๑๒. โกสิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโกสิยเถระ
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 137
เถรคาถา ปัญจกนิบาต
๑๒. โกสิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโกสิยเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 137
๑๒. โกสิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโกสิยเถระ
[๓๔๖] ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ในโอวาทของครูนั้น และยังความเคารพให้เกิดในโอวาทของครูนั้น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี และชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
อันตราย อันร้ายแรงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำบุคคลใดผู้พิจารณาอยู่ บุคคลนั้นย่อมชื่อว่ามีกำลัง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
ผู้ใดแลตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เหมือนมหาสมุทร มีปัญญาลึกซึ้ง เห็นเหตุผลอันละเอียด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
ผู้ใดเป็นพหูสูต ทรงธรรมและประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่า ผู้คงที่ เป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรม ทั้งหลาย
ผู้ใดรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต ครั้นรู้แล้วทำตามที่รู้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต อยู่ในอำนาจเหตุผล และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย.
จบโกสิยเถรคาถา
พระเถระ ๑๒ รูป กล่าวคาถารูปละ ๕ คาถา รวมเป็น ๖๐ คาถา คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 138
๑. พระราชทัตตเถระ ๒. พระสุภูตเถระ ๓. พระคิริมานันทเถระ ๔. พระสุมนเถระ ๕. พระวัฑฒเถระ ๖. พระนทีกัสสปเถระ ๗. พระคยากัสสปเถระ ๘. พระวักกลิเถระ ๙. พระวิชิตเถระ ๑๐. พระยสทัตตเถระ ๑๑. พระโสณกุฏิกัณณเถระ ๑๒. พระโกสิยเถระ.
จบปัญจกนิบาต
อรรถกถาโกสิยเถรคาถาที่ ๑๒
คาถาของท่านพระโกสิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย เว ครูนํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา วันหนึ่งเห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายท่อนอ้อย.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เขาตั้งชื่อท่านด้วยอำนาจ โคตรว่า โกสิยะ. ท่านถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปหาท่านพระธรรมเสนาบดีเนืองนิตย์ ฟังธรรมในสำนักของท่าน. ท่านได้ศรัทธาในพระศาสนาเพราะได้ฟังธรรมนั้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งพระกรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน (๑) ว่า
๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 139
เราเป็นคนเฝ้าประตู อยู่ในพระนครพันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถือเอาท่อนอ้อยมาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า วิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายอ้อยใดในกาลนั้น ด้วยการถวายอ้อยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายท่อนอ้อย
เราเผากิเลสทั้งหลาย แล้ว... ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะสรรเสริญ การอยู่ร่วมกับครู และเข้าไปอาศัยสัปบุรุษจึงกล่าว ๕ คาถา เหล่านี้ว่า
ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ในโอวาทของครูนั้น และยังความเคารพให้เกิดในโอวาทของครูนั้น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี และชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
อันตรายร้ายแรงเกิดแล้ว ไม่ครอบงำบุคคลใดผู้พิจารณาอยู่ บุคคลนั้นย่อมชื่อว่ามีกำลัง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
ผู้ใดและตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เหมือนมหาสมุทร มีปัญญาลึกซึ้ง เห็นเหตุผลอันละเอียด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 140
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดรู้เนื้อความ แห่งสุภาษิต ครั้นรู้แล้วทำตามที่รู้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต อยู่ในอำนาจเหตุผล และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่งในบรรดา บริษัท ๔ มีขัตติยบริษัทเป็นต้น. บทว่า เว แปลว่า เป็นผู้ปรากฏ.
บทว่า ครูนํ ได้แก่ บัณฑิตผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
บทว่า วจนญฺญูได้แก่ ผู้รู้ถ้อยคำ คือ อนุสาสนีของบัณฑิตเหล่านั้น อธิบายว่า เมื่อปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ก็แลครั้นปฏิบัติแล้วรู้ผลแห่งการปฏิบัตินั้น.
บทว่า วเส จ ตมฺหิ ชนเยถ เปมํ ความว่า พึงอยู่ในคำ คือใน โอวาทของครูทั้งหลาย คือพึงปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ครั้นปฏิบัติแล้ว พึงให้เกิดความรัก ความเคารพในคำพร่ำสอนเหล่านั้นว่า เราจักเป็นผู้ล่วงพ้นทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้นนี้ ด้วยโอวาทนี้หนอ. ก็คำทั้งสองนี้เป็น การกระทำความที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยบททั้งสองว่า ธีรชนเป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย ดังนี้ ให้ปรากฏ.
บทว่า โส ความว่า ผู้ใดเป็นธีรชน รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความภักดีในครูเหล่านั้น ด้วยการปฏิบัติตามที่พร่ำสอน และ ชื่อว่าบัณฑิตเพราะไม่ล่วงเลยข้อพร่ำสอนนั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
บทว่า ญตฺวา จ ธมฺเมสุ วิเสสิ อสฺส ความว่า ก็เมื่อปฏิบัติอย่างนั้น ถึงเป็นผู้วิเศษว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ บรรลุปฏิสัมภิทา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 141
ด้วยสามารถแห่งวิชชา ๓ ในธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ เพราะเหตุแห่งการรู้อริยสัจ ๔ ด้วยข้อปฏิบัตินั้นนั่นแล.
บทว่า ยํ ความว่า อันตรายที่ปรากฏมีความเย็น ความร้อน ความหิว และความกระหายเป็นต้น และอันตรายที่ปกปิดมีราคะเป็นต้น อันได้โวหารว่า อันตราย เพราะทำอันตรายต่อการปฏิบัติ อุบัติคือเกิดขึ้นมากมาย คือมีกำลัง ย่อมไม่ข่มขี่บุคคล คือไม่ทำใครๆ ให้หวั่นไหว.
ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะไม่ครอบงำผู้พิจารณา อธิบาย ว่า ผู้พิจารณาอยู่ คือผู้ตั้งอยู่ในกำลังแห่งการพิจารณา. บทว่า โส ความว่า ผู้ใดแม้ถูกอันตรายร้ายแรงยิ่งนักครอบงำ ผู้นั้นก็เป็นผู้ชื่อว่ามี กำลัง มีปัญญา มีความบากบั่นมั่นคง และชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะพรั่งพร้อมด้วยกำลังคือปัญญา อันข่มฝ่ายกิเลสไม่มีส่วนเหลือ.
คำว่า ก็ผู้เป็นเช่นนั้นแล พึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย นั้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า สมุทฺโทว ฐิโต ความว่า มีความตั้งอยู่เป็นสภาวะ เหมือนสมุทรฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า มหาสมุทรใกล้เชิงเขาสิเนรุซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปด้วยลมตามปกติ ซึ่งตั้งขึ้นจากทิศ ทั้ง ๘ และลึกซึ้งฉันใด ธีรชนก็ฉันนั้น ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ด้วยลมคือกิเลส และด้วยลมคือวาทะของพวกเดียรถีย์. ธีรชนชื่อว่าเป็น ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง และผู้เห็นประโยชน์ เพราะรู้แจ้งอรรถแห่งปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น อันลึกซึ้งหยั่งลงไม่ได้ ด้วยญาณสมภารที่ไม่เคยสั่งสมมา ละเอียดสุขุม, บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตไม่ง่อนแง่น เป็นผู้คงที่ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เพราะไม่ง่อนแง่นด้วยกิเลส หรือด้วยเทวบุตรมารเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 142
ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเพราะอรรถที่กล่าวแล้ว คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า พหุสฺสุโต ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต ด้วยอำนาจความเป็นพหูสูตในทางปริยัติ ชื่อว่า พหุสสุตะ เพราะได้สดับสุตตะและเคยยะ เป็นต้นมาก และชื่อว่าทรงไว้ซึ่งธรรม เพราะทรงธรรมนั้นนั่นแหละไว้ไม่ให้พินาศไป เหมือนน้ำมันเหลวแห่งราชสีห์ ที่เขาใส่ไว้ในภาชนะ ทองคำฉะนั้น.
บทว่า ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี ความว่า ชื่อว่าประพฤติ ธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะรู้อรรถรู้ธรรม ตามที่ฟังมา ตามที่เรียนมา แล้วประพฤติ คือปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ ธรรมต่างด้วยปาริสุทธิศีล ธุดงค์และอสุภกรรมฐานเป็นต้น กล่าวคือปุพพภาคปฏิปทา คือประพฤติหวังการแทงตลอดว่า วันนี้ วันนี้แหละ ดังนี้.
บทว่า โส ตาทิโส นาม จ โหติ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลใด เป็นพหูสูต ทรงธรรมและประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะอาศัยครูใด บุคคลผู้นั้นแลเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็นเสมือนกับครูนั้น ชื่อว่าเป็น บัณฑิต เพราะมีภาวะแห่งการปฏิบัติเหมือนกัน.
ก็ข้อที่บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น พึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลุดนั้น มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแล.
บทว่า อตฺถญฺจ โย ชานาติ ภาสิตสฺส ความว่า บุคคลใด ย่อมรู้อรรถแห่งพระปริยัติธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว ก็เมื่อรู้ ย่อมรู้อรรถตามที่กล่าวแล้วในธรรมนั้นๆ ว่า ศีล ตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิ ตรัสไว้ในที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 143
ปัญญา ตรัสไว้ที่นี้ ดังนี้ แล้วการทำโดยประการนั้น คือย่อม ปฏิบัติตามที่พระศาสดาทรงพร่ำสอน.
บทว่า อตฺถนฺตโร นาม ส โหติ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น เป็นผู้อยู่ภายในแห่งเหตุผล กระทำเหตุเพียงการรู้เหตุผล ศีลเป็นต้นเท่านั้น เพราะเหตุแห่งผล ย่อมชื่อว่าเป็นบัณฑิต คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคาถาเหล่านี้ ด้วยคาถาต้น ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีศรัทธาเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า โย เว ครูนํ ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๒ ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีวิริยะเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า ยํ อาปทา ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๓ ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีสมาธิ เป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า โย เว สมุทฺโทว ฐิโต ดังนี้. ด้วยคาถา ที่ ๔ ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีสติเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า พหุสฺสุโต ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๕ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงความเป็น ผู้วิเศษอันมีปัญญาเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า อตฺถญฺจ โย ชานาติ ดังนี้.
จบอรรถกถาโกสิยเถรคาถาที่ ๑๒
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
ปัญจกนิบาต