พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๖. วิมลเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40590
อ่าน  457

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 321

เถรคาถา ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๑๖. วิมลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 321

๑๖. วิมลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ

[๓๒๒] ได้ยินว่า พระวิมลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ปรารถนาความสุขอันถาวร ควรเว้นบาปมิตร คบหาแต่บุคคลผู้สูงสุด และควรตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน. คนเกาะไม้เล็กๆ ต้องจมอยู่ในห้วงมหรรณพ ฉันใด คนแม้ดำรงชีพอย่างดี แต่อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ใน (ในวัฏสงสาร) ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานเป็นปกติ ปรารภความเพียรเป็นนิจ.

จบวรรคที่ ๑

จบติกนิบาต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 322

อรรถกถาวิมลเถรคาถา

คาถาของท่านพระวิมลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปาปมิตฺเต. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้ท่านพระวิมลเถระ นี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อสั่งสมบุญที่เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ ในภพนั้นๆ มาในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิด ในคฤหาสน์ของผู้มีตระกูล รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว วัน เล่นสนุกสนานผ่านไปแล้ว เมื่ออุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย รับเอาพระพุทธสรีระไปสู่ที่ถวายพระเพลิง รำลึกถึงพระคุณของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส ได้ทำการบูชา ด้วยดอกมะลิ.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า วิมละ เจริญวัยแล้ว อาศัยท่านโสมมิตเถระ บวชในพระศาสนา ถูกท่านพระโสมมิตเถระนั่นเองกระตุ้นเตือน เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่ช้านักก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อกลองดังกระหึ่มขึ้น ในเมื่อชนทั้งหลาย นำพระพุทธสรีระออกไป ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ดีใจ ได้บูชาด้วยดอกไม้โลทแดง ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าบูชาด้วยดอกไม้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 323

นี้เป็นผลของการบูชาพระพุทธสรีระ. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุผู้ เป็นสหายของตน ได้ภาษิตคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

บุคคลปรารถนาความสุขอันถาวร ควรเว้นบาปมิตร คบหาแต่บุคคลผู้สูงสุด และควรตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน. คนเกาะไม้เล็กๆ ต้องจมลงในห้วงมหรรณพ ฉันใด คนแม้ดำรงชีพอย่างดี แต่อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ (ในวัฏสงสาร) ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานเป็นปกติ ปรารภความ เพียรเป็นนิจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปมิตฺเต ได้แก่ ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร คือ ผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ มีความเพียรเสื่อมแล้ว.

บทว่า วิวชฺเชตฺวา ความว่า เว้นบาปมิตรนั้นแต่ไกล โดยการไม่คบหา.

บทว่า ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคลํ ความว่า ควรส้องเสพกัลยาณมิตร ที่เป็นสัตบุรุษเป็นบัณฑิต ด้วยการรับเอาโอวาทานุสาสนี.

บทว่า โอวาเท จสฺส ติฏฺเยฺย ความว่า ควรตั้งอยู่ในโอวาทของกัลยาณมิตรนั้น โดยการปฏิบัติตามที่สอน คือตามที่อนุศาสน์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 324

บทว่า ปฏฺเนฺ โต ได้แก่ จำนงอยู่.

บทว่า อจลํ สุขํ ได้แก่ ทั้งนิพพานสุข ทั้งผลสุข. ด้วยว่า ความสุขนั้นท่านเรียก อจละ เพราะเป็นความสุขไม่กำเริบ. คำที่เหลือ มีเนื้อความดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาวิมลเถรคาถา

จบภาค ๑

ในติกนิบาตนี้ รวมพระเถระได้ ๑๖ รูป คือ

๑. พระอังคณิกภารทวาชเถระ

๒. พระปัจจยเถระ

๓. พระพากุลเถระ

๔. พระธนิยเถระ

๕. พระมาตังคบุตรเถระ

๖. พระขุชชโสภิตเถระ

๗. พระวารณเถระ

๘. พระปัสสิกเถระ

๙. พระยโสชเถระ

๑๐. พระสาฏิมัตติกเถระ

๑๑. พระอุบาลีเถระ

๑๒. พระอุตตรปาลเถระ

๑๓. พระอภิภูตเถระ

๑๔. พระโคตมเถระ

๑๕. พระหาริตเถระ

๑๖. พระวิมลเถระ

เป็นคาถาที่ท่านรจนาไว้รวม ๔๘ คาถา ฉะนี้แล และอรรถกถา.