พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปัจจยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระปัจจยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40576
อ่าน  353

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 236

เถรคาถา ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๒. ปัจจยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปัจจยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 236

๒. ปัจจยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปัจจยเถระ

[๓๐๘] ได้ยินว่า พระปัจจยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล ข้าพเจ้าได้เข้าไปวิหารแล้ว ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหาออกยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอนหลัง เมื่อข้าพเจ้าพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร และความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

อรรถกถาปัจจยเถรคาถา

คาถาของท่านพระปัจจยเถระมีคำเริ่มต้นว่า ญฺจาหาหํ ปพฺพชิโต ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้น อย่างไร?

แม้ท่านพระปัจจยเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการที่ทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้นๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 237

ได้เห็นพระศาสดากำลังเสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา มีใจเลื่อมใส ได้เลือกเก็บผลมะเดื่อผลใหญ่ๆ มีรสชื่นใจ น้อมเข้าไปถวาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในสุคติเท่านั้น ในภัทรกัปที่มี พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงทำการอนุเคราะห์เวไนยชน ได้บวชในพระศาสนาของพระองค์ เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา ประกอบการภาวนาเนืองๆ อยู่มาวันหนึ่ง คิดถึงทุกข์ในสงสาร เกิดความสังเวชอย่างยิ่ง นั่งอยู่ในวิหาร อธิษฐานจิตว่า เราไม่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่ออกไปจากที่นี้ พยายามอยู่ ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนาเลื่อนสูงขึ้นได้ เพราะญาณยังไม่แก่กล้า. ท่านมรณภาพแล้ว ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือกำเนิดในขัตติยสกุล ในพระนครโรหินี ได้รับพระนามว่า ปัจจยะ ทรงเจริญวัยแล้ว สิ้นรัชสมัยของพระชนก ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ อยู่มาวันหนึ่ง ได้ทรงปรารภจะทรงประกอบพลีกรรมเพื่อเป็นมหาราช. มหาชนได้มาชุมนุมกัน ณ สถานที่นั้น.

เพื่อจะให้เกิดความเลื่อมใสแก่มหาชนนั้น ในสมาคมนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนรัตนสิงหาสน์ในรัตนกูฎาคาร ที่ท้าวเวสวัณเนรมิตถวายแล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่มหาซน ผู้เฝ้ามองอยู่นั่นแหละ. การบรรลุธรรมได้มีแก่ ชุมนุมชนหมู่ใหญ่.

แม้พระเจ้าปัจจยราช ครั้นทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว ได้ทรงสละราชสมบัติ ถูกเหตุเก่าก่อนกระตุ้นเตือน จึงได้ทรงผนวช. พระองค์ได้ ทรงทำปฏิญญา เหมือนที่ได้กระทำไว้แล้ว ในครั้งกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เสด็จเข้าพระวิหาร เจริญวิปัสสนาแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 238

ได้ทรงบรรลุพระอรหัต ในทันใดนั่นเอง เพราะทรงทำพระญาณให้แก่กล้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นเอกอัครบุรุษ มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้ว ทรงคลายความกำหนัดแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสในพระองค์ ผู้ทรงชำระมลทินคือกิเลส ได้ถือผลมะเดื่อ ขอเป็นทาสพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด. ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะการถวายผลไม้นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการถวายผลไม้. ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าสังเวชสลดใจ ได้บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ. อนึ่ง ข้าพเจ้าบวชแล้วตั้งใจไว้ว่า จักไม่ออกจากวิหาร ได้พร่ำบำเพ็ญภาวนา ไม่ได้บรรลุประโยชน์สูงสุด ถึงจะไม่ได้บรรลุในทันใดนั้น แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ดับกิเลสได้แล้ว สัมผัสทางที่ไม่จุติ ได้ลุถึงสถานที่ที่ไม่หวั่นไหวแล้ว. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยการสรรเสริญข้อปฏิบัติของตนเป็นหลัก จึงได้ภาษิตคาถา ๓ คาถาเหล่า นี้ไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 239

ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล ข้าพเจ้าเข้าไปวิหารแล้ว ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหาออกยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอนหลัง เมื่อข้าพเจ้านั้นพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร และความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาหาหํ ปพฺพชิโต ความว่า ข้าพเจ้า เป็นพระเสขะ ๕ วัน อธิบายว่า บวชแล้ว ๕ วัน ในวันที่ ๕ นับแต่บวชแล้ว ก็ได้สำเร็จ.

บทว่า เสโข อปฺปตฺตมานโส ความว่า ชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะศึกษาอธิสีลสิกขาเป็นต้น. ธรรมใดสิ้นมานะ คือ ตัดมานะขาดออกไป โดยไม่มีเหลือไว้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า มานโส ได้แก่ มรรคชั้นยอด (อรหัตตมรรค) สิ่งที่มาจากธรรมที่สิ้นมานะ เพราะเกิดจากธรรมนั้น ชื่อว่า มานัส ได้แก่พระอรหัตตผล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง มานัส (คืออรหัต) นั้น ข้าพเจ้านี้ยังไม่ได้บรรลุ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึง ชื่อว่า อัปปัตตมานสะ (ผู้ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล).

บทว่า วิหารํ เม ปวิฏฺสฺส เจตโส ปณิธี อหุ (ข้าพเจ้าเข้าวิหาร แล้วได้มีความตั้งใจไว้ว่า) ความว่า เมื่อข้าพเจ้าผู้เป็นพระเสขะ เข้าไปสู่วิหาร อันเป็นที่อยู่คือกระท่อมอย่างนี้ ได้มีความตั้งใจ ที่มีอาการดังที่กำลังกล่าวอยู่ ในบัดนี้ อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 240

ด้วยบทว่า นาสิสฺสํ เป็นต้นนี้ ท่านแสดงถึงความตั้งใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสิสฺสํ ความว่า ข้าพเจ้าจักไม่ฉัน คือจักไม่บริโภคโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อข้าพเจ้าถอนลูกศรคือกิเลสที่ปักใจข้าพเจ้ายังไม่ออก คือ ถอนยังไม่ได้ ผู้ศึกษาควรประกอบคำดังที่ว่า มานี้เข้าในทุกๆ บท.

บทว่า น ปิวิสฺสามิ ความว่า เราจักไม่ดื่มน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรดื่ม.

บทว่า วิหารโต น นิกฺขเม ความว่า ข้าพเจ้าจะไม่ออกไปจากที่นี้ คือจากห้องที่ข้าพเจ้านั่งอยู่แล้วในขณะนี้.

บทว่า นปิ ปสฺสํ นิปาเตสฺสํ ความว่า บรรดาสีข้างทั้ง ๒ ของร่างกายข้าพเจ้า แม้ข้างเดียวข้าพเจ้าก็จักไม่เอน เพื่อบรรเทาความลำบากกาย อธิบายว่า จักไม่นอน แม้โดยข้างๆ เดียว.

บทว่า ตสฺส เมวํ วิหรโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั้น ตั้งจิตไว้อย่างนี้แล้ว พักอยู่ด้วยอำนาจแห่งการตั้งวิริยาธิษฐานไว้อย่างมั่นคง แล้วพร่ำบำเพ็ญวิปัสสนา.

บทว่า ปสฺส วิริยปรกฺกมํ ความว่า คนจะเห็น คือจะรู้ความพยายามที่ได้นามว่า วิริยะ เพราะจะต้องให้เคลื่อนไหวไปตามวิธี และได้นามว่า ปรักกมะ เพราะก้าวไปสู่ที่ข้างหน้าที่เป็นความอุตสาหะ. แต่ว่า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว ด้วยอานุภาพความเพียรใด เพราะฉะนั้น ความเพียรนั้น มีเนื้อความดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปัจจยเถรคาถา