พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สาฏิมัตติกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสาฏิมัตติกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40584
อ่าน  513

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 277

เถรคาถา ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๑๐. สาฏิมัตติกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสาฏิมัตติกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 277

๑๐. สาฏิมัตติกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสาฏิมัตติกเถระ

[๓๑๖] ได้ยินว่า พระสาฏิมัตติกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธานั้นของโยมไม่มี สิ่งใดเป็นของโยม สิ่งนั้นก็เป็นของโยมนั่นแหละ ทุจริตของอาตมาไม่มี เพราะศรัทธาไม่เที่ยงแท้ กลับกลอก ศรัทธานั้นอาตมาเคยเห็นมาแล้ว คนทั้งหลายประเดี๋ยวรัก ประเดี๋ยวหน่าย ผู้เป็นมุนีจะเอาชนะได้อย่างไร? ในเพราะความรักความหน่ายของเขานั้น บุคคลย่อมหุงหาอาหารไว้ เพื่อมุนี ทุกๆ สกุล สกุลละเล็กละน้อย อาตมาจักเที่ยวบิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 278

อรรถกถาสาฏิมัตติกเถรคาถา

คาถาของท่านพระสาฏิมัตติกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ตุยฺหํ ปุเร สทฺธา. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้ท่านสาฏิมัตติกเถระ ได้มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้นๆ ได้ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ ในแคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีชื่อว่า สาฏิมัตติกะ เจริญวัยแล้ว ได้บวชในสำนักของพระวัดป่า เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุ บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ได้เป็นพระอริยบุคคลผู้มีอภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ใน อปทานว่า

ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าสิทธัตถะ กั้นเครื่องกั้นที่คลุมด้วยดอกมะลิที่มีค่ามาก ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย เพราะเหตุที่ได้ถวายพัดใบตาล นี้คือผลของการถวายพัดใบตาล. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอริยบุคคล ผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว จึงกล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลาย และให้สัตว์จำนวนมาก ดำรงอยู่ในสรณะและศีล โดยกล่าวธรรมกถา ทั้งได้ทำตระกูลอื่นที่ไม่มีศรัทธาให้มีศรัทธา ที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลายในตระกูลนั้น จึงได้เลื่อมใสในพระเถระมาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 279

บรรดาคนเหล่านั้น หญิงสาวคนหนึ่ง มีรูปร่างงามน่าทัศนา อังคาสพระเถระผู้เข้าไปบิณฑบาตด้วยโภชนะโดยเคารพ.

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มารคิดว่า ความเสื่อมยศจักมีแก่พระเถระนี้ ด้วยวิธีการอย่างนี้ พระเถระนี้ก็จักดำรงอยู่ไม่ได้ ในพระศาสนานี้ แล้วได้ปลอมเป็นรูปพระเถระไปจับมือหญิงสาวคนนั้น. หญิงสาวรู้ได้ว่านี้ไม่ใช่สัมผัสของมนุษย์ และได้ให้เขาปล่อยมือ คนในเรือนได้เห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว เกิดความไม่เลื่อมใสในพระเถระ.

ในวันรุ่งขึ้น พระเถระเมื่อไม่ทราบเหตุการณ์นั้น ก็ได้ไปยังเรือนหลังนั้น (เช่นเคย) คนทั้งหลายในเรือนหลังนั้นไม่ได้ทำความเอื้อเฟื้อ. พระเถระเมื่อรำลึกหาเหตุการณ์นั้นอยู่ ก็ได้เห็นกิริยาของมาร จึงได้อธิษฐาน ว่าขอให้ศพลูกสุนัขจงไปสวมที่คอของมารนั้น ได้ให้มารผู้เข้ามาหา เพื่อให้แก้ศพลูกสุนัขออก บอกกิริยาที่ตนทำแล้ว ในวันที่แล้วมา แล้วได้ขู่มารนั้น แล้วจึงแก้ให้. เจ้าของเรือนได้เห็นเหตุการณ์นั้น แล้วได้พากันขอขมาพระเถระ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอได้กรุณาให้อภัยโทษเถิด แล้วจึงเรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กระผมคนเดียวขออุปัฏฐากพระคุณเจ้า. พระเถระเมื่อกล่าวธรรมกถาแก่เขา ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธานั้นของโยมไม่มี สิ่งใดเป็นของโยม สิ่งนั้นก็เป็นของโยมนั่นแหละ ทุจริตของอาตมาไม่มี เพราะศรัทธาไม่เที่ยงแท้ กลับกลอก ศรัทธานั้นอาตมาเคยเห็นมาแล้ว คนทั้งหลายประเดี๋ยวรัก ประเดี๋ยวหน่าย ผู้เป็นมุนีจะเอาชนะได้อย่างไร? ในเพราะความรัก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 280

และความหน่ายของเขานั้น บุคคลย่อมหุงหาอาหารไว้ เพื่อมุนีทุกๆ สกุล สกุลละเล็กละน้อย อาตมาจักเที่ยวบิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ตุยฺหํ ปุเร สทฺธา สา เต อชฺช น วิชฺชติ (เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธานั้นของโยม ไม่มี) ความว่า ดูก่อนอุบาสก ก่อนแต่นี้ โยมได้มีศรัทธาในอาตมา โดยนัย มีอาทิว่า พระผู้เป็นเจ้าประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ แต่วันนี้คือเดี๋ยวนี้ ศรัทธานั้นของโยมคือท่านหามีไม่ เพราะเหตุนั้น บทว่า ยํ ตุยฺหํ ตุยฺหเมเวตํ จึงมีอธิบายว่า การถวายปัจจัย ๔ อันใด อันนี้ก็เป็นของโยมนั่นแหละ อาตมาไม่มีความต้องการสิ่งนั้น เพราะว่า ธรรมดาทานผู้มีจิตเลื่อมใสโดยชอบ จึงควรให้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํ ตุยฺหํ ตุยฺหเมเวตํ มีเนื้อความว่า วันนี้ ความไม่เคารพในอาตมาอันใดของโยม ความไม่เคารพอันนั้นก็เป็นของโยมนั่นแหละ ผลของความไม่เคารพ โยมนั่นเองต้องเป็นผู้เสวย ไม่ใช่อาตมา.

บทว่า นตฺถิ ทุจฺจริตํ มยา ความว่า ก็ขึ้นชื่อว่า ทุจริตของอาตมาไม่มี เพราะกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหตุของทุจริต อาตมาตัดขาดแล้ว ด้วยอริยมรรค.

บทว่า อนิจฺจา หิ จลา สทฺธา ความว่า เพราะเหตุที่ศรัทธา ซึ่งเป็นของปุถุชน เป็นของไม่เที่ยง ไม่เป็นไปโดยส่วนเดียว ฉะนั้นเอง จึงเป็นของกลับกลอกไป เหมือนลูกฟักวางไว้บนหลังม้า และไม่หนักแน่นเหมือน หลักที่ปักไว้บนกองแกลบ.

บทว่า เอวํ ทิฏฺา หิ สา มยา ความว่า และศรัทธานั้นที่เป็น อย่างนี้ อาตมาเห็นแล้ว คือ ทราบประจักษ์ชัดแล้วในตัวโยม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 281

บทว่า รชฺชนฺติปิ วิรชฺชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ บางครั้งรัก คือทำแม้ซึ่งความเสน่หา ในบางอย่าง ด้วยอำนาจความคุ้นเคย ฉันมิตร แต่บางคราวก็หน่าย คือ มีจิตคลายรัก เพราะศรัทธาไม่มั่นคง ด้วย ประการอย่างนี้.

บทว่า ตตฺถ กึ ชิยฺยเต มุนิ ความว่า ก็ผู้เป็นมุนี คือผู้บวชแล้ว จะชนะได้อย่างไร อธิบายว่า มุนีนั้นจะมีความเสื่อมเสียอะไร ในเพราะความรักและความหน่ายของปุถุชนนั้น.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า โยมอย่าคิดอย่างนี้ว่า ถ้าหากพระคุณเจ้าไม่รับปัจจัยของเรา พระคุณเจ้าจะยังชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไร จึงได้กล่าวคาถา ว่า ปจฺจติ เป็นต้นไว้.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า ธรรมดาว่า ภัตตาหารของมุนีคือผู้บวชแล้ว คนเขาหุงหาไว้ทุกวัน ตระกูลละเล็กละน้อย ตามลำดับเรือน ไม่ใช่หุงแต่ในบ้านของโยมเท่านั้น.

บทว่า ปิณฺฑิกาย จริสฺสามิ อตฺถิ ชงฺฆพลํ (อาตมาจักเที่ยว บิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่) ความว่า พระเถระแสดงว่า อาตมายังมีกำลังแข้ง อาตมาไม่ใช่คนแข้งหัก ไม่ใช่คนเปลี้ย และไม่ใช่คนมีโรคเท้า เพราะฉะนั้น อาตมาจักเดินไปบิณฑบาต เพื่อภิกษาหารที่เจือปนกัน คือ อาตมาจักเดินบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ตามนัยที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า ยถาปิ ภมโร ปุปผํ เหมือนภมร ไม่ทำดอกไม้ให้ชอกช้ำ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาสาฏิมัตติกเถรคาถา