๗. อนูปมเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอนูปมเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 218
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๕
๗. อนูปมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอนูปมเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 218
๗. อนูปมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอนูปมเถระ
[๓๐๔] ได้ยินว่า พระอนูปมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตถึงความเพลิดเพลิน เพราะธรรมใด ธรรมใด ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้ ขอท่านจงเว้นธรรมนั้นๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต เรากล่าวธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีโทษ เรากล่าวธรรมนั้น ว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคลหาได้ โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเราในทางฉิบหายเลย.
อรรถกถาอนูปมเถรคาถา
คาถาของท่านพระอนูปมเถระ เริ่มต้นว่า นนฺทมานาคตํ จิตฺตํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ปทุมะ เที่ยวบิณฑบาตไปในถนน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกปรู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 219
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลอันมั่งคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อนูปโม เพราะสมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ละกามทั้งหลาย บวชแล้ว เพราะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย กระทำกรรมในวิปัสสนา อยู่ในป่า จิตของท่านแล่นไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ในภายนอก กรรมฐานก็หมุนเปลี่ยนแปลงไป. พระเถระเมื่อจะข่มจิตอันวิ่งไปอยู่ กล่าวเตือนตน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ ความว่า
จิตถึงความเพลิดเพลินเพราะธรรมใด ธรรมใด ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้ ขอท่านจงเว้นธรรมนั้นๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต เรากล่าวธรรมนั้น ว่าเป็นธรรมที่มีโทษ เรากล่าวธรรม นั้นว่า เป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคล หาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเรา ในทางฉิบหายเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทมานาคตํ จิตฺตํ ความว่า จิต มาสู่ความเพลิดเพลิน ได้แก่ จิตที่ยินดีเพลิดเพลินภพนั้นๆ แห่งตัณหาอัน เป็นตัวเหตุแห่งความยินดีเพลิดเพลินในภพนั้นๆ มาถึงความยินดี ความเพลิดเพลิน จากภพนั้นไปสู่ภพนี้.
บทว่า สูลมาโรปมานกํ ความว่า จิตอันกรรมกิเลสทั้งหลาย ยกขึ้นสู่ภพนั้นๆ อันชื่อว่าหลาว เพราะเป็นเช่นกับหลาว โดยฐานะเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
บทว่า เตน เตเนว วชสิ เยน สูลํ กลิงฺครํ ความว่า ภพกล่าวคือหลาว แสะกามคุณกล่าวคือท่อนไม้ อันได้นามว่า เขียงสำหรับสำเร็จโทษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 220
มีอยู่ในฐานะใดๆ ท่านจะดำเนินไป คือเข้าถึงฐานะนั้นๆ แหละ ด้วยบาปจิตนั้นๆ ทีเดียว ได้แก่ ไม่กำหนดความฉิบหายของตน.
บทว่า ตาหํ จิตฺตกลึ พฺรูมิ ความว่า เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าว ธรรมนั้นว่า เป็นโทษของจิต คือเป็นกาลกรรณีของจิต เพราะเป็นความประมาท คือเราจะกล่าว คือจะบอกซ้ำถึงธรรมนั้น ว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายจิต คือบ่อนทำลายจิต เพราะนำมาซึ่งความฉิบหาย แก่สันดานอันมีอุปการะมากแก่ตน กล่าวคือจิต. บางอาจารย์กล่าวว่า จิตฺตทุพฺภคา บ้าง หมายความว่า สภาพจิตที่ไม่มีบุญวาสนา (หรือ) จิตที่มีบุญน้อย. ถ้าจะมีผู้ถามว่า จะบอกว่าอย่างไร? ตอบว่า จะบอกว่า พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว คือ โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มาเป็นเวลาหลายกัปนับไม่ถ้วน แม้เมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว สมบัติคือความเป็นมนุษย์ และการได้เฉพาะซึ่งศรัทธาเป็นต้น ก็ยังเป็นของที่หาได้ยากโดยแท้ และเมื่อได้สมบัติเหล่านั้นแล้ว แม้พระศาสดาก็ยังหาไม่ได้อยู่นั่นเอง พระศาสดาผู้ที่บุคคลหาได้อย่างนี้ ท่านได้แล้วในบัดนี้ เมื่อเราได้พระศาสดานั้นแล้ว ท่านอย่ามาชวนเราในอกุศล อันมีแต่โทษหาประโยชน์มิได้ในปัจจุบัน และนำความฉิบหาย นำความเดือดร้อนมาให้ในเวลาต่อไป. พระเถระเมื่อกล่าวสอนจิตของตนอยู่อย่างนี้นั่นแล เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้านามว่า ปทุมะ อยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏ เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้านั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า ขณะนั้น เราเห็นต้นปรูมีดอกบาน จึงเลือกเก็บแล้ว เอามาบูชาพระชินสัมพุทธเจ้า นามว่าปทุมะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 221
ในกัปที่ ๓๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาอนูปมเถรคาถา