พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. วิชิตเสนเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวิชิตเสนเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40612
อ่าน  403

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 118

เถรคาถา ปัญจกนิบาต

๙. วิชิตเสนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิชิตเสนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 118

๙. วิชิตเสนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิชิตเสนเถระ

[๓๔๓] เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้าง ไว้ที่ประตูนครฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ย่อมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรากักไว้แล้ว จักไปตามชอบใจไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตูฉะนั้น ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้ เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ในอำนาจด้วยขอ ฉันใด เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น นายสารถีผู้ฉลาด ในการฝึกม้าให้ดี เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด เราฝึกเจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ ฉันนั้น จักผูกเจ้าด้วยสติ จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ละนะจิต

จบวิชิตเสนเถรคาถา

อรรถกถาวิชิตเสนเถรคาถาที่ ๙

คาถาของท่านพระวิชิตเสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โอลคฺเคสฺสามิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 119

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ละการครองเรือน บวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีจิตเลื่อมใสแสดงอาการน่าเลื่อมใส ประคองอัญชลีได้ยืนอยู่แล้ว. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท่าน จึงเสด็จลงจากอากาศ. ท่านน้อมถวายผลไม้อันหวานน่ารื่นรมย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยความอนุเคราะห์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลนายหัตถาจารย์ ในโกศลรัฐ ได้นามว่า วิชิตเสนะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา, นายหัตถาจารย์ ๒ คน ชื่อว่าเสนะ และอุปเสนะ ผู้เป็นลุงของท่าน ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธา แล้วบรรพชา บำเพ็ญวิปัสสนาธุระ บรรลุพระอรหัตแล้ว.

แม้ท่านวิชิตเสนะ ถึงความสำเร็จในศิลปะช้าง ไม่มีจิตข้องอยู่ใน การครองเรือน เพราะความที่คนมีอัธยาศัยในการสลัดออก เห็นปาฏิหาริย์ ของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชในสำนักของพระเถระผู้เป็นลุง กระทำกรรมด้วยวิปัสสนา อันเป็นโอวาทานุสาสนีของพระเถระผู้เป็นลุงเหล่านั้น ดำเนินตามวิปัสสนาวิถี เมื่อจะสอนจิตของตน อันพล่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในภายนอก จึงได้กล่าวคาถา๑ว่า

เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้าง ไว้ที่ประตูพระนครฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๓.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 120

จักไม่ยอมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรากักไว้แล้ว จักไปตามชอบใจไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตูฉะนั้น ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้ เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับ ช้างที่จับได้ใหม่ยังไม่ฝึก ให้อยู่ในอำนาจด้วยขอฉันใด เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจฉันนั้น นายสารถีผู้ฉลาด ในการฝึกม้าให้ดีผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ฉันใด เราจักฝึกเจ้าไว้ด้วยสติ จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วย ความเพียร เราจักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ละ นะจิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอลคฺเคสฺสามิ ความว่า เราจักระวัง คือจะห้าม. บทว่า เต แก้เป็น ตํ แปลว่า ซึ่งจิตนั้น จริงอยู่ บทว่า เต นี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง พึงนำ บาลีที่เหลือมาเชื่อมเข้าด้วยบทว่า เต คมนํ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หตฺถินํ ความว่า ซึ่งช้าง. ท่านวิชิตเสนะเรียกจิตของตนว่า จิต.

เมื่อจะแสดงอาการที่ปรารถนาจะห้ามจิตนั้น จึงกล่าวว่า อาณิทฺวาเร หตฺถินํ. ประตูเล็กของพระนครซึ่งเนื่องกับกำแพง ชื่อว่าประตูพระนคร ซึ่งเมื่อเขาใส่ลิ่มสลัก แม้ผู้อยู่ภายในเว้นเครื่องยนต์ ไม่สามารถจะเปิดได้ อันเป็นเหตุไม่สามารถให้มนุษย์, โค, ม้า, กระบือ เป็นต้นออกไป. เมื่อใด นายหัตถาจารย์ปลอบใจช้างผู้ประสงค์จะออกไปภายนอกพระนคร จึงได้ ห้ามการไป.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 121

อีกอย่างหนึ่ง ประตูลิ่มชื่อว่า อาณิทวาร ก็ที่ประตูลิ่มสลักนั้น เขาวางลิ่มขวางไว้ แล้วร้อยลิ่มกล่าวคือเข็มไม้ไว้ที่หัวลิ่มแล.

บทว่า ปาเป ความว่า จักไม่ประกอบจิตนั้นในบาปธรรมมีอภิชฌา เป็นต้น อันเกิดขึ้นในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น. บทว่า กามชาลา ความว่า เป็นข่ายแห่งกาม. เหมือนอย่างว่า ชื่อว่า ข่ายของนายพรานเนื้อผู้จับปลา ได้แก่การที่นายพรานเหล่านั้น ทำสัตว์มีปลาเป็นต้นให้สำเร็จการกระทำตามปรารถนาฉันใด การที่มารทำจิตที่ตกไปตามอโยนิโสมนสิการ ให้สำเร็จการกระทำตามความปรารถนาก็ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นแล มารนั้นจึงยังสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในความพินาศ.

บทว่า สรีรช แปลว่า ผู้เกิดในสรีระ. จริงอยู่ จิตในปัญจโวการภพ ท่านเรียกว่าเกิดในสรีระ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยรูป.

บทว่า ตวํ โอลคฺโค น คจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนจิตชั่ว ท่านอันเราห้ามแล้วด้วยปฏักคือสติและสัมปชัญญะ บัดนี้จักไม่ไปตามความชอบใจ คือจักไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการ.

ถามว่า เหมือนอะไร? แก้ว่า เหมือนช้างไม่ได้การเปิดประตูฉะนั้น อธิบายว่า เหมือนช้าง เมื่อไม่ได้ผู้เปิดประตูเพื่อจะออกไปจากนคร หรือ จากเครื่องปิดกั้นของช้าง.

บทว่า จิตฺตกลิ แปลว่า ดูก่อนจิตกาลกิณี.

บทว่า ปุนปฺปุนํ ได้แก่ ไปๆ มาๆ. บทว่า ปสกฺก ความว่า ด้วยอำนาจการปลอบให้เบาใจด้วยการระลึกได้. บทว่า ปาปรโต แปลว่า ยินดีในบาปกรรม, อธิบายว่า บัดนี้ จักประพฤติเหมือนในก่อนไม่ได้ คือเราจักไม่ให้เพื่อจะประพฤติเช่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 122

บทว่า อทนฺตํ ความว่า ไม่ได้ฝึก คือยังไม่ศึกษาการศึกษาของช้าง.

บทว่า นวคฺคหํ ได้แก่ ถือเอาไม่นาน.

บทว่า องฺกุสคฺคโห ได้แก่นายหัตถาจารย์. บทว่า พลวา ได้แก่ มีกำลัง ด้วยกำลังกายและกำลังญาณ. บทว่า อาวตฺเตติ อกามํ ความว่า ให้เจ้าผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นแล กลับโดยการห้าม.

บทว่า เอวํ อาวตฺตยิสฺสํ ความว่า นายหัตถาจารย์จักให้ช้างตามที่กล่าวกลับฉันใด เราจักให้จิตชั่วนั้นกลับจากการเกียดกันทุจริตฉันนั้น.

บทว่า วรหยทมกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการฝึกม้าที่ควรฝึกทั้งหลายอันสูงสุด. แต่นั้นนายสารถีผู้ประเสริฐ คือผู้วิเศษสุดในบรรดานายสารถีผู้ฝึกม้าที่ควรฝึก ย่อมฝึกม้าอาชาไนยคือม้าที่ควรฝึก คือย่อมทรมาน คือย่อมแนะนำด้วยคำอ่อนหวานและคำหยาบ ตามสมควรแก่กาละ และเทศะ ได้แก่กระทำให้ละพยศ.

บทว่า ปติฏฺิโต ปญฺจสุ พเลสุ ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่แล้วในพละ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น จักฝึกคือจักทรมานจิตนั้นด้วยการห้ามจากความเป็นผู้ ไม่ศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า สติยา ตํ นิพนฺธิสฺสํ ความว่า ดูก่อนจิตชั่ว เราเมื่อไม่ให้ ไปในภายนอกจากอารมณ์อันเป็นภายในแล้ว จักผูกพันจิตนั้นที่เสาคือกรรมฐาน ด้วยเชือกคือสติ.

บทว่า ปยุตฺโต เต ทเมสฺสามิ ความว่า เราผูก คือประกอบขวนขวาย ที่เสาคือกรรมฐานนั้น แล้วฝึกเจ้า คือจักให้เจ้าหมดจดจากมลทิน คือกิเลส.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 123

บทว่า วีริยธุรนิคฺคหิโต ความว่า ม้าตามที่กล่าวแล้วนั้น อันนายสารถีผู้ฉลาดประกอบไว้ที่แอก คือข่มไว้ด้วยแอก อยู่ในระหว่างแอก ไม่ล่วงแอกไปได้ฉันใด ดูก่อนจิต แม้เธอก็ฉันนั้น ถูกเราข่มไว้ที่แอกคือ ความเพียร เมื่อไม่ได้เพื่อจะเป็นไปโดยประการอื่น เพราะมีการกระทำ โดยเคารพ เพราะมีปกติกระทำเป็นไปติดต่อ จักไม่ออกไปข้างนอกไกลจากอารมณ์อันเป็นภายในนี้ จริงอยู่ เมื่อจิตประกอบในภาวนา อารมณ์อื่นจากกรรมฐาน แม้เป็นอารมณ์ใกล้ ก็จะอยู่ไกลแต่ลักษณะทีเดียว รวมความว่า พระเถระเมื่อข่มจิตด้วยคาถาเหล่านี้ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน (๑) ว่า

เราตกแต่งเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนทองคำ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ผู้ดุจพญารังที่ ดอกกำลังบาน เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กำลังเสด็จไปทางท้ายป่าใหญ่ ขอพระพุทธเจ้าทรงโปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์ปรารถนาจะถวายภิกษา พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ได้ทรงทราบความดำริของเรา จึงเสด็จแวะที่อาศรมของเรา ครั้นแล้วพระองค์ได้ประทับบนเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้า เราได้หยิบเอาผลไม้รกฟ้า มาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด


๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๔.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 124

เมื่อเรามองดูอยู่ พระพิชิตมารทรงเสวยในเวลานั้น เราได้ยังจิตให้เลื่อมใสในทานนั้นแล้ว ได้ถวายบังคม พระพิชิตมารในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ...พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล จึงได้กล่าวพระคาถาเหล่านี้.

จบอรรถกถาวิชิตเสนคาถาที่ ๙