พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. กาติยานเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระกาติยานเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40622
อ่าน  321

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 187

เถรคาถา ฉักกนิบาต

๗. กาติยานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกาติยานเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 187

๗. กาติยานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกาติยานเถระ

[๓๕๓] จงลุกขึ้นนั่งเถิดกาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย จงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของตนประมาทชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายอันโกงเลย กำลังคลื่น แห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทร นั้นได้ แม้ฉันใด ชาติและชราย่อมครอบงำท่านผู้ถูก ความเกียจคร้านครอบงำแล้ว ฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะ คืออรหัตตผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และ โลกหน้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน ก็พระศาสดาได้ทรงบอกทาง นี้ อันล่วงพ้นจากเครื่องข้องและจากภัยคือชาติและชรา แก่ท่านแล้ว ท่านอย่าเป็นผู้ประมาทตลอดยามต้นและ ยามหลัง จงพยายามทำความเพียรให้มั่นเถิด ท่านจง ปลดเปลื้องเครื่องผูกทั้งหลายอันเป็นของเดิมเสีย จะใช้ สอยผ้าสังฆาฏิและโกนศีรษะด้วยมีดโกน ฉันอาหารที่ขอ เขามาได้ จงอย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน อย่าเห็นแก่ นอน จงหมั่นเพ่งดูธรรมเถิดกาติยานะ จงเจริญฌาน จง ชนะกิเลสเถิดกาติยานะ ท่านจงเฉลียวฉลาดในทางอัน ปลอดโปร่งจากโยคะ จงบรรลุถึงความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม จงดับเพลิงกิเลส ดังบุคคลดับไฟด้วยน้ำฉะนั้น ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อยย่อมดับไปด้วยลม หรือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 188

เหมือนเถาวัลย์เล็กถูกลมขจัดฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีโคตร เสมอกับพระอินทร์ ท่านก็ฉันนั้น จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น กำจัด มารเสียเถิด ก็เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้มี ความเย็น รอคอยเวลานิพพานของตน ในอัตภาพนี้ ทีเดียว.

จบกาติยานเถรคาถา

อรรถกถากาติยานเถรคาถาที่ ๗

คาถาของท่านพระกาติยานเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า อุฏฺเหิ ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด เป็นบุตรของพราหมณ์โกสิยโคตรตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี แต่เนื่อง ด้วยโคตรฝ่ายมารดา จึงได้นามว่า กาติยานะ พอเจริญวัยได้เป็นสหาย คฤหัสถ์ของพระสามัญญกานิเถระ ได้เห็นพระเถระจึงบวชกระทำสมณธรรมอยู่ ในตอนกลางคืน ขึ้นสู่จงกรมด้วยหวังจักบรรเทาความง่วงที่ ครอบงำ. ท่านเดินจงกรมอยู่ถูกความหลับครอบงำ โงนเงนล้มลงไป นอนที่พื้นราบ ณ ที่จงกรมนั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นความเป็นไป นั้นของเธอ จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นด้วยพระองค์เอง ประทับยืนใน อากาศ ได้ประทานสัญญาณว่า กาติยานะ ท่านได้เห็นพระศาสดาจึงลุก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 189

ขึ้นถวายบังคม เกิดความสลดใจจึงได้ยืนอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อ จะทรงแสดงธรรมแก่ท่าน จึงได้ตรัสพระคาถา๑เหล่านี้ความว่า

จงลุกขึ้นนั่งเถิด กาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย จงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของคนประมาทชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายโกงเลย. กำลังคลื่น แห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทร นั้นได้ฉันใด ชาติและชราย่อมครอบงำท่านผู้ถูกความ เกียจคร้านครอบงำแล้วฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะคืออรหัตตผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน ก็พระศาสดาได้ทรงบอกทางนี้อันล่วง พ้นจากเครื่องข้อง และจากภัยคือชาติและชราแก่ท่าน แล้ว ท่านอย่าเป็นผู้ประมาททั้งยามต้นและยามหลัง จง พยายามกระทำความเพียรให้มั่นเถิด ท่านจงปลดเปลื้อง เครื่องผูกทั้งหลายอันเป็นของเดิมเสีย จงใช้สอยผ้า สังฆาฏิ โกนศีรษะด้วยมีดโกน และฉันอาหารที่ขอมาได้ จงอย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน อย่าเห็นแก่การนอน จงหมั่นเพ่งธรรมเถิดกาติยานะ จงเจริญฌาน จงชนะ กิเลสเถิด กาติยานะ ท่านจงเฉลียวฉลาดในทางอัน ปลอดโปร่งจากโยคะ จงบรรลุถึงความบริสุทธิ์อันยอด เยี่ยม จงดับเพลิงกิเลส ดังบุคคลดับไฟด้วยน้ำฉะนั้น ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลม หรือ


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๓.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 190

ดุจดังเถาวัลย์เล็กถูกลมขจัดได้ ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มี โคตรเสมอด้วยพระอินทร์ ท่านก็ฉันนั้น จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น กำจัดมารเสียเถิด ก็เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็น ผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้มีความ เย็น รอคอยเวลานิพพานของตนในอัตภาพนี้ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺเหิ ความว่า ท่านเมื่อลุกขึ้นจาก การเข้าถึงความหลับ ชื่อว่า จงกระทำความเพียร คือความหมั่น. เพราะ ธรรมดาว่าการนอน เป็นไปในฝักฝ่ายของความเกียจคร้าน เพราะฉะนั้น ท่านอย่านอน.

บทว่า นิสีท ความว่า จงนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้ เฉพาะหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้น โดยชื่อว่า กาติยานะ.

บทว่า มา นิทฺทาพหุโล อหุ ความว่า อย่าเป็นผู้มากด้วยความ หลับ คือถูกความหลับครอบงำ.

บทว่า ชาครสฺสุ แปลว่า จงตื่น คือจงเป็นผู้ประกอบความเพียร ในความเป็นผู้ตื่นอยู่.

บทว่า มา ตํ อลสํ ความว่า มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของคน ประมาท จงอย่าชนะ คือจงอย่าครอบงำ อย่าท่วมทับท่านผู้เกียจคร้าน ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ด้วยชราและโรค เหมือนนายพราน อย่าชนะเนื้อและนกด้วยกลโกง คือด้วยฟ้าทับเหวฉะนั้น.

บทว่า เสยฺยถาปิ ตัดเป็น เสยฺยถา อปิ แปลว่า แม้ฉันใด.

บทว่า มหาสมุทฺทเวโค ได้แก่ กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 191

บทว่า เอวํ เป็นต้น ความว่า กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ตั้งขึ้น ซ้อนๆ กัน ย่อมครอบงำบุรุษนั้นผู้ไม่สามารถว่าข้ามมหาสมุทรนั้นไปได้ ฉันใด ชาติและชราก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ คือย่อมย่ำยีท่านผู้ถูกความ เกียจคร้านครอบงำ.

บทว่า โส กโรหิ ความว่า ดูก่อนกาติยานะ ท่านจงกระทำเกาะ ที่ดี กล่าวคือพระอรหัตตผลที่โอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับไม่ได้แก่ตน คือจงให้ เกิดขึ้นในสันดานของตน.

ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า น หิ ตาณํ ตว วิชฺชเตว อฺํ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า เหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ชื่อว่าที่พึ่งของท่านอื่นจาก พระอรหัตตผลนั้น ย่อมไม่ได้ในโลกนี้หรือโลกหน้า ฉะนั้น ท่านจงกระทำ เกาะที่ดีคือพระอรหัตตผลนั้น.

บทว่า สตฺถา หิ วิเชสิ มคฺคเมตํ ความว่า พระศาสดาทรงครอบงำ เทวปุตตมารเป็นต้นแล้วตรัสบอก คือทำอริยมรรคที่เป็นตัวเหตุแห่งเกาะ ที่ดีนั้น อันล่วงพ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ๕ ประการ และจากภัยมีชาติ เป็นต้น ซึ่งพวกอัญญเดียรถีย์จำนวนมากไม่อาจให้สำเร็จต้องพ่ายแพ้นั้น ให้สำเร็จแก่ท่าน. เพราะเหตุที่ของที่มีอยู่ของพระศาสดา สาวกควรครอบ ครอง ไม่ควรละทิ้ง เพราะฉะนั้น เพื่อจะครอบครองของที่เป็นของ พระศาสดานั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดราตรีก่อนและราตรีหลัง คือ ตลอดยามต้นและยามหลัง คือจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หมั่นประกอบ ความเพียรและการเจริญภาวนาให้มั่นคงไว้.

บทว่า ปุริมานิ ปมุญฺจ พนฺธนานิ ความว่า ท่านจงปล่อย คือละ เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เครื่องผูกคือกามคุณที่มีอยู่ในกาลก่อน คือ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 192

ที่ผูกพันไว้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ อธิบายว่า จงอย่าอาลัยในเครื่องผูกคือ กามคุณนั้น.

บทว่า สงฺฆาฏิขุรมุณฺฑภิกฺขโภชี ได้แก่ เป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ มี ศีรษะโล้นที่เอามีดโกนปลงผม บริโภคอาหารที่ได้ด้วยการขอ คำแม้ทั้ง ๓ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งการปลดเปลื้องเครื่องผูกที่มีอยู่ในกาลก่อน และ แห่งการไม่ประกอบตามความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ. ประกอบ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านห่มผ้าสังฆาฏิ ศีรษะโล้น มีอาหารที่ได้ด้วย การขอเขาเลี้ยงชีพ เพราะฉะนั้น การประกอบกามสุข และการประกอบ ความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ จึงไม่ควรแก่ท่าน ด้วยเหตุนั้น ท่านจงปล่อยวางเครื่องผูกที่มีในกาลก่อนเสีย อย่าเห็นแก่การเล่นและการ นอนหลับ.

บทว่า ฌาย ได้แก่ จงเพ่ง คือจงหมันประกอบอารัมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า ก็เธอเมื่อจะประกอบตามฌานนั้น จงประกอบตามลักขณูปนิชฌาน อันเป็นเหตุให้ชนะกิเลสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมี การเข้าไปเพ่งลักษณะเป็นอารมณ์ จึงตรัสว่า เธอจงเพ่ง จงชนะ.

บทว่า โยคกฺเขมปเถสุ โกวิโทสิ ความว่า เธอจงเป็นผู้ฉลาด คือ เฉลียวฉลาดในโพธิปักขิยธรรม อันเป็นทางแห่งพระนิพพานซึ่งปลอด โปร่งจากโยคะทั้ง ๔ ก็เพราะฉะนั้น เธอเมื่อบำเพ็ญภาวนาจักบรรลุถึง ความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม คือปราศจากสิ่งที่เหนือกว่า ได้แก่พระนิพพาน และพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 193

บทว่า วารินาว โชติ ความว่า จักดับกิเลสด้วยการตกลงแห่งฝน คืออริยมรรค เหมือนกองไฟดับด้วยการตกลงแห่งน้ำฝนมากมายฉะนั้น.

บทว่า ปชฺโชตกโร ได้แก่ประทีปอันกระทำความสว่างโชติช่วง.

บทว่า ปริตฺตรํโส แปลว่า มีเปลวน้อย.

บทว่า วินมฺยเต แปลว่า ย่อมดับไป คือปราศจากไป.

บทว่า ลตาว แปลว่า เหมือนเครือเถา. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :- ประทีปที่แสงน้อย คือมีรัศมีน้อย โดนขาดแคลนปัจจัยมีไส้เป็นต้น หรือ เครือเถาอันเล็กๆ ถูกลมขจัด คือทำลายเสีย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่า มีโคตรเสมอกับพระอินทร์ เพราะเป็นโกสิยโคตร แม้เธอก็ฉันนั้น ชื่อว่า ผู้ไม่ถือมั่น เพราะไม่ตกอยู่ในอำนาจของมารนั้น และเพราะไม่ถือมั่น จง ขจัดคือจงทำลายมารเสียเถิด ก็เธอนั้นเมื่อกำจัดได้อย่างนี้ เป็นผู้ปราศจาก ฉันทราคะในเวทนาทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้มีความเย็น คือดับร้อนแล้ว เพราะไม่มีความเร่าร้อนคือความกระวนกระวาย เพราะกิเลสทั้งปวงใน อัตภาพนี้ทีเดียว จงหวังได้คือจงรอคอยเวลาปรินิพพานของตน. พระศาสดาตรัสเทศนาให้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานด้วยประการอย่างนี้ ในเวลา จบเทศนา พระเถระเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามนิยามที่ พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล และคาถาเหล่านี้นั้นแลเป็นการพยากรณ์ พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถากาติยานเถรคาถาที่ ๗