๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสิริมัณฑเถระ
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 223
เถรคาถา ฉักกนิบาต
๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสิริมัณฑเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 223
๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสิริมัณฑเถระ
[๓๕๙] มุงบังไว้ฝนยิ่งรั่วรด เปิดไว้ฝนกลับไม่รั่วรด เพราะ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเปิดที่มุงบังเสียเถิด ฝนจักไม่รั่ว รดท่านด้วยอาการอย่างนี้ โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชรารุม ล้อม ถูกศร คือตัณหาทิ่มแทง ถูกความปรารถนาแผด เผาทุกเมื่อ โลกถูกมัจจุกำจัด และถูกชรารุมล้อม ไม่มี สิ่งใดต้านทานได้ ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ เหมือนคน กระทำความผิดได้รับอาชญา เดือดร้อนอยู่ฉะนั้น ชรา พยาธิ และมรณะทั้ง ๓ เป็นดุจกองไฟตามครอบงำอยู่ สัตวโลกเหล่านั้นไม่มีกำลังต่อต้าน ไม่มีกำลังจะหนีไป ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ ด้วยมนสิการวิปัสสนากรรมฐานน้อยบ้างมากบ้าง เพราะราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิต ของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เวลาตายย่อมรุกร้นเข้าไปใกล้ บุคคลผู้เดิน ยืน นั่ง หรือนอน เพราะเหตุนั้น ท่าน ไม่ควรประมาทเวลา.
จบสิริมัณฑเถรคาถา
อรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ ๑๓
คาถาของท่านพระสิริมัณฑเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ฉนฺนมติวสฺสติ ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 224
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูล พราหมณ์ ในสุงสุมารคีรนคร ได้นามว่า สิริมัณฑะ เจริญวัยแล้ว เมื่อ ขณะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเภสกลาวัน จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมได้ศรัทธาจึงบวช แล้วได้อุปสมบทการทำสมณธรรมอยู่ ในวัน อุโบสถวันหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ที่แสดงปาติโมกข์ ในตอนจบนิทานุทเทส พิจารณาใจความของบาลีที่ว่า ก็ภิกษุนั้นทำให้แจ้ง (อาบัติ) แล้วย่อมมี ความผาสุก ไม่ทำให้แจ้งอาบัติที่ต้องแล้วปกปิดไว้ จึงต้องอาบัติเพิ่มขึ้นๆ ครั้นมนสิการถึงความข้อนี้ว่า ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความผาสุก ก็ภิกษุผู้ทำให้แจ้งแล้วปลงอาบัติตามธรรมย่อมมีความผาสุก ดังนี้ จึงได้ ความเลื่อมใสว่า น่าอัศจรรย์ คำสอนของพระศาสดาบริสุทธิ์จริง จึงข่ม ปีติที่เกิดขึ้นอย่างนั้นแล้วเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต พิจารณาข้อ ปฏิบัติของตนแล้วมีใจเลื่อมใส เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้ กล่าวคาถา๑เหล่านี้ว่า
มุงบังไว้ ฝนยิ่งรั่วรด เปิดไว้ ฝนกลับไม่รั่วรด เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเปิดที่มุงบังเสียเถิด ฝนจักไม่รั่ว รดท่านด้วยอาการอย่างนี้ โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชรารุม ล้อม ถูกลูกศร คือตัณหาทิ่มแทง ถูกความปรารถนา แผดเผาทุกเมื่อ โลกถูกมัจจุกำจัด และถูกชรารุมล้อม ไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ เหมือน คนกระทำความผิดได้รับอาชญาเดือดร้อนอยู่ฉะนั้น ชรา
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 225
พยาธิ และมรณะทั้ง ๓ เป็นดุจกองไฟตามครอบงำอยู่ สัตวโลกเหล่านั้นไม่มีกำลังต่อต้าน ไม่มีกำลังจะหนีไป ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ ด้วยมนสิการวิปัสสนากรรมฐานน้อยบ้างมากบ้าง เพราะราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิตของ สัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เวลาตายย่อมรุกร้นเข้าไปใกล้บุคคล ผู้เดิน ยืน นั่ง หรือนอน เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควร ประมาทเวลา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนํ ได้แก่ ทุจริตที่ปิดบังไว้ คือไม่ เปิดเผย ไม่ประกาศตามเป็นจริง.
บทว่า อติวสฺสติ ความว่า ฝนคืออาบัติและฝนคือกิเลส ย่อมตก รดจนโชกโชน. ท่านกล่าวการปกปิด คือเหตุแห่งการรั่วรดไว้ว่า จริงอยู่ การปิดอาบัติเป็นเช่นกับความเป็นคนอลัชชีเป็นต้นทีเดียว เพราะการปิด อาบัติไว้ จึงพึงต้องอาบัติโดยประการอื่นจากนั้น หรืออาบัติเห็นปานนั้น ซ้ำอีก หรืออาบัติที่ลามกกว่านั้น.
บทว่า วิวฏํ ได้แก่เปิดเผย คือไม่ปิดบัง.
ศัพท์ว่า อติ ในบทว่า นาติวสฺสติ นี้เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ย่อมไม่รั่วรด. ก็ในที่นี้ พึงทราบการไม่รั่วรด โดยปริยายผิด ตรงกัน ข้ามกับการรั่วรดที่กล่าวมาแล้ว เพราะทำจิตสันดานให้บริสุทธิ์.
บทว่า ตสฺมา ย่อมบ่งถึงเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแหละ โดยความ เป็นเหตุ อธิบายว่า เพราะฝนคืออาบัติเป็นต้น รั่วรดทุจริตที่ปิดบังไว้ และเพราะไม่รั่วรดทุจริตที่เปิดเผยแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 226
บทว่า ฉนฺนํ วิวเรถ ความว่า แม้เมื่อเกิดความประสงค์จะปิด โดย ภาวะที่เป็นปุถุชน ท่านก็อย่าอนุวรรตน์ตามความประสงค์ พึงเปิด คือพึง ทำให้แจ้ง พึงปลงอาบัติตามธรรม.
บทว่า เอวํ ได้แก่ ด้วยการเปิด คือด้วยการปฏิบัติตามธรรม.
บทว่า ตํ ได้แก่ทุจริตนั้น คือที่ปกปิดไว้. ฝนย่อมไม่รั่วรด คือ ฝนคืออาบัติ และฝนคือกิเลส ย่อมไม่รั่ว รด อธิบายว่า ย่อมยังบุคคลให้ดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงวัตถุที่ตั้งแห่งความสลดใจอันเป็นเหตุ แห่งการปิดบังว่า พึงทำคนให้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงและโดยรวดเร็ว ไม่ควร ทำความประมาท จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สัตวโลกถูกมัจจุกำจัด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก ความว่า สัตวโลกนี้ทั้งหมดถูกมัจจุ คือความตาย ผู้มีปกติทำสัตว์ให้ตกลงใน วัฏฏะทั้งปวงกำจัดแล้ว ประดุจโจรถูกคนผู้ทำหน้าที่ฆ่าโจร ประหารชีวิต ฉะนั้น คือย่อมไม่พ้นเงื้อมหัตถ์ของมัจจุนั้น.
บทว่า ชราย ปริวาริโต ความว่า สัตวโลกนี้ถูกความชราอันมีหน้าที่ นำเข้าหาความตายยิ่งกว่าการให้เกิด รุมล้อม คือครอบงำ อธิบายว่า หุ้ม ห่อด้วยกองชรา.
บทว่า ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ ความว่า ถูกลูกศรคือตัณหาอันมี ลักษณะยึดติด เหมือนลูกธนูกำซาบยาพิษ จมอยู่ในภายในร่างกายเสียบ คือแทงลงตรงหัวใจ. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่า ลูกศร เพราะให้เกิด การบีบคั้น เพราะทิ่มแทงอยู่ภายใน และเพราะถอนได้ยาก.
บทว่า อิจฺฉาธูปายิโต ความว่า ถูกความอยากอันมีลักษณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 227
ปรารถนาอารมณ์แผดเผา. จริงอยู่ บุคคลผู้ปรารถนาอารมณ์นั้น เมื่อได้ อารมณ์ตามที่ปรารถนา หรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมเป็นผู้เร่าร้อน คือได้รับ ความเร่าร้อน ด้วยความปรารถนาอันมีลักษณะตามเผานั้นนั่นแหละ.
บทว่า สทา แปลว่า ทุกเวลา, ก็บทว่า สทา นี้ พึงประกอบเข้า ทุกบท.
บทว่า ปริกฺขิตฺโต ชราย จ ความว่า ไม่ใช่มัจจุกำจัดอย่างเดียว เท่านั้น โดยที่แท้ถูกชรารุมล้อมด้วย, อธิบายว่า ถูกชรากั้นไว้ ได้แก่ ล้อมด้วยกำแพงคือชรา ไม่ล่วงพ้นชรานั้นไปได้.
บทว่า หญฺติ นิจฺจมตฺตาโณ ความว่า เป็นผู้ไม่มีใครต้านทาน คือ ไม่มีใครเป็นที่พึ่ง ย่อมเดือดร้อน คือถูกชราและมรณะเบียดเบียนเป็น นิตยกาล. เหมือนอะไร? เหมือนคนทำความผิดได้รับอาชญาเดือดร้อน อยู่ฉะนั้น ท่านแสดงว่า โจรผู้กระทำความชั่ว การทำความผิดไว้ ได้รับ การประหารชีวิตไม่มีใครต้านทาน ย่อมเดือดร้อนด้วยราชอาชญาฉันใด สัตวโลกนี้ก็ฉันนั้น ย่อมเดือดร้อนด้วยชราและมรณะ.
บทว่า อาคจฺฉนฺตคฺคิขนฺธาว ความว่า ธรรม ๓ ประการนี้คือ มัจจุ พยาธิ และชรา ชื่อว่ากองไฟเพราะอรรถว่าตามเผา ย่อมตามมา ครอบงำสัตวโลกนี้ไว้ เหมือนกองไฟใหญ่ เมื่อป่าใหญ่ถูกไหม้อยู่ก็ครอบงำ (เผา) ป่าใหญ่นั้นฉะนั้น, ก็สัตวโลกนี้ไม่มีกำลัง คือความอุตสาหะที่จะ เป็นผู้สามารถต่อต้าน คือครอบงำธรรมทั้งสามนั้นได้, ไม่มีกำลังที่จะหนี ไป คือสัตวโลกนี้ เมื่อธรรมมีมัจจุเป็นต้นแล่นไปครอบคลุม ไม่มีกำลัง แข้งที่จะแสดงให้เห็นด้านหลัง หนีไปยังที่ที่มัจจุเป็นต้นครอบงำไม่ได้. หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า ตนเองไม่สามารถอย่างนั้น เมื่อมีปัจจามิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 228
ผู้มีกำลัง ๓ จำพวก ซึ่งไม่มีใครโต้ตอบด้วยอุบายทั้งหลาย มีการลวง เป็นต้น ปรากฏอยู่เป็นนิตย์ สัตวโลกควรการทำอย่างไร? ตอบว่า ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ด้วยมนสิการน้อยบ้างมากบ้าง อธิบายว่า ควรทำวันไม่ให้เปล่าประโยชน์คือไม่ให้เป็นหมัน ด้วยการใส่ใจถึงวิปัสสนา น้อยบ้าง คือเป็นไปโดยชั้นที่สุดชั่วกาลสักว่างูฉก มากบ้าง คือเป็นไป ตลอดวันและคืน เพราะเหตุที่ราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิตของสัตว์ก็ล่วง ไปเท่านั้น คือสัตว์นี้ละราตรีใดๆ ไป คือทำให้พินาศไป ให้สิ้นไป ชีวิตของสัตว์นั้นก็พร่องไปเท่าราตรีนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ชื่อว่าการสิ้นไปแห่งราตรีเป็นการสิ้นไปแห่งอายุ เพราะราตรีนั้นจะไม่หวน กลับมา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัตว์อยู่ในครรภ์มารดาก่อนตลอดราตรีใด ราตรีนั้น ตั้งขึ้นแล้วก็ไป ราตรีนั้นเมื่อไปแล้ว ย่อมไม่หวนกลับมา. มิใช่ด้วยอำนาจราตรีอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แม้ด้วยอำนาจอิริยาบถ ก็พึงรองรับความสิ้นไปแห่งชีวิต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เดิน เป็นต้น.
บทว่า จรโต ได้แก่ เดินไป.
บทว่า ติฏฺโต ได้แก่ สำเร็จการยืน.
บทว่า อาสีนสยนสฺส วา แยกเป็น อาสีนสฺส สยนสฺส วา แปลว่า นั่ง หรือ นอน. บางอาจารย์กล่าวว่า อาสีทนํ ดังนี้ก็มี, ในบาลีว่า อาสีทนํ นั้น พึงเห็นทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อุเปติ จริมา รตฺติ ความว่า ราตรีประกอบด้วยจิตดวงสุดท้าย ย่อมเข้าถึง. ก็ศัพท์ว่า รตฺติ ในบทนั้น เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. เวลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 229
สุดท้าย (คือเวลาตาย) ย่อมมีแก่คนผู้พรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่าง หนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถมีการเดินเป็นต้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ขณะแห่ง อิริยาบถของบุคคลนั้น จึงทำชีวิตให้หมดสิ้นไปด้วย. เพราะเหตุนั้น ท่าน ไม่ควรประมาทเวลา คือท่านไม่ควรถึงความประมาทเวลานี้ เพราะไม่ ทราบได้ว่า ความตายจะมีในเวลาชื่อนี้. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย กำหนดรู้ไม่ได้เป็นของฝืดเคือง เป็นของเล็กน้อย และ ประกอบด้วยทุกข์.
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ผู้ไม่ประมาทโอวาทตนอย่างนี้แล้ว พึงกระทำ ความเพียรเนืองๆ ในสิกขาทั้ง ๓ เถิด.
จบอรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ ๑๓