พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เสนกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40597
อ่าน  371

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 30

เถรคาถา จตุกกนิบาต

๖. เสนกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 30

๖. เสนกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ

[๓๒๘] การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาส (๑) นี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มีพระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะมาร ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรืองใหญ่ ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้งปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงปลดเปลื้องเรา ผู้มีนามว่าเสนกะ ผู้เศร้าหมองมาแล้วนาน มีสันดานประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง.

จบเสนกเถรคาถา

อรรถกถาเสนกเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระเสนกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สฺวาคตํ วต ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี


๑. ผัคคุณมาส เดือน ๔ มีนาคม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 31

บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกำหางนกยูง.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บังเกิดในท้องของน้องสาวของพระอุรุเวลกัสสปเถระ ท่านได้นามว่าเสนกะ ท่านเจริญวัยแล้วถึงความสำเร็จในศิลปวิชาของพวกพราหมณ์ อยู่ครองฆราวาส.

ก็สมัยนั้น มหาชนพากันเล่นมหรสพในอุตตรผัคคุณีนักขัตฤกษ์ปลาย เดือน ๔ ทุกๆ ปี กระทำพิธีสรงน้ำที่ท่าใกล้แม่น้ำคยา, ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายพากันเรียกมหรสพนั้นว่า คยาผัคคุณี ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ใกล้ท่าแห่งแม่น้ำคยา เพื่ออนุเคราะห์แก่เวไนยสัตว์ ในวันมหรสพเช่นนั้น, ฝ่ายมหาชนจากที่นั้นๆ เข้าไปยังที่นั้นๆ ด้วยความประสงค์จะสรงสนานที่ท่าน้ำ. ในขณะนั้น แม้ท่านเสนกะเข้าไปยังที่นั้นเพื่อสรงสนานที่ท่าน้ำ เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม ฟังธรรมแล้วกลับได้ศรัทธาบวช เมื่อกระทำกรรมเพื่อวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ใน อปทาน (๑) ว่า

เราถือกำหางนกยูงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายกำหางนกยูง ด้วยกำหางนกยูงนี้และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ไฟ ๓ กองของเราจึงดับสนิทแล้ว เราได้สุขอันไพบูลย์ โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ สัมปทาแห่งพระศาสดาของเรา เราถวายกำหางนกยูงแล้ว เราได้ความสุขอันไพบูลย์ ไฟ ๓ กองของเราดับสนิทแล้ว


๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๒.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 32

เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะทั้งปวงหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกำหางนกยูง เราเผากิเลสทั้งหมด แล้ว... ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้พิจารณาการปฏิบัติของตน เกิดโสมนัส ได้กล่าว ๘ คาถา ด้วยอำนาจอุทาน (๑) ว่า

การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มีพระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะมาร ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรืองใหญ่ ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้งปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงปลดเปลื้องเรา ผู้มีนามว่าเสนกะ ผู้เศร้าหมองมานานแล้ว มีสันดานประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคตํ วต เม อาสิ ความว่า การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ หรือการมาของเราเป็นการดีหนอ.


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๒๘.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 33

บทว่า คยายํ ได้แก่ ที่ใกล้แห่งท่าคยา,

บทว่า คยผคฺคุยา ความว่า ในอุตตรผัคคุณีนักขัตฤกษ์ปลายเดือน ๔ อันได้โวหารว่า คยาผัคคุ.

บทว่า ยํ เป็นต้น เป็นบทแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้มาดี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ํ แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะเหตุใด.

บทว่า อทสฺสาสึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

บทว่า สมฺพุทฺธํ ความว่า ซึ่งว่า สัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง.

บทว่า ทสฺเสนฺตํ ธมฺมมุตฺตมํ ความว่า ผู้ตรัสรู้ธรรมสูงสุด คือเลิศ ประเสริฐกว่าธรรมทั้งปวง ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์โดยแท้จริง ควรแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์.

บทว่า มหปฺปภํ ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมีแห่งสรีระ. และด้วยรัศมีแห่งญาณอันใหญ่.

บทว่า คณาจริยํ ความว่า ชื่อว่า คณาจริยะ เพราะให้คณะมีภิกษุบริษัทเป็นต้น ศึกษาอาจาระโดยการฝึกอย่างสูงสุด. ซึ่งว่า ถึงความเลิศ เพราะบรรลุคุณมีศีลเป็นต้นอันเป็นคุณสูงสุด. ซึ่งว่า เป็นผู้นำอันวิเศษ เพราะฝึกเทวดาและมนุษย์เป็นต้นด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม และเพราะพระองค์เว้นจากผู้แนะนำ. เป็นผู้อันใครๆ ไม่ครอบงำ เพราะพระองค์ครอบงำสัตว์โลกทั้งสิ้นดำรงอยู่ และชื่อว่า เป็นชินะแห่งโลกพร้อมด้วย เทวโลก คือเป็นชินะผู้เลิศในโลกพร้อมด้วยเทวโลก เพราะพระองค์ ทรงชำนะมารทั้ง ๕, ชื่อว่า ผู้ทรงมีการเห็นหาผู้เปรียบปานมิได้ เพราะมีพระรูปกายอันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ และ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 34

อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นต้น และเพราะมีพระธรรมกายอันประดับด้วยคุณ มีทศพลญาณ และจตุเวสารัชญาณเป็นต้น และมีทัสสนะอันชาวโลกทั้งสิ้น จะพึงประมาณมิได้ และเพราะมีทัสสนะหาผู้เสมอเหมือนมิได้.

ชื่อว่า มหานาคะ เพราะเป็นผู้เสมือนกุญชรเชือกประเสริฐใหญ่ เหตุเพียบพร้อมด้วยคติ กำลังและความบากบั่น และเพราะมีอานุภาพมาก แม้ในบรรดาท่านผู้ประเสริฐคือพระขีณาสพ. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะย่ำยี มารและเสนามารเสียได้ และเพราะมีความกล้าหาญอย่างใหญ่หลวง.

บทว่า มหาชุตึ ความว่า ผู้มีเดชเกิดจากมีคลังทรัพย์จับจ่ายมาก คือผู้มีเดชมาก. ชื่อว่า อนาสวะ ไม่มีอาสวะ เพราะท่านไม่มีอาสวะทั้ง ๔. ชื่อว่า สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะอาสวะทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาของท่าน หมดสิ้นแล้ว. เพราะจะแสดงว่า สาวกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธะ เป็นผู้ชื่อว่าสิ้นอาสวะโดยแท้ ถึงอย่างนั้น เฉพาะพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมชื่อว่าย่อมทำอาสวะพร้อมด้วยวาสนาให้สิ้นไป ท่านจึงกล่าวว่า อนาสวํ แล้วกล่าวอีกว่า สพฺพาสวปริกฺขีณํ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่าผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะท่านสิ้นอาสวะทั้งปวงพร้อมทั้งวาสนาสิ้น แล้ว. มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนเวไนยสัตว์ตามสมควร ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน และด้วยประโยชน์ในสมัยปรายภพ ชื่อว่าผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ เพราะไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหนๆ เหตุเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ เพราะเหตุได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ชื่อว่ามาดีแล้ว.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงคุณที่ตนได้แล้ว เพราะได้เห็นพระศาสดา จึง ได้กล่าวคาถาที่ ๔

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 35

คำอันเป็นคาถามีอธิบายดังนี้ว่า ท่านเสนกะประกาศความเลื่อมใสยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา เมื่อจะปลดเปลื้องเรา ผู้เศร้าหมองมาตลอดกาลนาน ในสงสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดตามรู้ไม่ได้ด้วยวัตถุ คือ สังกิเลส เครื่องเศร้าหมอง เหมือนน้ำเต้า เต็มด้วยน้ำข้าวฉะนั้น เหมือนตุ่มเต็มด้วยเปรียง และเหมือนท่อนผ้าเก่าอันน้ำมันเหลวดื่มแล้วฉะนั้น ผู้ถูกเครื่องผูกคือทิฏฐิผูกไว้ที่เสาคือสักกายทิฏฐิ เหมือนสุนัขถูกผูกไว้ที่เสาไม้มะสังฉะนั้น ให้พ้นจากเครื่องผูกนั้น จึงปลดเปลื้องเราผู้ชื่อว่าเสนกะ จากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีอภิชฌาเป็นต้น ด้วยมือคืออริยมรรค.

จบอรรถกถาเสนกเถรคาถาที่ ๖