
๓. พระอุปวาณเถระ
๔. พระอิสิทินนเถระ
๕. พระสัมพุลกัจจานเถระ
๖ พระขิตกเถระ
๗. พระโสณปฏิริยบุตรเถระ
๘. พระนิสภเถระ
๙. พระอุสภเถระ
๑๐. พระกัปปฏกุรเถระ และอรรถกถา.