พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สัปปทาสเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของสัปปทาสเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40621
อ่าน  349

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 182

เถรคาถา ฉักกนิบาต

๖. สัปปทาสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสัปปทาสเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 182

๖. สัปปทาสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสัปปทาสเถระ

[๓๕๒] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับ ความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ คร่ำครวญออกไปจากที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัสตรามา ชีวิต ของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขา เสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอา มีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเรานำเข้าไป จ่อไว้แล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้ ขณะนั้น โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความ เบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่าย ในสังขารนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความ ที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

จบสัปปทาสเถรคาถา

อรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระสัปปทาสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺณวีสติ ดังนี้. เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 183

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทั้งหลาย ได้ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะใน นครกบิลพัสดุ์ เขาได้มีชื่อว่า สัปปทาส. เขาเจริญวัยได้ความศรัทธาใน คราวสมาคมพระญาติของพระศาสดา จึงบวช เพราะกิเลสครองงำ จึง ไม่ได้เจโตสมาธิ ประพฤติพรหมจรรยํ์ เกิดสลดใจ ภายหลังจึงนำศัสตรา มา เจริญโยนิโสมนสิการก็ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์อรหัตตผล จึงได้กล่าวคาถา๑เหล่านี้ว่า

นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับ ความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้ เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำ ประคองแขนทั้งสอง ร้องไห้คร่ำครวญออกไปจากที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัสตรา มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเรา จะลาสิกขาเสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เรา ได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกนเล่มนั้น เรานำเข้าไปจ่อไว้แล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้ ขณะนั้น โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความ เบื่อหน่ายในสังขารนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่าน จงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๒.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณวีสติวสฺสานิ ยโต ปพฺพชิโต อหํ ความว่า จำเดิมแต่ที่เราบวชนั้น เป็นเวลา ๒๕ ปี.

บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เจโตสนฺติ มนชฺณคํ ความว่า เรา นั้นประพฤติพรหมจรรย์มาตลอดกาลเท่านี้ ยังไม่ได้ความสงบใจ ความ ตั้งมั่นแห่งจิต ชั่วขณะแม้มาตรว่าลัดนิ้วมือเดียว คือแม้สักว่าดีดนิ้วมือ.

ก็พระเถระไม่ได้เอกัคคตาจิตด้วยประการอย่างนี้ จึงกล่าวเหตุใน ข้อนั้นว่า ถูกกามราคะครอบงำ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏิโต แปลว่า บีบคั้น อธิบายว่า ครอบงำ.

บทว่า พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺโต ความว่า แหงนหน้าประคอง แขนทั้งสองข้างคร่ำครวญว่า ในกาลที่เราบวชในพระศาสนาอันเป็นเครื่อง สลัดออกจากทุกข์แล้ว ไม่สามารถจะถอนตนขึ้นจากเปือกตมคือกิเลสได้นี้ เป็นไปไม่สมควรอย่างยิ่งในพระศาสนานี้.

บทว่า วิหารา อุปนิกฺขมึ แปลว่า ออกไปภายนอกจากวิหารที่อยู่. เพื่อแสดงอุบายอันเป็นเหตุให้ออกไป ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เราจักนำ ศัสตรามา.

วา ศัพท์ในบทว่า สตฺถํ วา อาหริสฺสามิ ในคาถานั้น เป็นวิกัปปัตถะ (คำแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ด้วย วา ศัพท์ นั้น ท่านสงเคราะห์ชนิดของความ มีอาทิว่า โดดจากต้นไม้หรือผูกคอตาย.

บทว่า สิกฺขํ ได้แก่ อธิศีลสิกขา.

บทว่า ปจฺจกฺขํ แปลว่า บอกคืน คือละเสีย. บาลีว่า ปจฺจกฺขา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ด้วยการบอกคืนสิกขา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 185

บทว่า กาลํ แปลว่า ตาย. อธิบายว่า ชื่อว่าคนเช่นเราจะพึงตาย ด้วยกายรบอกคืนสิกขาได้อย่างไรเล่า. จริงอยู่ การบอกคืนสิกขา ชื่อว่า การตายในอริยวินัย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวนั้น เป็นมรณะความตาย. ก็ในบาลีว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่า คนเช่นเรา พึงบอกคืนสิกขาแล้วกระทำกาละได้อย่างไรเล่า แต่จะเป็นผู้เพียบพร้อม ด้วยสิกขาการทำกาละ เพราะฉะนั้น เราจักนำศัสตรามา เราจะประโยชน์ อะไรด้วยความเป็นอยู่.

บทว่า ตทาหํ ได้แก่ ในคราวที่เราเบื่อหน่ายชีวิต เพราะไม่สามารถ บำเพ็ญสมณธรรมได้ เพราะถูกกิเลสครอบงำ.

บทว่า ขุรํ ได้แก่ มีดโกนที่ลับแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ศัสตรา ประดุจมีดโกน.

บทว่า มญฺจกมฺหิ อุปาวิสึ ความว่า เพราะกลัวผู้อื่นห้าม เราจึง เข้าห้องแล้วนั่งบนเตียง.

บทว่า ปรินีโต ได้แก่ นำเข้าไปใกล้แล้ว อธิบายว่า พาดไว้ที่คอ.

ด้วยบทว่า ธมนึ นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่าเส้นเอ็นที่คอ ชื่อว่า กัณธมนิ ได้แก่ ลำคอ ดังนี้ก็มี.

บทว่า เฉตฺตุํ แปลว่า เพื่อตัด.

บทว่า ตโต เม มนสิกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า เราคิดว่า จักตายในคราวใด จึงเอามีดจ่อเพื่อตัดคอคือเส้นเอ็น ต่อจากนั้น เมื่อเรา พิจารณาเห็นว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ปีติจึงเกิดขึ้นเพราะได้เห็นศีลบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 186

ไม่ขาด ไม่ทะลุ, กายของตนผู้มีใจประกอบด้วยปีติก็สงบ เพราะจิตของ คนมีกายสงบ ซึ่งเสวยสุขอันปราศจากอามิส เป็นจิตตั้งมั่น โยนิโสมนสิการ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตโต ความว่า ภายหลังจากเอามีดจ่อที่คอ เมื่อเกิดบาดแผล จึงเกิดโยนิโสมนสิการอันข่มเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ วิปัสสนา, บัดนี้ เพื่อจะแสดงการเกิดแห่งญาณ อันเป็นเครื่องพิจารณา มรรคและผลที่ยิ่งกว่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โทษปรากฏแก่เรา ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖