พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40624
อ่าน  344

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 201

เถรคาถา ฉักกนิบาต

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 201

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา๑

ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ

[๓๕๕] เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และเป็นผู้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่น

เราเป็นผู้อติมานะกำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ชูมานะดุจธง ถือตัว จึงสำคัญว่า ไม่มีใครเสมอตน และยิ่งกว่าตน

เรา มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดาหรือบิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์ เหล่าอื่นที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์

เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย ผู้รุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว

จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส ถวายบังคมพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

การถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอ เขา เราละแล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเรา เป็นเขา เราตัดขาดแล้ว การถือตัวต่างๆ ทั้งหมด เรากำจัดแล้ว.

จบเชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา


๑. อรรถกถาเป็นปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 202

อรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙

คาถาของ ท่านพระเชนตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติมเทน มตฺโตหํ ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อนทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถี. ท่านมีนามว่า เชนตะ. พอท่านเจริญวัยก็มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติและเมาในโภคะ ความเป็นใหญ่ และรูป ดูหมิ่นคนอื่น ไม่ทำความยำเกรงแม้แก่ท่านผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรเคารพ มีมานะจัดเที่ยวไป. วันหนึ่ง นายเชนตะนั้นได้เห็นพระศาสดา อันบริษัทหมู่ใหญ่ห้อมล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ เมื่อจะเข้าไปเฝ้า จึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า ถ้าพระสมณโคดมนี้จักตรัสทักเรา ก่อน แม้เราก็จักทักทายด้วย ถ้าไม่ตรัสทักเราก็จักไม่ทัก ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้ายืนอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสทักก่อน แม้ตนเองก็ไม่ทักทาย เพราะถือตัว แสดงอาการจะเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขา ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ใครในโลกนี้มีมานะ ไม่ดีเลย ผู้ใดมาด้วยประโยชน์ใด ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้น.

เขาคิดว่า พระสมณโคดมรู้จิตใจของเรา มีความเลื่อมใสยิ่ง จึงซบศีรษะลงที่พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำอาการเคารพ ยำเกรงอย่างยิ่ง แล้วทูลถามว่า

พราหมณ์ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรงใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 203

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงตอบปัญหาของเขา จึงทรงแสดงธรรมว่า

ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์ เป็นที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคลเหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี บุคคลพึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ พึงนอบน้อมท่านเหล่านั้นผู้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า.

เขาได้เป็นพระโสดาบันด้วยเทศนานั้น บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา จึงได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลโดยมุ่งระบุข้อปฏิบัติของตน จึงได้กล่าวคาถา (๑) เหล่านี้ ความว่า

เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และเป็นผู้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่น

เราเป็นผู้อติมานะกำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ชูมานะดุจธง ถือตัว จึงสำคัญว่า ไม่มีใครเสมอตน และยิ่งกว่าตน

เรา มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดาหรือบิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์ เหล่าอื่นที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์

เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย ผู้รุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๕.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 204

จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส ถวายบังคมพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

การถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอ เขา เราละแล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเรา เป็นเขา เราตัดขาดแล้ว การถือตัวต่างๆ ทั้งหมด เรากำจัดแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติทเมน มตฺโตหํ มีคำอธิบายประกอบว่า เราบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง จึงเมาด้วยความถือตระกูลว่า ไม่มีคนอื่นผู้เกิดดีแล้วจากบิดามารดาทั้งสองฝ่ายเช่นกับเรา จึงได้ถือตัวจัด เที่ยวไป.

บทว่า โภคอิสฺสริเยน จ ประกอบความว่า เราได้เป็นผู้เมาด้วยทรัพย์สมบัติ และด้วยความเป็นใหญ่ คือเที่ยวไปด้วยความเมาอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยโภคสมบัติ และอิสริยสมบัติเป็นเหตุ.

บทว่า สณฺานวณฺณรูเปน ความว่า ทรวดทรง ได้แก่ ความสมบูรณ์ด้วยส่วนสูงและส่วนใหญ่. วรรณะ ได้แก่ ความสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณ มีผิวขาวและผิวคล้ำเป็นต้น, รูป ได้แก่ ความงามแห่งอวัยวะน้อยใหญ่. แม้ในบทว่า สณฺานวณฺณรูเปน นี้ ก็พึงทราบวาจาประกอบ ความโดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า มทมตฺโต ได้แก่ ผู้เมาด้วยความเมาอย่างอื่นจากประการที่ กล่าวแล้ว.

บทว่า นาตฺตโน สมกํ กญฺจิ ความว่า เราจึงไม่สำคัญ คือไม่รับรู้ ใครๆ ว่าเสมอ คือเช่นกับตน ได้แก่เสมอด้วยชาติเป็นต้น หรือว่ายิ่ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 205

กว่าตน อธิบายว่า แม้คนผู้เสมอกับตนเราก็ยังไม่สำคัญ (ว่าจะมี) คนที่ ยิ่งกว่านั้น เราจะสำคัญ (ว่าจะมี) มาแต่ไหน.

บทว่า อติมานหโต พาโล ความว่า เราเป็นคนพาล เพราะความเป็นคนพาลนั้น จึงเป็นผู้ถูกอติมานะกำจัดการบำเพ็ญกุศลเสีย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ เราจึงมีใจกระด้าง ถือตัว คือเป็นผู้กระด้างจัด ได้แก่ เกิดเป็นผู้กระด้างโดยไม่ถ่อมตน เป็นคนถือตัวโดยไม่ทำการนอบน้อม แม้แก่ครูทั้งหลายด้วยความหัวดื้อ.

เพื่อจะทำเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏชัดขึ้น จึงกล่าวคำว่า มาตรํ (มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ) เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเ ได้แก่ พี่ชายเป็นต้น และ สมณพราหมณ์.

บทว่า ครุสมฺมเต ได้แก่ ที่สมมติกันว่า ครู คือผู้ตั้งอยู่ในฐานะ ครู.

บทว่า อนาทโร แปลว่า เว้นจากความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า ทิสฺวา วินายกํ อคฺคํ มีวาจาประกอบความว่า เราเป็นผู้ มานะจัดอย่างนี้เที่ยวไป ได้เห็นพระศาสดาผู้ชื่อว่าผู้แนะนำโดยวิเศษ เพราะแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ และเพราะภาวะเป็นผู้นำโดยความเป็น พระสยัมภู ชื่อว่าผู้เลิศเพราะความเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก พร้อมทั้งเทวโลกด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่าผู้สูงสุดคือสูงสุดยิ่งแห่งสารถี เพราะฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้โดยเด็ดขาด ผู้รุ่งเรืองคือสว่างไสวด้วยแสงสว่างด้วยพระรัศมีด้านละวาเป็นต้น ดุจพระอาทิตย์ ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ อันหมู่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 206

ภิกษุแวดล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ ถูกพุทธานุภาพคุกคาม จึงละ คือทิ้งมานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ คนอื่นเลว และความเมามีความเมาในโภคะเป็นต้น มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า.

ถามว่า ก็นายเชนตะนี้เป็นผู้มีมานะจัด อย่างไรจึงละมานะด้วยเหตุสักว่าได้เห็นพระศาสดา? ตอบว่า ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. เขาไม่ได้ละมานะด้วยสักว่าเห็นพระศาสดา แต่ละมานะได้ด้วยเทศนา มีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์ มานะไม่ดีเลย ดังนี้ ซึ่งท่านหมายกล่าวว่า เราละมานะและความมัวเมา มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า.

ก็ในบทว่า วิปฺปสนฺเนน เจตสา มีใจผ่องใส นี้ พึงเห็นว่าใช้ตติยาวิภัตติใน อรรถว่า อิตถัมภูตะ แปลว่า มี.

บางอาจารย์กล่าวว่า มานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ สุด ดังนี้ เป็น อติมานะ สำคัญตัวว่ายิ่งกว่าเขา. มานะของคนผู้ตั้งคนอื่นไว้โดยความเป็นคนเลว เป็นความดูหมิ่น ดังนี้ เป็นโอมานะ. อนึ่ง มานะว่าดีกว่าเขา ที่เกิดแก่บุคคลผู้ตั้งตนว่าประเสริฐกว่าคนอื่น เราเป็นผู้ประเสริฐกว่า ดังนี้ เป็น อติมานะ. มานะว่าเลวกว่าเขาที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นคนเลวกว่าเขา ดังนี้ เป็นความดูหมิ่น โอมานะ.

บทว่า ปหีนา สุสมูหตา ความว่า เป็นผู้ละด้วยมรรคเบื้องต่ำ ถอนขึ้นได้เด็ดขาดด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่ มานะที่เกิดด้วยอำนาจการยึดถือว่า "เรา" ในขันธ์ว่า "เราเป็นนั่น. "

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 207

บทว่า สพฺเพ ความว่า มิใช่อติมานะ โอมานะ และอัสมิมานะ อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ประเภทของมานะ คือส่วนแห่งมานะทั้งหมด มีประเภทมานะ ๙ มีมานะว่าประเสริฐกว่าเขา แห่งคนผู้ประเสริฐกว่าเขา และมานะหลายประเภท โดยประเภทอื่นๆ เรากำจัดแล้ว คือถอนได้ เด็ดขาดแล้วด้วยอรหัตตมรรค.

จบอรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙