เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 130
ปสาทสูตรที่ ๔
เมื่อบุคคลเลื่อมใสโดยความเป็นวัตถุ เลิศ รู้ซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักษิไณย ไม่มีใคร ยิ่งกว่า เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศอันเป็นที่สิ้นราคะเป็นที่สงบเป็นสุข เลื่อมใส ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ให้ทานในท่านผู้เลิศ บุญอันเลิศ ย่อมเจริญมาก อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละอันเลิศก็ย่อมเจริญมาก ผู้มีปัญญา เป็นผู้ให้ของที่เลิศ มั่นคงอยู่ในธรรมอันเลิศแล้ว ผู้นั้นจะเป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ ก็ย่อมได้รับฐานะอันเลิศบันเทิงใจ. จบปสาทสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 71 พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. ศีลมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว คือ ศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น ชนเหล่าใดย่อมทำให้บริบูรณ์ในอริยกันตศีล ชนเหล่านั้นชื่อว่า ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ. บุญอันเลิศคือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขและกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมที่เลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็นนาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศ บันเทิงใจอยู่. จบจุนทิสูตรที่ ๒