พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ลกุณฏกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40632
อ่าน  370

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 243

เถรคาถา สัตตกนิบาต

๒. ลกุณฏกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 243

๒. ลกุณฏกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ

[๓๖๒] ภัททิยภิกษุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลอเลิศใกล้ไพรสณฑ์ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญ ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กามโภคีบุคคลบางพวกย่อมยินดีด้วยเสียงตะโพน เสียงพิณ และบัณเฑาะว์ แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอน ของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่ที่โคนไม้ ถ้าพระพุทธเจ้าได้ ประทานพรแก่เรา เรารับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติ อันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์ ชนเหล่าใดถือรูปร่างเรา เป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูก กิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภายนอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผล ภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไปตาม เสียงโฆษณา ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัด ทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้นย่อมไม่ลอย ไปตามเสียงโฆษณา.

จบลกุณฏกเถรคาถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 244

อรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถร๑คาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระลกุณฑกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร อมฺพาฏการาเม ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในหังสวดีนคร พอเจริญวัย นั่งฟังธรรมอยู่ ในสำนักของพระศาสดา ในขณะนั้น ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็ ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประธาน แล้วได้กระทำปณิธานความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ข้าพระองค์ ก็พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ หนึ่งในอนาคต เหมือนภิกษุรูปนี้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความ ปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้วหลีกไป.

เขาการทำบุญในหังสวดีนั้นจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ เกิดเป็นนกดุเหว่า มีขนปีกวิจิตรงดงาม คาบผลมะม่วงหวานจากพระราชอุทยานบินไป ได้เห็น พระศาสดา มีใจเลื่อมใส จึงเกิดความคิดว่าจักถวาย. พระศาสดาทรง ทราบความคิดของนกดุเหว่านั้น จึงทรงนั่งถือบาตร. นกดุเหว่าได้ใส่ผล มะม่วงสุกลงในบาตรของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยผลมะม่วงสุกนั้น. นกดุเหว่านั้นมีใจเลื่อมใสจึงยับยังอยู่ตลอดสัปดาห์ ด้วยสุขอันเกิดจากปีติ นั้น และด้วยบุญกรรมนั้น จึงเป็นผู้มีเสียงไพเราะ.


๑. บาลีเป็น ลกุณฏกเถรคาถา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 245

ก็ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมหาชนปรารภจะสร้าง พระเจดีย์ ว่าจะสร้างขนาดไหน, เมื่อเขากล่าวว่าประมาณ ๗ โยชน์ ก็ กล่าวว่าขนาดนั้นใหญ่เกินไป เมื่อใครๆ. กล่าวว่า ๖ โยชน์ ก็กล่าวว่า แม้ขนาดนั้นก็ใหญ่เกินไป เมื่อใครๆ กล่าวว่า ๕ โยชน์ ๔ โยชน์ ๓ โยชน์ ๒ โยชน์ ดังนี้ ในคราวนั้น พระเถระนี้เป็นหัวหน้าช่าง พูดขึ้นว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ควรจะทำให้ปฏิบัติได้สะดวกในอนาคต ดังนี้แล้ว จึง เอาเชือกวงแล้วหยุดอยู่ในที่สุดคาวุตหนึ่ง จึงกล่าวว่า ค้านหนึ่งๆ ได้คาวุต หนึ่งๆ จักเป็นเจดีย์กลมโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ชนเหล่านั้นก็เชื่อถือ ถ้อยคำของหัวหน้าช่างนั้นๆ ได้กระทำขนาดประมาณแห่งพระพุทธเจ้าผู้หา ประมาณมิได้ ด้วยประการดังนี้แล. ก็ด้วยกรรมนั้น หัวหน้าช่างนั้น จึง เป็นผู้มีขนาดต่ำกว่า อื่นๆ ในที่ที่เกิดแล้วๆ.

ในกาลแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย เขาบังเกิดในตระกูลที่มี โภคะมากโนกรุงสาวัตถี. ไค้มีชื่อว่า ภัททิยะ แต่เพราะเป็นคนเตี้ย จึง ปรากฏชื่อว่า ลกุณฑกภัททิยะ. ลกุณฑกภัททิยะนั้น ได้ฟังธรรมในสำนัก ของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชแล้ว เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ. ครั้นในวันมหรสพวันหนึ่ง หญิงคณิกาคนหนึ่งไปรถกับพราหมณ์คนหนึ่ง เห็นพระเถระจึงหัวเราะจน เห็นฟัน. พระเถระถือเอานิมิตในกระดูกฟันของหญิงนั้นแล้วทำฌานให้ เกิดขึ้น กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาได้เป็นพระอนาคามี ท่านอยู่ด้วยกายคตาสติเป็นเนืองนิตย์ วันหนึ่ง อันท่านพระธรรมเสนาบดี โอวาทอยู่ ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน อุปทาน๑ว่า


๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๓๑.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 246

ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นเพระผู้นำโลก ได้ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐีมีทรัพย์ มากภายในพระนครหังสวดี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ ได้ไป ถึงสังฆาราม. คราวนั้น พระผู้นำโลก ผู้ทำโลกให้โชติ ช่วงพระองค์นั้นทรงแสดงธรรม ได้ตรัสสรรเสริญพระสาวกผู้ประเสริฐกว่าสาวกทั้งหลายผู้มีเสียงไพเราะ เรา ได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้ทำสักการะแก่พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของ พระศาสดาแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้แนะนำชั้นพิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ในท่านกลาง สงฆ์ว่า ในอนาคตกาล ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถ ความปรารถนา. ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา มีพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก. เศรษฐีนี้จักได้เป็น ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอัน ธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า ภัททิยะ. เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าผุสสะ พระผู้นำ ยากที่จะหาผู้เสมอ ยากที่จะข่มขี่ได้ ผู้สูงสุดกว่าโลก ทั้งปวง ได้เสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 247

เป็นผู้ประเสริฐ เที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผากิเลส ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้อง สรรพสัตว์เป็นอันมากให้พ้นจากกิเลสเครื่องจองจำ, เรา เกิดเป็นนกดุเหว่าขาวอยู่ในพระอารามอันน่าเพลิดเพลินใจ ขอพระผุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้น มะม่วงใกล้พระคันธกุฎี ครั้งนั้นเราเห็นพระพิชิตมารผู้สูง สุด เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จดำเนินไปบิณฑบาต จักทำจิตให้เลื่อมใส แล้วร้องด้วยเสียงอันไพเราะ ครั้งนั้น เราบินไปสวนหลวง คาบผลมะม่วงสุกดี มีผิวดังทองคำ เอามาน้อมถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า เวลานั้น พระพระพิชิตมารผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงทราบวารจิต ของเรา จึงทรงรับบาตรจากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก เรามี จิตร่าเริง ถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี เราใส่บาตร แล้วก็เอาปีกจบ ร้องด้วยเสียงอันไพเราะ เสนาะน่าฟัง น่ายินดี เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้วไปรังนอน. ครั้งนั้น นกเหยี่ยวผู้มีใจชั่วช้าได้โฉบเอาเราผู้มีจิตเบิกบาน ผู้มี อัธยาศัยไปสู่ความรักในพระพุทธเจ้าฆ่าเสีย เราจุติจาก อัตภาพนั้น ไปเสวยสุขมากมายในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วมา สู่กำเนิดมนุษย์ เพราะกรรมนั้นชักนำไป. ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามตามพระโคตรว่า กัสสป เป็น เผ่าพันธุ์พรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้อุบัติขึ้น พระองค์ทรงยังพระศาสนาให้โชติช่วง ครอบ-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 248

งำพวกเดียรถีย์ผู้หลอกลวง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลาย พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว. เมื่อ พระองค์ผู้เลิศในโลกปรินิพพานแล้ว ประชุมชนเป็นอัน มากที่เลื่อมใส จักกระทำพระสถูปของพระศาสดา เพื่อ บูชาพระพุทธเจ้า. เขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า จักช่วยกัน ทำพระสถูปของพระมเหสีเจ้า ให้สูง ๗ โยชน์ ประดับ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ครั้งนั้น เราเป็นแม่ทัพของพระเจ้า กาสีพระนามว่า กิกิ ได้พูดลดประมาณเจดีย์ของพระพุทธเจ้าผู้หาประมาณมิได้ ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วย กันทำเจดีย์ของพระศาสดาผู้มีปัญญาว่านรชน สูงโยชน์ เดียวประดับด้วยรัตนะนานาชนิด ตามถ้อยคำของเรา. เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพ สุดท้าย ในบัดนี้เราเกิดในสกุลเศรษฐีอันมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในนครสาวัตถีอันประเสริฐ เราได้เห็น พระสุคตเจ้าคราวเสด็จเข้าพระนคร ก็อัศจรรย์ใจ จึง บวช ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต. เพราะกรรมที่ได้ทำ (การลด) ขนาดพระเจดีย์นั้น เราจึงมีร่างกายต่ำเตี้ยควร แก่การดูหมิ่น เราบูชาพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ด้วยสุรเสียง อันไพเราะ. จึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มี เสียงไพเราะ. เพราะการถวายผล (มะม่วง) แด่พระพุทธเจ้า และเพราะการระลึกถึงพระพุทธคุณ เราจึง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 249

สมบูรณ์ด้วยสามัญผล ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ. .. คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ ทำตามแล้ว.

ในกาลต่อมา เมื่อท่านจะพยากรณ์พระอรหัตตผล จึงได้กล่าวคาถา๓คาถา * เหล่านี้ว่า

ภัททิยภิกขุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลิศใกล้ไพรสณฑ์ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญด้วยคุณมี ศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นี้ กามโภคีบุคคล บางพวก ย่อมยินดีเสียงตะโพน เสียงพิณ และบัณเฑาะว์ แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอนของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่โคนไม้. ถ้าพระพุทธเจ้าประทานพรแก่เรา และเราก็รับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติอันชาวโลก ทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร แปลว่า ประเสริฐ คือยิ่ง อธิบายว่า วิเศษ. จริงอยู่ ปร ศัพท์นี้ บอกถึงอรรถว่า ยิ่ง เหมือนในประโยคมี อาทิว่า ดุจยิ่งกว่าประมาณ.

บทว่า อมฺพาฏการาเม ได้แก่ในอารามมีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับด้วยไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวให้พิเศษด้วยศัพท์ว่า ปเร. ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวว่า ในอัมพาฏกวัน คือในป่าที่กำหนดหมายเอาด้วยต้นมะกอก.


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๒.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 250

บทว่า วนสณฺฑมฺหิ ได้แก่ในป่าชัฏ อธิบายว่า ในป่าเป็นที่รวม ต้นไม้ กอไม้ และเครือเถาที่สะสมกันอยู่หนาแน่น.

บทว่า ภทฺทิโย ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนี้. พระเถระพูดถึงตนเอง เหมือนกะคนอื่น.

บทว่า สมูลํ ตณฺหมพฺพุยฺห ความว่า อวิชชา ชื่อว่ารากเหง้าของ ตัณหา เพราะฉะนั้น จึงถอนตัณหาพร้อมทั้งวิชชาด้วยอรหัตตมรรค.

บทว่า ตตฺถ ภทฺโทว ฌายติ ความว่า เป็นผู้เจริญ คืองดงามด้วยศีล เป็นต้นอันเป็นโลกุตระ เพราะเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว จึงเพ่งอยู่ด้วยฌาน อันสัมปยุตด้วยอรหัตตผล โดยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในไพรสณฑ์นั้น.

พระเถระครั้นแสดงความยินดีในวิเวกของคนว่า ยับยั้งอยู่ด้วยผลสุข และฌานสมาบัติทั้งหลาย ดังนี้แล้ว จึงแสดงความนั้นนั่นแหละโดยพยัติ- เรกมุข คือด้านขัดแย้ง แม้ด้วยคาถาว่า รมนฺเตเก กามโภคีบุคคลบาง พวกยินดี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุทิงฺเคหิ ได้แก่ตะโพน ที่ประกอบ เป็นตัวเป็นต้น

บทว่า วีณาหิ ได้แก่ พิณอันเป็นเครื่องบันเทิงเป็นต้น.

บทว่า ปณเวหิ ความว่า กามโภคีบุคคลพวกหนึ่งย่อมยินดีด้วย ดนตรี ก็ความยินดีของกามโภคีบุคคลเหล่านั้นนั่น ไม่ประเสริฐ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์.

บทว่า อหญฺจ แก้เป็น อหํ ปน. อธิบายว่า เราผู้เดียวยินดีในคำ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 251

สอนของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ เราจึงยินดี คือยินดียิ่งอยู่ที่โคนไม้.

พระเถระระบุถึงความยินดีในวิเวกของตนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อ จะสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานที่เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต จึงกล่าว คาถาว่า พุทฺโธ เจ เม ดังนี้.

ความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าอัน เราอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอพรอย่างหนึ่งกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงปฏิเสธว่า ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลายล่วง พ้นพรเสียแล้วแล แล้วพึงให้พรแก่เราตามที่ทูลขอ และพรนั้นเราได้เต็ม ตามความประสงค์ของเรา คือพึงทำความปรารถนาแห่งใจของเราให้ถึง ที่สุด พระเถระกล่าวด้วยความปริกัปด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระเถระ เมื่อจะแสดงว่า เรารับพรเพราะทำการขอพรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสัตวโลกทั้งมวลควรเจริญกายคตาสติกรรมฐานทุกกาลเวลา และว่า สัตวโลกทั้งมวลควรเจริญกายคตาสติเป็นนิตย์ จึงกล่าวว่า เราถือเอา กายคตาสติอันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะ สรรเสริญการพิจารณาโดยมุข คือการติเตียนโดยไม่พิจารณา จึงได้กล่าว คาถา ๔ คาถา (๑) นี้ว่า

ชนเหล่าใดถือรูปร่างเราเป็นประมาณ และถือเสียง เราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา, คนพาลถูกกิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ ภายในทั้งไม่เห็นภายนอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา.


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๒.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 252

แม้บุคคลผู้เห็นผลภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่ภายนอก ก็ลอยไปตามเสียงโฆษณา. ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูก กั้น ย่อมรู้ชัดทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้น ย่อมไม่ลอยไปตามเสียงโฆษณา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย มํ รูเปน ปามึสุ ความว่า ชนเหล่าใด ไม่รู้ คือประมาณเราผู้ทรามด้วยรูปของเราอันไม่น่าเลื่อมใส คือต่ำทราม และด้วยสรีระคือธรรมว่า ปัญญาก็เช่นกับอาการ อธิบายว่า เยาะเย้ยว่า ผู้นี้เลวทราม จึงสำคัญโดยการกำหนดเอา.

บทว่า เย จ โฆเสน อนฺวคู ความว่า ก็ข้อที่สัตว์สำคัญเราไปตาม เสียงโฆษณา ด้วยอำนาจการยกย่องเป็นอันมากนั้น เป็นความผิดของสัตว์ เหล่านั้น เพราะเราอันบุคคลจะพึงดูหมิ่นด้วยเหตุสักว่ารูปก็หามิได้ หรือ ไม่พึงรู้มากด้วยเหตุสักว่าเสียงโฆษณา เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นผู้ตกอยู่ ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา อธิบายว่า ชนแม้ทั้งสองพวกนั้น ผู้ตกลงสู่อำนาจของฉันทราคะ คือละฉันทราคะไม่ได้ จึงไม่รู้จักเราผู้ละ ฉันทราคะได้โดยประการทั้งปวง.

เพื่อจะแสดงว่า คนเช่นเราไม่เป็นวิสัยของชนเหล่านั้น เพราะเป็น ผู้มีวัตถุอันใครๆ กำหนดไม่ได้ทั้งภายในและภายนอก พระเถระจึงกล่าว คำมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ ดังนี้.

บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น ใน สันดานของตน.

บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในสันดานของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสกขะเป็นต้น ในภายในของ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 253

เรา. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ความเป็นไปแห่งรูปธรรม และความเป็น ไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ในภายนอกอันประกอบด้วยความสมบูรณ์ แห่งมารยาทเป็นต้นของเราเท่านั้น.

บทว่า สมนฺตาวรโณ ความว่า เพราะไม่รู้ทั้งภายในและภายนอก อย่างนี้ จึงเป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเครื่องกั้นโดยรอบ คือ เป็นผู้มีคติแห่ง ญาณอันถูกกั้นแล้ว.

บทว่า ส เว โฆเสน วุยฺหติ ความว่า คนพาลผู้มีความรู้อันผู้อื่น จะพึงแนะนำนั้น ย่อมลอยไป คือถูกนำออกไป ได้แก่ถูกคร่ามาตามเสียง โฆษณา คือตามคำของตนอื่น.

บทว่า พหิทฺธา จ วิปสฺสติ ความว่า ก็บุคคลใดย่อมไม่รู้ภายใน โดยนัยดังกล่าวแล้ว แต่ย่อมเห็นโดยแจ่มแจ้งในภายนอก ตามแนวที่ได้ ฟังแล้ว หรือตามที่ทรงไว้ซึ่งสมบัติแห่งมารยาทเป็นต้น คือย่อมเข้าใจว่า เป็นผู้ประกอบด้วยคุณวิเศษ, บุคคลแม้นั้นผู้เห็นผลภายนอก คือถือเอาเพียง ผล โดยการถือเอาตามนัย ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา โดยนัยดังกล่าว แล้ว แม้บุคคลนั้นก็ย่อมไม่รู้จักคนเช่นเรา.

ส่วนบุคคลใดย่อมรู้ภายใน คือคุณมีศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสกขะ เป็นต้น ในภายในของพระขีณาสพ และเห็นการประกอบคุณวิเศษโดย แจ่มแจ้งในภายนอกด้วยการกำหนดข้อปฏิบัติของพระขีณาสพนั้น. เป็น ผู้มีความเห็นไม่ถูกกั้น คือเป็นผู้อันใครๆ กั้นไม่ได้ สามารถรู้เห็นคุณ ของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่ลอยไปด้วยเหตุสักว่าเสียงโฆษณา เพราะเห็นตามความเป็นจริง ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถรคาถาที่ ๒