ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง [สติปัฏฐานสูตร]

 
webdh
วันที่  21 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4060
อ่าน  2,625

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

๑๐. สติปัฏฐานสูตร

[๑๓๑ ] ขาพเจาไดสดับมาอยางนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผูมีพระภาคเจา ประทับอยูในแควนกุรุทั้งหลาย (ทรงอาศัย) นิคมหนึ่งของชาวกุรุ ชื่อวา กัมมาสธัมมะ. ณ ที่นั้น พระผูมีพระภาคเจาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายวา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหลานั้นทูลรับพระผูมีพระภาคเจาแลว.

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเปนไฉน

ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได ๑


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

[๒๗๓] ขาพเจา ไดสดับมาแลวอยางนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผูมีพระภาคเจา เสด็จประทับอยูในหมูชนชาวกุรุ นิคม ของหมูชนชาวกุรุ ชื่อกัมมาสทัมมะ ในกาลนั้นแล พระผูมีพระภาคเจา ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายวา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหลานั้น ทูล รับพระพุทธพจนของพระผูมีพระภาคเจาวา พระเจาขา ดังนี้. พระผูมีพระภาคเจาจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้วา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง. สติปัฏฐาน ๔ อย่างเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ.

จบกถาว่าด้วยอุทเทสวาร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ข้อความบางตอนจาก มหาสติปัฏฐานสูตร

ในพระสูตรนั้น ข้อว่า เป็นทางเดียว คือ เป็นทางเอก. แท้จริง ทางมีมากชื่อ คือ มัคคะ ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ อยนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ ทางนี้นั้น ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยชื่อว่า อยนะ เพราะฉะนั้น ในข้อที่ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวนี้ จึงควรเห็นความอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเอกมิใช่ทางสองแพร่ง.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 22 มิ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ