๑๑. อุบาลีเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอุบาลีเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 282
เถรคาถา ติกนิบาต
วรรคที่ ๑
๑๑. อุบาลีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุบาลีเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 282
๑๑. อุบาลีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุบาลีเถระ
[๓๑๗] ได้ยินว่า พระอุบาลีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษา ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน. ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษา ควรพำนักอยู่ในหมู่สงฆ์ เป็นผู้ฉลาดศึกษาพระวินัย. ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษา ต้องเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้าออกตา.
อรรถกถาอุบาลีเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุบาลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สทฺธาย อภินิกฺขมฺม. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?
แม้ท่านพระอุบาลีเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดขึ้นในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในนครหงสาวดี วันหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 283
ทำกรรมคือบุญญาธิการแล้ว ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น. ท่านบำเพ็ญกุศลตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในเรือนของช่างกัลบก มารดาและบิดาได้ขนานนามของท่านว่า อุบาลี. ท่านเจริญวัยแล้ว เป็นที่เลื่อมใสของกษัตริย์ทั้ง ๖ มีท่านอนุรุทธะ เป็นต้น เมื่อพระตถาคตเจ้า ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ได้ออกบวช พร้อมกับกษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ ที่ออกไปเพื่อต้องการบวช. วิธีบวชของท่านมีมาแล้วในพระบาลี.
ท่านครั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้รับเอากรรมฐานในสำนักของพระศาสดา แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่าเถิด พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ป่าธุระอย่างเดียวเท่านั้นจักเจริญ แต่เมื่อปฏิบัติอยู่ในสำนักของเราทั้งหลาย ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จักบริบูรณ์. พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ไม่นานเลย ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า
ในหงสาวดีนคร พราหมณ์ชื่อว่า สุชาต สะสมทรัพย์ไว้ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ เป็นนักศึกษา จำทรงมนต์ไว้ได้ ถึงฝั่งแห่งไตรเพท จบลักษณะอิติหาส และบารมีในธรรมของตน ในครั้งนั้น สาวกของพระโคดมพุทธเจ้า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องเว้น มีสิกขาอย่างเดียวกัน เป็นทั้งผู้จาริก เป็นทั้งดาบส ท่องเที่ยวไปตามพื้นดิน. ท่านเหล่านั้นห้อมล้อมข้าพเจ้า ชนจำนวนมากบูชาข้าพเจ้า ด้วยสำคัญว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 284
เป็นพราหมณ์ผู้เปรื่องปราชญ์ แต่ข้าพเจ้าไม่บูชาอะไร. ในกาลครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีมานะ กระด้าง ไม่เห็นผู้ที่ควรบูชา คำว่า พุทฺโธ ไม่มีตลอดเวลาที่พระชินเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น. วันคืนล่วงไปๆ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงมีจักษุ เสด็จอุบติขึ้นในโลก ทรงขจัดความมืดทั้งมวลออกไป. เมื่อศาสนาแผ่ออกไปในหมู่กษัตริย์และหนาแน่นขึ้น ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จเข้ามายังนครหงสาวดี. พระองค์ผู้ทรงมีจักษุ ได้ทรงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แก่พระบิดา เวลานั้น บริษัททั้งหลายโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์. บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้เขาสมมติแล้วในครั้งนั้น ได้แก่ ดาบสชื่อสุนันทะ ได้ใช้ดอกไม้บัง (แสงแดด) ตลอดทั่วทั้งพุทธบริษัท ในครั้งนั้น. และเมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔ ที่ปะรำดอกไม้ บริษัทแสนโกฏิได้บรรลุธรรม. พระพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือพระธรรม เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ครั้นถึงวันที่ ๘ พระชินเจ้า ทรงสรรเสริญสุนันทดาบสว่า สุนันทดาบสนี้ เมื่อท่องเที่ยวไปมา ในภพที่เป็นเทวโลกหรือมนุษยโลก จักเป็นผู้ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย. ในแสนกัปจักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพจากราชตระกูลพระเจ้าโอกกากราช พระนามว่า โคดม โดยพระโคตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 285
พระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรมทายก ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นพุทธสาวกโดย นามว่า ปุณณมันตานีบุตร. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงให้ชนทั้งหมดกระหยิ่มใจ ทรงแสดงพระญาณของพระองค์ จึงได้ทรงสรรเสริญสุนันทดาบส อย่างนี้ในครั้งนั้น. ชนทั้งหลายพากันประนมมือนมัสการ สุนันทดาบส กระทำสักการะในพระพุทธเจ้า แล้วชำระคติของตนให้ผ่องใส. ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว ได้มีความดำริในเรื่องนั้นว่า แม้เราจักทำสักการะ โดยวิธีที่จะเห็นพระโคดมพุทธเจ้า. ข้าพเจ้าครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้คิดถึงกิริยาของข้าพเจ้าว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะประพฤติธรรมในบุญเขตที่ยอดเยี่ยม. ก็ภิกษุผู้เป็นนักปาฐกรูปนี้ พูดได้ทุกอย่างในพระศาสนา ถูกยกย่องว่า เป็นผู้เลิศในพระวินัย เราปรารถนาตำแหน่งนั้น. โภคะของเราไม่มีผู้นับได้ ไม่มีผู้ให้กระเทือนได้ เปรียบเหมือนสาคร เราจะสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ด้วยโภคะนั้น. ข้าพเจ้าได้ชื้อสวนชื่อว่าโสภณะ ด้านหน้าพระนครด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างสังฆารามถวาย. ข้าพเจ้าได้สร้างสังฆารามแต่งเรือนยอดปราสาท มณฑป ถ้ำ คูหา และที่จงกรมให้เรียบร้อย. ข้าพเจ้าได้สร้างเรือนอบกาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 286
โรงไฟ โรงเก็บน้ำและห้องอาบน้ำ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์. ข้าพเจ้าได้ถวายปัจจัยนี้ทุกอย่างคือ ตั่ง เตียง ภาชนะ เครื่องใช้สอยและยาประจำวัด. ข้าพเจ้าครั้นเริ่มตั้งอารักขา ก็ให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคง ขออะไรๆ อย่าได้เบียดเบียนท่านเลย ข้าพเจ้าได้สร้างที่อยู่อาศัยให้ท่านผู้มีจิตสงบ ผู้คงที่ไว้ในสังฆาราม ด้วยทรัพย์จำนวนแสน สร้างที่อยู่อาศัยนั้นอย่างไพบูลย์แล้ว ได้น้อมถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าพระองค์สร้างพระอารามสำเร็จแล้ว ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์จงทรงรับ ข้าพระองค์จักถวายพระอารามนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีความเพียร ผู้ทรงมีจักษุ ขอพระองค์ทรงรับพระวิหารนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นนายก ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว ทรงรับเครื่องบูชาทั้งหลาย ทรงรับพระอารามนั้น. ข้าพเจ้าได้ทราบการทรงรับ ของพระ สรรเพชญ์ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ได้เตรียมโภชนะไว้ ได้ทูลให้ทรงทราบเวลาแห่งภัต. เมื่อข้าพเจ้าทูลให้ทรงทราบเวลาแล้ว พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายก พร้อมด้วยพระขีณาสพพันหนึ่ง ได้เสด็จเข้าไปสู่อารามของข้าพเจ้า. ข้าพเจ้ารู้กาลเวลาที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 287
พระองค์และพระขีณาสพทั้งหลายประทับนั่งแล้ว จึงได้ให้ท่านเหล่านั้นอิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวและน้ำ ครั้นทราบกาลเวลาที่เสวยแล้ว จึงได้ทูลคำนี้ว่า อารามชื่อว่า โสภณะ ข้าพระองค์ซื้อด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างด้วยทรัพย์จำนวนเท่านั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระมุนีเจ้า ขอพระองค์จงทรงรับอารามนั้น. ด้วยการถวายอารามนี้ และด้วยเจตนาและประณิธาน ข้าพระองค์เมื่อเกิดในภพ ขอให้ได้สิ่งที่ข้าพระองค์ปรารถนา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นทรงรับสังฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้ว ได้ประทับนั่งที่ท่ามกลางสงฆ์ ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า เขาผู้ใด ได้มอบถวายสังฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้ว แด่พระพุทธเจ้า เราตถาคตจะกล่าวสรรเสริญเขาผู้นั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา ผู้กล่าวอยู่. จตุรงคเสนา คือ พล ช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อม ผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม. เครื่องดุริยางค์หกหมื่น และกลองทั้งหลาย ที่ตกแต่งไว้อย่างเหมาะสม จักประโคม ห้อมล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผลของการถวายสังฆาราม. หญิงสาวแปดหมื่นหกพันนางแต่งตัวอย่างสวยสม นุ่งห่มพัสตราภรณ์ที่สวยงาม ประดับประดาด้วยแก้วมณี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 288
และแก้วกุณฑล มีขนตางอน หน้าตายิ้มแย้ม มีตะโพกผึ่งผาย เอวบางร่างน้อย ห้อมล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลของการถวายสังฆาราม. ผู้นี้จักรื่นเริงใจ อยู่ในเทวโลกเป็นเวลาสามหมื่นกัป จักเป็นท้าวสักกะ เสวยเทวราชสมบัติถึงพันครั้ง จักได้เสวยสมบัติทั้งหมด ที่ราชาแห่งทวยเทพจะพึงประสบ จักเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่บกพร่อง เสวยเทวราชสมบัติ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในแว่นแคว้นตั้งพันครั้ง เสวยราชสมบัติอันไพบูลย์ในแผ่นดิน นับครั้งไม่ถ้วน. ใน (อีก) แสนกัป จักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพในราชตระกูลโอกกากราช พระนามว่าโคตมะ โดยพระโคตร. พระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรมทายาท ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นพุทธสาวกโดย นามว่า อุบาลี. เธอจักบำเพ็ญบารมีในพระวินัย เป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ดำรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระชินะ และเป็นผู้หาอาสวะมิได้. พระสมณโคดมผู้ล้ำเลิศในหมู่ศากยะ ทรงรู้ยิ่งซึ่งสิ่งทั้งหมดนี้แล้ว จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงแต่งตั้งเธอไว้ในเอตทัคคะ. ข้าพระองค์ปรารถนาคำสั่งสอน ของพระองค์ โดยหมายเอาประโยชน์ใดที่นับไม่ถ้วน ประโยชน์นั้นคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 289
คนต้องราชทัณฑ์ถูกหลาวแทง เมื่อไม่ประสบความสบายเพราะหลาว ก็ปรารถนาจะให้พ้นไปทีเดียว ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องอาชญาของภพ ถูกหลาวคือกรรมแทง ถูกเวทนาคือความหิวระหายรบกวน ไม่ประสบความสำราญในภพ ข้าพระองค์ถูกไฟ ๓ กองเผาลน จึงแสวงหาความรอดพ้น ดุจผู้ต้องราชทัณฑ์ฉะนั้น ชายผู้กล้าหาญถูกยาเบื่อ เขาจะเสาะแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์ ที่จะแก้ยาเบื่อ รักษาชีวิตไว้ เมื่อแสวงหาก็จะพบยาขนานศักดิ์สิทธิ์ที่แก้ยาเบื่อได้ ครั้นดื่มยานั้นแล้วก็จะสบาย เพราะรอดพ้นไปจากพิษยาเบื่อ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นเหมือนนรชนผู้ถูกยาเบื่อ ถูกอวิชชาบีบคั้นแล้ว ต้องแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์ คือ พระสัทธรรม เมื่อแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์ คือ พระธรรม ก็ได้พบคำสั่งสอนของพระศากยมุนี คำสั่งสอนนั้นล้ำเลิศกว่าโอสถทุกอย่าง บรรเทาลูกศรทั้งมวลได้ ครั้นดื่มธรรมโอสถที่ถอนพิษทุกอย่างได้แล้ว ข้าพระองค์ก็สัมผัสพระนิพพาน ที่ไม่แก่ไม่ตาย มีภาวะเยือกเย็น คนที่ถูกผีสิงเดือดร้อนเพราะเคราะห์ คือผี ต้องเสาะแสวงหาหมอไล่ผี เพื่อให้รอดพ้นจากผี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 290
เมื่อแสวงหาก็พึงพบหมอผู้ฉลาดในทางภูตวิทยา หมอนั้นต้องขับภูตผีพร้อมทั้งมูลเหตุให้เขา เพื่อให้พินาศไป ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เดือดร้อนเพราะเคราะห์คือความมืด เสาะแสวงหาแสงสว่างคือญาณ เพื่อให้รอดพ้นจากความมืด จึงได้พบพระศากยมุนี ผู้ทรงกำจัดความมืด คือ กิเลสออกไปได้ พระองค์ได้ทรงกำจัดความมืดให้ข้าพระองค์เหมือนหมอผีขับผี ฉะนั้น ข้าพระองค์ตัดทอนกระแสแห่งสงสารได้ขาด กั้นกระแสตัณหาไว้ได้ ถอนภพทั้งหมดขึ้นได้ เหมือนหมอผีขับผีออกไปโดยมูลเหตุฉะนั้น นกครุฑโฉบเอางูไปเป็นอาหารของตน ยังสระใหญ่ร้อยโยชน์ โดยรอบให้กระเพื่อม มันจับงูได้แล้ว จะจิกให้ตายเอาหัวห้อยลงพาบินหนีไป ตามที่นกครุฑต้องการฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เป็นเหมือนนกครุฑที่มีกำลัง เมื่อแสวงหาอสังขตธรรม ข้าพระองค์คายโทษทั้งหลายออกไปแล้ว ได้เห็นสันติบทที่เป็นธรรมอันประเสริฐ อย่างยอดเยี่ยม นำเอาพระธรรมนั้นไปพำนักอยู่ เหมือนนกครุฑนำเอางูไปพักอยู่ฉะนั้น เถาวัลลี ชื่อ อาสาวดี เกิดในสวนจิตรลดา เถาวัลลีนั้น หนึ่งพันปีจึงจะออกผล ๑ ผล ทวยเทพจะพากันเฝ้าแหนผลของเถาอาสาวดีนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 291
เมื่อมันมีผลระยะนานขนาดนั้น เถาวัลลีนั้นจึงเป็นที่รักของทวยเทพ เมื่อเป็นอย่างนี้ เถาอาสาวดี จึงเป็นเถาวัลลีชั้นยอด ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ หมายใจไว้แสนกัป ขอบำรุงพระองค์ นมัสกาลทั้งเช้า ทั้งเย็น เหมือนทวยเทพมุ่งหมายเถาอาสาวดีฉะนั้น การปรนนิบัติและการนมัสการของข้าพระองค์ ไม่เป็นหมัน ไม่เป็นโมฆะ ข้าพระองค์ผู้สงบแล้ว แม้มาแต่ไกลก็ไม่แคล้วคลาดขณะไปได้ ข้าพระองค์ค้นหาอยู่ก็ไม่พบปฏิสนธิในภพ ข้าพระองค์ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้ว สงบระงับแล้ว ท่องเที่ยวไปอยู่ อุปมาเสมือนว่า ดอกปทุมบานเพราะแสงพระอาทิตย์ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เบิกบานแล้ว เพราะพุทธรัศมี ในกำเนิดนกกระยาง จะไม่มีตัวผู้ ทุกครั้งที่ฟ้าร้อง มันจะตั้งท้องทุกคราว ตั้งท้องอยู่นาน จนกว่าฟ้าจะไม่ร้อง จะพ้นจากภาระ (ตกฟอง) ต่อเมื่อฝนตกฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกันได้ตั้งครรภ์คือพระธรรม เพราะเสียงฟ้า คือพระธรรม ที่ร้องเพราะเมฆคือพระธรรมของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระองค์ทรงครรภ์คือบุญ อยู่เป็นเวลาแสนกัป จะพ้นภาระ (คลอด) จนกว่า ฟ้าคือพระธรรมจะหยุดร้อง ข้าแต่พระศากยมุนี เมื่อใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 292
พระองค์ (ผู้เสมือนฟ้า) ทรงร้องที่กรุงกบิลพัสดุ์ บุรีรมย์ เมื่อนั้น ข้าพระองค์จึงจะพ้นจากภาระ เพราะฟ้าคือพระธรรม (หยุดร้อง) ข้าพระองค์ได้คลอดพระธรรมทั้งหมด เหล่านี้ คือ สุญญตะ (วิโมกข์) ๑ อนิมิตตะ (วิโมกข์) ๑ และอปณิหิตะ (วิโมกข์) ๑ (โลกุตระ) ผล ๔ อย่าง ๑.
ข้าพระองค์ปรารถนาคำสั่งสอนของพระองค์ มุ่งหมายถึงประโยชน์อันใด ที่นับประมาณไม่ถ้วน ประโยชน์นั้นคือสันติบท (พระนิพพาน) อันยอดเยี่ยม ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีผู้เสมอเหมือน ข้าพระองค์ประสบบารมีในพระวินัยแล้ว จำทรงคำสอนไว้ได้ เหมือนภิกษุผู้แสวงหาคุณ ผู้เป็นนักพูดแม้ฉะนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความเคลือบแคลง ในพระวินัยทั้ง ๕ คัมภีร์ คือทั้งขันธกะและที่ แบ่งออกเป็น ๓ คัมภีร์ (จุลวรรค มหาวรรค และ บริวารวรรค) หรือทั้งในอักขระ ทั้งในพยัญชนะในพระวินัยนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาด ทั้งในนิคคหกรรม ปฏิกรรม ฐานะและอฐานะ โอสารณกรรม และ วุฏฐาปนกรรม ถึงบารมีในพระวินัยทั้งหมด อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ยกบทขึ้นมาตั้งแล้ว ไขความออกไป โดยกิจ ๒ อย่าง แล้ววางไว้ในขันธกะ ในพระวินัย ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดล้ำในนิรุตติศาสตร์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 293
ฉลาดทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้ ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศผู้หนึ่งในพระศาสนาของพระศาสดา วันนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ ฉลาดในรูป บรรเทาข้อกังขาทุกอย่าง ตัดความสงสัย ทั้งสิ้นในพระศาสนาของพระสมณศากยบุตร ทั้งที่เป็นบท (ใหญ่) บทย่อย ทั้งที่เป็นอักขระเป็นพยัญชนะ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในทุกอย่าง ทั้งในเบื้องต้น ทั้งในเบื้องปลาย พระราชาผู้ทรงมีกำลัง ทรงกำราบการรบกวนของผู้อื่น ทรงชนะสงครามแล้ว ทรงให้สร้างพระนครขึ้น ณ ที่นั้น ทรงให้สร้างกำแพงบ้าง คูบ้าง เสาเขื่อนบ้าง ซุ้มประตูบ้าง ป้อมบ้าง นานาชนิด เป็นจำนวนมากไว้ในพระนครนั้น ทรงให้สร้างทางสี่แยก สนาม ตลาดจ่าย และสภาสำหรับวินิจฉัย สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ไว้ในพระนครนั้น พระองค์ทรงตั้งเสนาและอำมาตย์ไว้ เพื่อปราบหมู่อมิตร เพื่อรู้ช่องทางและมิใช่ช่องทาง และเพื่อรักษาพลนิกายไว้ พระองค์ทรงตั้งคนผู้ฉลาดในการเก็บสิ่งของให้เป็นภัณฑารักษ์ไว้ เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าสิ่งของด้วยพระราชประสงค์ว่า สิ่งของของเราอย่าได้สูญหายไป ผู้ใดสำเร็จ (การศึกษา) แล้ว และปรารถนาความเจริญแก่พระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 294
จะประทานเรื่องให้เขา เพื่อปฏิบัติต่อมิตร (ประชาชน). เมื่อนิมิตเกิดขึ้น พระองค์จะทรงตั้งผู้ฉลาดในลักษณะทั้งหลาย ผู้เป็นนักศึกษาและจำทรงมนต์ไว้ได้ ให้ดำรงอยู่ในความเป็นปุโรหิต ผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณเหล่านี้ เรียกว่ากษัตริย์ พวกเขาจะพากันพิทักษ์รักษาพระราชาทุกเมื่อ เหมือนนกจากพรากรักษาญาติตนที่เป็นทุกข์ฉะนั้น ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นเสมือนกษัตริย์ ผู้กำจัดอมิตรได้แล้ว เรียกได้ว่า พระธรรมราชาของชาว โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดเหล่าเดียรถีย์บ้าง มารพร้อมทั้งเสนาบ้าง ความมืดมนอนธการบ้าง ได้แล้ว ได้ทรงเนรมิตนครธรรมขึ้น ทรงทำศีลให้เป็นกำแพง ทรงทำพระญาณของพระองค์ให้เป็นซุ้มประตู ไว้ที่พระนครนั้น ข้าแต่พระธีรเจ้า สัทธาของพระองค์เป็นเสาระเนียด การสังวรเป็นนายทวารบาล สติปัฏฐานเป็นป้อม ข้าแต่พระมุนี พระปัญญาของพระองค์เป็นสนาม และพระองค์ได้ทรงสร้างธรรมวิถี มีอิทธิบาทเป็นทางสี่แยก พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑ พระพุทธพจน์ทั้งสิ้นมีองค์ ๙ นี้เป็นธรรมสภาของพระองค์ สุญญตวิหารสมาบัติ ๑ อนิมิตตวิหารสมาบัติ ๑ อปณิหิตสมาบัติ ๑ อเนญชธรรม ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 295
นิโรธธรรม ๑ นี้เป็นกุฎีธรรมของพระองค์ ธรรมเสนาบดีของพระองค์ มีนามว่าสารีบุตร ผู้ถูกยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทางปัญญา และเป็นผู้ฉลาดในปฏิภาณ ข้าแต่พระมุนี ปุโรหิตของพระองค์ มีนามว่าโกลิตะ ผู้ฉลาดในจุตูปปาตญาณ ผู้ถึงบารมีด้วยฤทธิ์ ข้าแต่พระมุนี ผู้พิพากษาของพระองค์ มีนามว่ากัสสปะ เป็นผู้เลิศในธุดงค์คุณเป็นต้น เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวงศ์เก่าแก่ มีเดชสูงยากที่จะเข้าถึงได้ ข้าแต่พระมุนี ผู้รักษา (คลัง) พระธรรมของพระองค์ มีนามว่าอานนท์ เป็นพหูสูต ทรงจำพระธรรมไว้ได้ และรู้ปาฐะทุกอย่างในพระศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นมหาฤๅษี ทรงตั้งพระเถระเหล่านั้นไปทั้งหมด แล้วทรงมอบหมายการวินิจฉัย (อธิกรณ์) ที่ท่านผู้เป็นปราชญ์แสดงไว้แล้ว ในพระวินัยให้แก่ข้าพเจ้า พุทธสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ตาม ถามปัญหาในพระวินัย ข้าพเจ้าไม่มีความคิดในเรื่องนั้น ว่าจะบอกเรื่องอื่น นั่นแหละแก่เขาในพุทธเขต มีพุทธสาวกประมาณเท่า ใดในพุทธสาวกจำนวนเท่านั้น ไม่มีผู้เสมอกับข้าพเจ้าในทางพระวินัย เว้นไว้แต่พระมหามุนี และผู้ยิ่งกว่า จักมีแต่ที่ไหน พระสมณโคดมประทับนั่ง ณ (ท่าม กลาง) ภิกษุสงฆ์ทรงเปล่งพระสุรเสียงอย่างนี้ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 296
พระอุบาลีไม่มีผู้เสมอเหมือน ทั้งในพระวินัยและขันธกะทั้งหลาย นวังคสัตถุศาสน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ทั้งหมดนั้น หยั่งลงในพระวินัย พุทธสาวกมีประมาณ เท่าใด มีปกติเห็นพระวินัยว่า พระวินัยเป็นรากเหง้า (ของนวังคสัตถุศาสน์นั้น) พระสมณโคดมผู้ประเสริฐกว่าศากยราช ทรงระลึกถึงกรรมของข้าพเจ้าแล้ว ได้ ประทับนั่ง (ท่ามกลาง) ภิกษุสงฆ์ ทรงแต่งตั้งข้าพเจ้า ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ข้าพเจ้าได้ปรารถนาตำแหน่งนี้มาเป็นเวลาแสนกัป ข้าพเจ้าได้บรรลุประโยชน์นั้น แล้วถึงบารมีในพระวินัยแล้ว ข้าพเจ้าได้เป็นช่างกัลบกผู้สร้างความเพลิดเพลินให้ศากยราชมาก่อน ละทิ้งชาตินั้นแล้ว มาเกิดเป็นบุตรพระมหาฤาษี (พุทธชิโนรส) ในกัปที่ ๒ นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป ได้มีกษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน พระนามว่าอัญชสะ ผู้มีเดชไม่มีที่สิ้นสุด มีพระบริวารนับไม่ถ้วน มีทรัพย์มาก ข้าพเจ้าได้เป็นขัตติยราชสกุลของพระองค์ มีนามว่าจันทนะ เป็นผู้เย่อหยิ่ง เพราะความเมาในชาติ และความเมาในยศและโภคะ ช้างจำนวนแสน ประดับประดาด้วยคชาภรณ์พร้อมสรรพ ตระกูลมาตังคะ ตกมัน ๓ แห่ง ห้อมล้อมข้าพเจ้าทุกเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 297
ข้าพเจ้าประสงค์จะไปอุทยาน มีพลนิกายของตนออกหน้าไป จึงได้ขึ้นช้างต้น (ช้างมิ่งขวัญ) ออกจากพระนครไป ในครั้งนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า เทวละ ถึงพร้อมด้วยจรณะ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว สังวรดีแล้ว. ได้มาข้างหน้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้ไสข้างต้นเข้าไป ได้ล่วงเกินพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น ต่อจากนั้น ช้างต้นนั้น ก็เกิดเดือดดาลขึ้น ไม่ย่างเท้าไป ข้าพเจ้าเห็นช้างไม่พอใจ จึงได้โกรธพระพุทธเจ้า เบียดเบียนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปยังพระอุทยาน ข้าพเจ้าไม่พบความสำราญ ณ ที่นั้น เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ถูกความกระวนกระวายแผดเผา เหมือนปลาติดเบ็ด พื้นแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต เป็นเสมือนไฟลุกไปทั่วสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระบิดา จึงได้ทูลคำนี้ไว้ว่า หม่อมฉันล่วงเกินพระสยัมภูองค์ใด เหมือนยุอสรพิษให้เดือดดาล เหมือนโหมกองไฟ และเหมือนฝึกช้างตกมัน พระชินพุทธเจ้าองค์นั้น ผู้มีพระเดชสูงแรงกล้า ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินแล้ว ก่อนที่พวกเราทุกคนจะพินาศไป พวกเราจักพากันขอขมาพระมุนีนั้น ถ้าหากพวกเราจักไม่ยังพระมุนีนั้น ผู้ทรงฝึกองค์แล้ว มีหฤทัยตั้งมั่นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 298
ให้ทราบไซร้ รัฐของเราจักแหลกลาญ ไม่เกินวันที่ ๗ พระราชาทั้งหลาย คือ สุเมขละ ๑ โกสิยะ ๑ สิคควะ ๑ สัตตกะ ๑ พร้อมด้วยเสนา ตกทุกข์ได้ยาก เพราะล่วงเกินฤาษีทั้งหลาย เมื่อใดฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์โกรธ เมื่อนั้นฤาษีเหล่านั้น จะบันดาลให้ (โลกนี้) พร้อมทั้งเทวโลกทั้งสาครและบรรพต ให้พินาศไปได้ ข้าพเจ้าจึงประชุมราชบุรุษทั้งหลายในที่ประมาณสามพันโยชน์ เข้าไปหาพระสยัมภู เพื่อต้องการแสดงโทษผิด ทุกคนมีผ้าเปียก และศีรษะเปียกน้ำเหมือนกันหมด กระทำอัญชลีหมอบแทบบาทพุทธเจ้า แล้วได้กล่าวคำวิงวอนนี้ว่า ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านโปรดประทานอภัยโทษแก่ชนที่ร้องขอ ขอพระมหาวีระบรรเทาความเร่าร้อน และอย่าให้รัฐของพวกข้าพเจ้าพินาศเลย มวลสัตว์พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ พร้อมทั้งอสูร พร้อมด้วย รากษส พึงพากันเอาค้อนเหล็กมาตีศีรษะของข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ ความโกรธจะไม่เกิดขึ้นในพระพุทธเจ้า เหมือนไฟสถิตอยู่ในน้ำไม่ได้ เหมือนพืชไม่งอกบนหิน เหมือนกิมิชาติ ดำรงชีวิตอยู่ในยา ขนานวิเศษไม่ได้ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 299
กระเทือนหฤทัย เหมือนแผ่นดินไม่กระเทือน สาครที่นับจำนวนน้ำไม่ได้ก็ไม่กระเพื่อม และอากาศที่ไม่มีที่สุด ก็ไม่ปั่นป่วน. พระมหาวีระทั้งหลาย ผู้ฝึกฝนดีแล้ว อดกลั้นได้แล้ว และมีตบะ เจ้าประคุณทั้งหลาย ผู้อดทนและอดกลั้นได้แล้ว จะไม่มีการไป. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวคำนี้แล้ว เมื่อจะบรรเทาความเร่าร้อน จึงเหาะ ขึ้นฟ้า ต่อหน้ามหาชนในครั้งนั้น. ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึงความเป็นคนชั้นต่ำ ล่วงเลยกำเนิดนั้นมาแล้ว จึงเข้าไปยังอภยบุรี ข้าแต่พระมหาวีระ แม้ในครั้งนั้น พระองค์ทรงแก้ไขความเร่าร้อน ที่แผดเผาข้าพระองค์ คือ สถิตมั่นอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ได้ให้พระสยัมภู อดโทษแล้ว ข้าแต่พระมหาวีระ แม้วันนี้ พระองค์ก็ทรงดับไฟ ๓ กอง ให้ข้าพระองค์ผู้กำลังถูกไฟ ๓ กองเผาลนอยู่ และข้าพระองค์ก็ถึงความเยือกเย็น ท่านเหล่าใด มีการเงี่ยโสตลงฟัง ข้าพเจ้าจะบอกเนื้อความ คือ บท (พระนิพพาน) ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว แก่ท่านเหล่านั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของข้าพเจ้าผู้กล่าวอยู่ด้วยกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ดูหมิ่นพระสยัมภู ผู้มีหฤทัยสงบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 300
ผู้มีหฤทัยมั่นคงแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจึงได้เกิดในกำเนิดที่ต่ำทราม ท่านทั้งหลายอย่าพร่าขณะเวลาเลย เพราะผู้ปล่อยขณะเวลาให้ล่วงเลยไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกเสียใจ ท่านทั้งหลายควรพยายามในประโยชน์ของตน ท่านทั้งหลายจึงจะให้ขณะเวลาประสบผล ไม่ล่วงไปเปล่า ก็ยาเหล่านี้ คือ ยาสำรอก เป็นพิษร้ายกาจสำหรับคนบางพวก แต่เป็นโอสถสำหรับคนบางเหล่า ส่วนยาถ่าย เป็นพิษร้ายกาจสำหรับคนบางพวก แต่เป็นโอสถสำหรับคนบางเหล่า (ฉันใด) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้น เป็นเสมือนยาสำรอก สำหรับผู้ปฏิบัติ (ผู้เจริญมรรค) เป็นเสมือนยาถ่ายสำหรับผู้ตั้งอยู่ในผล เป็นเสมือนโอสถสำหรับผู้ได้ผลแล้ว และเป็นบุญเขตสำหรับผู้แสวงหา (โมกขธรรม) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเสมือนยาพิษที่ร้ายกาจ สำหรับผู้ประพฤติผิดจากคำสั่งสอน เผาคนๆ นั้นเหมือนอสรพิษ ต้องยาพิษ ยาพิษชนิดแรงที่คนดื่มแล้วจะผลาญชีวิต (เขาเพียง) ครั้งเดียว ส่วนคนผิดพลาดจากคำสั่งสอน (พุทธศาสนา) แล้ว จะหมกไหม้ (ในนรก) นับโกฏิกัปป์ เขาย่อมข้ามโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกได้ ด้วยขันติธรรม อวิหิงสาธรรม และด้วยความเป็นผู้มีเมตตาจิต เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงทรงเป็นผู้ไม่มีความขึ้งเคียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 301
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเสมือนปฐพี ไม่ทรงข้องอยู่ในลาภและความเสื่อมลาภ ทั้งในการนับถือและการดูหมิ่น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงทรงเป็นผู้ไม่มีความขึ้งเคียด พระมหามุนีทรงมีพระทัยเท่าๆ กัน สำหรับสรรพสัตว์ ทั้งในพระเทวทัต นายขมังธนู องค์คุลิมาลโจร พระราหุลและช้างธนบาล พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ไม่ทรงมีความแค้นเคือง ไม่ทรงมีความรัก สำหรับสัตว์ทั้งหมด คือ ทั้งเพชรฆาตและพระโอรส พระพุทธเจ้าทรงมีพระทัยเท่าๆ กัน คนเห็นอันตรายแล้วพึงประนมมือเหนือศีรษะไหว้ผ้ากาสาวพัสตร์ ที่เปื้อนอุจจาระอันเจ้าของทิ้งแล้ว ซึ่งเป็นธงของฤาษี พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีตแสนนาน ในปัจจุบัน และในอนาคต ทรงบริสุทธิ์เพราะธงนี้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านี้นั้น จึงเป็นผู้ควรนมัสการ ข้าพเจ้าย่อมจำทรงพระวินัยที่ดี ที่เป็นกำหนดหมายของพระศาสดาไว้ด้วยใจ ข้าพเจ้าจักน้อมนมัสการพระวินัย พักผ่อนอยู่ทุกเมื่อ พระวินัยเป็นอัธยาศัยของข้าพเจ้า พระวินัยเป็นที่ยืน และที่จงกรมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสำเร็จการอยู่ในพระวินัย พระวินัยเป็นอารมณ์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าบรรลุถึงบารมีในพระวินัย ทั้งเป็นผู้ฉลาดในสมถะ ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยเหตุนั้น พระอุบาลีจึงไหว้แทบพระยุคลบาทของพระศาสดา ข้าพระองค์นั้นจักออกจากบ้าน (นี้) ไปบ้าน (โน้น)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 302
จากเมือง (นี้) ไปเมือง (โน้น) เที่ยวหานมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี. กิเลสทั้งหลาย ข้าพระองค์เผาแล้ว ภพทั้งหมดข้าพระองค์ถอนแล้ว อาสวะทั้งหลายสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี การมาของข้าพระองค์ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นการมาดีจริงๆ วิชชา ๓ ข้าพระองค์ได้ บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ ได้ปฏิบัติแล้ว ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เหล่านี้ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าข้าพระองค์ได้ปฏิบัติแล้ว ดังนี้.
ก็ ณ ที่นั้น พระศาสดาทรงให้ท่านเรียนพระวินัยปิฎกทั้งหมดด้วยพระองค์เอง ต่อมาภายหลัง ท่านได้วินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่องเหล่านี้คือ เรื่องภารุกัจฉุกะ ๑ เรื่องอัชชุกะ ๑ เรื่องพระกุมารกัสสปะ ๑ เมื่อวินิจฉัยเสร็จแต่ละเรื่อง พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการ ทรงทำการวินิจฉัยทั้ง ๓ เรื่อง ให้เป็นอุบัติเหตุแล้ว ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าพระวินัยธรทั้งหลาย อยู่มาภายหลัง ในวันอุโบสถวันหนึ่ง เวลาแสดงปาติโมกข์ ท่านเมื่อโอวาทภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถาว่า
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษา ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน. ภิกษุออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธายังใหม่ ต่อการศึกษาควรพำนักอยู่ในหมู่สงฆ์ผู้ฉลาด ศึกษาพระวินัย (ให้เข้าใจ)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 303
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษาต้องเป็นผู้ฉลาด ในสิ่งที่ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้าออกตา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า เพราะศรัทธา อธิบายว่า ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงชีพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สทฺธาย ได้แก่ เชื่อผลกรรมและคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า อภินิกฺขมฺม ความว่า ออกจากการครองเรือน.
บทว่า นวปพฺพชิโต ได้แก่ เป็นผู้บวชใหม่ คือบวชในปฐมวัย นั่นเอง.
บทว่า นโว ได้แก่ ยังใหม่ คือยังรุ่นหนุ่ม ต่อการศึกษาศาสนา.
บทว่า มิตฺเต ภเวยฺย กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต (ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน) ความว่า ควรคบคือ เข้าไปหากัลยาณมิตร ผู้มีลักษณะดังที่ตรัสไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นที่รัก น่าเคารพนับถือ ชื่อว่ามีอาชีพบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากมิจฉาชีพ และชื่อว่าผู้ ไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว ได้แก่ ควรคบหาสมาคม โดยการรับเอาโอวาทานุสาสนีของท่าน.
บทว่า สงฺฆสฺมึ วิหรํ ได้แก่ พักอยู่ในหมู่ คือในชุมนุมสงฆ์ โดยการบำเพ็ญวัตรและปฏิวัตร (วัตรต่างๆ).
บทว่า สิกฺขถ วินยํ พุโธ ความว่า ต้องเป็นผู้ฉลาดในความรู้ และความเข้าใจ ศึกษาปริยัติคือพระวินัย ด้วยว่า พระวินัยเป็นอายุ (ชีวิต) ของพระศาสนา เมื่อพระวินัยยังคงอยู่ พระศาสนาก็เป็นอันยังดำรงอยู่. แต่ บางอาจารย์กล่าวว่า พุโธ ความหมายอย่างนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 304
บทว่า กปฺปากปฺเปสุ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่ควรและไม่ควร คือเป็นผู้ฉลาดละเมียดละไม (ในสิ่งเหล่านั้น) ด้วยอำนาจพระสูตร และ ด้วยอำนาจอนุโลมตามพระสูตร.
บทว่า อปุรกฺขโต ได้แก่ ไม่ควรเป็นผู้ออกหน้าออกตา คือไม่ มุ่งหวังการเป็นหัวหน้าจากที่ไหน ด้วยตัณหาเป็นต้นอยู่.
จบอรรถกถาอุบาลีเถรคาถา