พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระยสทัตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40613
อ่าน  362

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 125

เถรคาถา ปัญจกนิบาต

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระยสทัตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 125

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระยสทัตตเถระ

[๓๔๔] คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยวแห้งในสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา ฉะนั้น ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ พึงได้บรรลุความสงบอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน.

จบยสทัตตเถรคาถา

อรรถกถายสทัตตเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของท่านพระยสทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุปารมฺภจิตฺโต ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 126

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ. จริงอย่าง นั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในศิลปวิชาของพวกพราหมณ์ ละกามทั้งหลายบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า. วันหนึ่ง ท่านเห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ประคองอัญชลีชมเชย. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ใน มัลลรัฐ ได้นามว่ายสทัตตะ ไปยังเมืองตักกศิลา ศึกษาศิลปะทั้งปวง เที่ยวจาริกไปกับปริพาชกชื่อว่าสภิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในกรุงสาวัตถีโดยลำดับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาที่สภิยปริพาชกถาม ตนเองก็นั่งฟังมุ่งเพ่งโทษว่า เราจักแสดงโทษในวาทะของพระสมณโคดม. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวาระแห่งจิตของเขา เมื่อจะประทานโอวาทในเวลาจบสภิยสุตต (๑) เทศนา จึงได้ตรัส ๕ คาถา (๒) เหล่านี้ว่า

คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น. คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น. คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยวแห้งในสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น. คนมี


๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๔. ๒. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๔.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 127

ปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา ฉะนั้น. ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของ ท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ พึงบรรลุความสงบอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปารมฺภจิตฺโต ได้แก่ มีจิตคิดจะยกโทษ อธิบายว่า มีความประสงค์จะยกโทษ.

บทว่า ทุมฺเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาทราม.

บทว่า อารกา โหติ สทฺธมฺมา ความว่า บุคคลนั้นคือผู้เช่นนั้น ย่อมเป็นผู้อยู่ในที่ไกลจากสัทธรรม คือการปฏิบัติ เหมือนปฐพีไกลจากฟ้าฉะนั้น. จะป่วยกล่าวไปไยถึงปฏิเวธสัทธรรมเล่า เมื่อท่านประกอบถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน โดยนัยมีอาทิว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ สัทธรรมคือ การปฏิบัติอันสงบละเอียด จักมีแต่ที่ไหน?

บทว่า ปริหายติ สทฺธมฺมา ความว่า ท่านเสื่อมจากโลกุตรธรรม ๙ ทั้งจากสัทธรรมมีศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า ปริสุสฺสติ ความว่า ย่อมเหี่ยวแห้งจากความไม่มีธรรมอันเป็นกุศล มีปีติและปราโมทย์เป็นต้น ของตนผู้อิ่มกายอิ่มใจ.

บทว่า น วิรูหติ ความว่า ย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงาม.

บทว่า ปูติกํ ความว่า ถึงความเป็นของเน่า เพราะไม่มีการให้การฉาบทาด้วยโคมัย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 128

บทว่า ตุฏฺเน จิตฺเต เป็นตติยาวิภัตติใช้ในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ, อธิบายว่า เป็นผู้มีใจยินดี เบิกบาน.

บทว่า เขเปตฺวา ได้แก่ ตัดขาดแล้ว.

บทว่า อกุปฺปตํ แปลว่า ไม่กำเริบ (พระอรหัต).

บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. บทว่า ปรมํ สนฺตึ ได้แก่ อนุปาทิเสสนิพพาน. ก็การบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานนั้น คือการรอกาละ (ตาย) อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่กาลไรๆ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงอนุปาทิเสสนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.

ท่านอันพระศาสดาทรงโอวาทอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความสังเวช บวช เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต, เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวไว้ในอปทาน (๑) ว่า

เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ผู้รุ่งเรือง เหมือนต้นกรรณิการ์ โชติช่วงดังดวงประทีป ไพโรจน์ ดุจทองคำ เราวางคณโฑน้ำ ผ้าเปลือกไม้กรองธมกรก ทำหนังเสือเฉวียงบ่า แล้วก็สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ว่า ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงขจัดความมืดมิด ซึ่งอากูลไปด้วยข่ายคือโมหะ ทรงแสดงแสงสว่างแห่งพระญาณแล้ว เสด็จข้ามไป พระองค์ได้ยกโลกนี้ขึ้นได้แล้ว สิ่งที่ยอดเยี่ยมซึ่งมีอยู่ทั้งหมด จะเปรียบปานกับพระญาณ เป็นประมาณเครื่องไปจากโลกของพระองค์ไม่มี


๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๔.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 129

ด้วยพระญาณนั้น โลกจึงขนานนามพระองค์ว่าสัพพัญญู ข้าพระองค์ ขอถวายบังคมพระองค์ผู้มีเพียรใหญ่ ทรงทราบธรรมทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ได้ เรา สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยการสดุดีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสดุดีพระญาณ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้เมื่อพยากรณ์พระอรหัตตผล ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถายสทัตตเถรคาถาที่ ๑๐