พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ภคุเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40593
อ่าน  372

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 7

เถรคาถา จตุกกนิบาต

๒. ภคุเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 7

๒. ภคุเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ

[๓๒๔] ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออกไปจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้ บันไดจงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่ที่จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายในเดินจงกรมอยู่ แต่นั้นการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ได้บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนวโทษปรากฏแก่ข้าพระองค์ ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของข้าพระองค์ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จงทอดพระเนตร ดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้าพระองค์ได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบภคุเถรคาถา

อรรถกถาภคุเถรคาถาที่ ๒

คาถาแห่งท่านพระภคุเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ มิทฺเธน ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตระ ท่านพระภคุเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว บูชาพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทพชั้นนิมมานรดี ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในเทวโลก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 8

และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่าภคุ เจริญวัยแล้ว ออกบวชพร้อมท่านพระอนุรุทธะ และพระกิมิละ๑ อยู่ในพาลกโลณกคาม วันหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความที่ถูก ถีนมิทธะครอบงำ จึงออกจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรมล้มลง ทำการล้มนั้น นั่นแหละให้เป็นขอสับ บรรเทาถีนมิทธะ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๒ว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มียศใหญ่ปรินิพพานแล้ว เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม้ ไปบูชาพระสรีระ เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้นแล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยังเทวโลก ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้าเพื่อเราตลอดกาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระราชาผู้มียศใหญ่ ในอัตภาพนั้นฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อเราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ฝนดอกไม้ก็ตกลงมาเพื่อเราทุกเวลา ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราเอาดอกไม้ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้น ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ปล่อยให้กาลล่วงไปด้วยสุขอันเกิดแต่ผลจิต และสุขอันเกิดแต่พระนิพพาน อันพระศาสดาผู้เสด็จเข้าไปใกล้


๑. ม. ม. ๑๓/ข้อ ๑๙๕. กิมพิละ. ๒. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๘.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 9

เพื่อทรงชื่นชมถึงการอยู่โดดเดี่ยวแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ เธอเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่บ้างหรือ เมื่อจะประกาศการอยู่ด้วยความไม่ประมาทของตน จึงได้ภาษิต ๔ คาถาเหล่านี้ว่า

ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออกไปจากวิหารขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้บันไดจงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่ที่จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายใน เดินจงกรมอยู่ แต่นั้นการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ได้บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนรโทษปรากฏแก่ข้าพระองค์ ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของข้าพระองค์ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จงทอดพระเนตรดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้าพระองค์ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนา เสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺเธน ปกโต ความว่า ผู้ถูกมิทธะ อันกำจัดความไม่สามารถเป็นสภาวะ กล่าวคือความเกียจคร้านแห่งกาย ครอบงำ.

บทว่า วิหารา ได้แก่ จากเสนาสนะ.

บทว่า อุปนิกฺขมึ ได้แก่ออกไปเพื่อเดินจงกรม.

บทว่า ตตฺเถว ปปตึ ฉมา ความว่า ล้มลงที่ภาคพื้น เพราะถูกความหลับครอบงำที่บันไดจงกรมนั้นนั่นแล,

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 10

บทว่า คตฺตานิ ปริมชฺชิตฺวา ความว่า ตามนวดอวัยวะแห่งร่างกายตน โดยล้มลงที่ภาคพื้นเกลือกฝุ่นอยู่.

บทว่า ปุนปารุยฺห จงฺกมนํ ความว่า ไม่ถึงทำหน้าสะยิ้วว่า บัดนี้ เราล้มแล้ว ขึ้นสู่ที่จงกรมแม้อีก.

บทว่า อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ประกอบความว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยดี คือเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งจงกรม ด้วยการข่มนิวรณ์ในกัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ก็นี้แลเป็นการพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาภคุเถรคาถาที่ ๒