พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. วัฑฒเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวัฑฒเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40608
อ่าน  346

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 92

เถรคาถา ปัญจกนิบาต

๕. วัฑฒเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัฑฒเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 92

๕. วัฑฒเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัฑฒเถระ

[๓๓๙] โยมมารดาของเราดีแท้ เพราะได้แนะนำเราให้รู้สึกตัวเหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วยปฏักฉะนั้น เราได้ฟังคำของโยมมารดาที่พร่ำสอนแล้ว ได้ปรารภความเพียร มีจิตตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอย่างสูงสุด เราเป็นพระอรหันต์ควรแก่ทักษิณา มีวิชชา ๓ ได้เห็นอมตธรรม ชนะเสนาแห่งมารไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด ได้มีแล้วทั้งภายในทั้งภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดขาดแล้ว และไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป โยมมารดาของเราเป็นผู้แกล้วกล้า ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา แม้เมื่อเราผู้เป็นบุตรของท่านไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้ ในป่าของท่านคงจะไม่มีเป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว อัตภาพนี้มีในที่สุด สงสาร คือความเกิดตายสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบวัฑฒเถรคาถา

อรรถกถาวัฑฒเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระวัฑฒเถระมีคำเริ่มต้นว่า สาธู หิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 93

สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาท กาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งคฤหบดี ในภารุกัจฉนคร ได้นามว่าวัฑฒะ เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดาของท่าน เกิดความสังเวชในสงสาร ได้มอบบุตรให้แก่พวกญาติ บวชในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย บำเพ็ญ วิปัสสนากรรม บรรลุพระอรหัต สมัยต่อมาให้บุตรผู้ถึงความเป็นผู้รู้ เดียงสาแล้วบรรพชาในสำนักพระเวฬุทันตเถระ. ท่านบวชแล้วเรียนพุทธพจน์เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก นำคันถธุระ วันหนึ่งคิดว่าเราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในภายใน จักไปเยี่ยมมารดา ดังนี้แล้วจึงได้ไปยังสำนักนางภิกษุณี มารดาเห็นท่านแล้วท้วงว่า เพราะเหตุไร ท่านเป็นผู้ยิ่งโนภายในจึงมาในที่นี้แต่ผู้เดียว. ท่านเมื่อถูกมารดาทักท้วงเกิดความสังเวชว่า เราทำกรรมอันไม่ควร ไปยังวิหารนั่งในที่พักในกลางวัน เห็นแจ้งบรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผลแก่มารดา โดยยกการประกาศการถึงพร้อม ด้วยโอวาทเป็นประธาน จึงได้กล่าวคาถา๑ว่า

โยมมารดาของเราดีแท้ ได้แนะนำเราให้รู้สึกตัว เหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วยปฏักฉะนั้น เราได้ฟังคำของโยมมารดาที่พร่ำสอนแล้ว ได้ปรารภความเพียรมีจิต ตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุด เราเป็นพระอรหันต์ ควรแก่ทักษิณา มีวิชขา ๓ ได้เห็นอมตธรรม ชนะเสนาแห่งมารไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด ได้มีแล้วทั้งภายในทั้งภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดขาดแล้ว และไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป โยมมารดาของเราเป็นผู้แกล้วกล้า


๑. ขุ. ถร. ๒๖/ ข้อ ๓๓๕.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 94

ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา แม้เมื่อเราผู้เป็นบุตรของท่านไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้ในป่าของท่านคงไม่มีเป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว อัตภาพนี้มีในที่สุด สงสารคือความเกิดตายสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธู หิ กโร เม มาตา ปโตทํ อุปทํสยิ ความว่า ดีหนอ โยมมารดา แสดงปฏักกล่าวคือโอวาทแก่เรา เพราะฉะนั้น จึงให้เรามีความวิริยะกล้าหาญเจาะบนกระหม่อม คือ ปัญญา อันสูงสุด

บทว่า ยสฺสา ได้แก่ มารดาของเราใด.

บทว่า สมฺโพธึ ได้แก่ พระอรหัต, ก็ในข้อนี้มีโยชนาดังนี้ว่า เราอันมารดาผู้ที่ให้กำเนิดสั่งสอน ฟังคำที่ท่านพร่ำสอนแล้ว ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูง คือผลอันเลิศได้แก่ พระอรหัต; เราชื่อว่า อรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสนั้นนั่นเอง เป็นทักขิไณยบุคคล คือเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เพราะเป็นบุญเขต.

ชื่อว่า มีวิชชา ๓ เพราะมีวิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ชื่อว่า ผู้เห็นอมตะเพราะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ย่อมชำนะเสนาของมาร ชื่อว่า นมุจิ คือพาหนะของกิเลส ด้วยเสนาคือโพธิปักขิยธรรม จึงเป็นผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะชำนะเสนาแห่งมารนั้นนั่นแลอยู่เป็นสุข.

บัดนี้ เมื่อจะกระทำเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้ว่า อนาสโว ให้ปรากฏ ชัด จึงกล่าวคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ดังนี้ เป็นต้น.

คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า กิเลสเหล่าใดมีวัตถุภายในเป็นที่ตั้ง และมีวัตถุภายนอกเป็นที่ตั้งมีอยู่ก่อน คือเกิดก่อนแต่การบรรลุอริยมรรคแห่งเรา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 95

อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดแล้ว ตัดขาดแล้ว คือละได้แล้วโดยเด็ดขาด บัดนี้ แม้ในกาลบางคราวก็ไม่เกิดอีก คือจักไม่เกิดเลย. บัดนี้ เมื่อจะทำคำมารดาให้เป็นดุจขอสับ จึงชมเชยมารดา เพราะเหตุที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงกล่าวคาถาว่า วิสารทา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา โข แปลว่า ปราศจากความขลาดโดยส่วนเดียว. เมื่อจะยกภาวะที่ตนเป็นบุตรคือโอรสของพระศาสดา เพราะมารดาและตนบรรลุพระอรหัต ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวกะมารดา ว่า ภคนี ดังนี้.

บทว่า เอตมตฺถํ อภาสยิ ความว่า ได้กล่าวอรรถอันเป็นโอวาทแก่เรานี้. ก็มารดาเมื่อให้โอวาทเราอย่างนี้ ไม่จัดว่าเป็นผู้แกล้วกล้าอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ท่านก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาทั้งในบุตรของท่าน คือ เห็นจะไม่สนิทสนม ทั้งในบุตรของท่าน, หรือจะประโยชน์อะไร ด้วยการกำหนดนี้ หมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่าไม่มีแก่ท่าน คือหมู่ไม้คือกิเลสมีอวิชชา เป็นต้นไม่มีในสันดานของท่านเลย ซึ่งท่านแนะนำให้เราประกอบในความสิ้นภพ.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงว่า เราดำเนินตามโดยอาการที่ท่านแนะนำให้ นั่นเอง จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ปริยนฺตกตํ ทุกข์เราทำให้สิ้นแล้วดังนี้. ความของคำอันเป็นคาถานั้น รู้ได้ง่ายแล.

จบวัฑฒเถรคาถาที่ ๕