๓. ภัททเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระภัททเถระ
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 254
เถรคาถา สัตตกนิบาต
๓. ภัททเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภัททเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 254
๓. ภัททเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภัททเถระ
[๓๖๓] เราเป็นบุตรคนเดียว ซึ่งเป็นที่รักของมารดาบิดา เพราะเหตุว่ามารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร และการอ้อนวอนขอเป็นอันมาก
ก็มารดาและบิดาทั้งสองนั้น มุ่งหวังความเจริญแสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์เรา จึงนำเรามาถวายแด่พระพุทธเจ้าแล้วทูลว่า
บุตรของข้าพระองค์นี้เป็นสุขุมาลชาติได้รับแต่ความสุข เป็นบุตรที่ข้าพระองค์ได้มาโดยยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลก ข้าพระองค์ทั้งสองขอถวายบุตรสุดที่รักนี้ ให้เป็นคนรับใช้ของพระองค์ผู้ทรงชนะกิเลสมาร
พระศาสดาทรงรับเราแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า จงให้เด็กคนนี้บรรพชาเถิด เพราะเด็กคนนี้จักเป็นผู้รอบรู้รวดเร็ว.
พระศาสดาผู้ทรงชนะมาร ครั้นรับสั่งให้พระอานนท์ บรรพชาให้เราแล้ว เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดง จิตของเราก็พ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง
ภายหลัง พระศาสดาทรงออกจากสมาบัติแล้ว เสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งกะเราว่า จงเป็นภิกษุมาเถิดภัททะ พระดำรัสเช่นนั้น เป็นการอุปสมบทของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 255
เราเกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓ น่าอัศจรรย์ ความที่ธรรมเป็นธรรมดี.
จบภัททเถรคาถา
อรรถกถาภัททเถรคาถาที่ ๓
คาถาของ ท่านพระภัททเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เอกปุตฺโต ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ และภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสนรูป ด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ก่อนเกิด มารดาบิดาไม่มีบุตร แม้จะทำการอ้อนวอนขอต่อเทวดาเป็นต้นก็ไม่ได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์ทั้งสองจักได้บุตรสักคนหนึ่งไซร้ จักถวายบุตรนั้นแก่พระองค์เพื่อต้องการให้เป็นทาส ดังนี้แล้วก็ไป. มีเทวบุตรตนหนึ่งจวนหมดอายุ รู้ความประสงค์ของพระศาสดา ดำรงอยู่แล้ว ท้าวสักกะเทวราชจึงรับสั่ง ว่า เธอจงบังเกิดในตระกูลโน้น จึงบังเกิดในตระกูลเศรษฐีนั้น พวกญาติ ตั้งชื่อท่านว่า ภัททะ.
เขาเกิดมาอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาได้แต่งตัวแล้วนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทารกที่ข้าพระองค์ทั้ง ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 256
ขอพระองค์ได้มานั้น คือเด็กคนนี้ ข้าพระองค์ขอมอบถวายเด็กคนนี้แด่พระองค์.
พระศาสดาทรงสั่งพระอานนทเถระว่า เธอจงบวชเด็กคนนี้ ก็แลครั้นสั่งแล้วจึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. พระเถระให้เขาบวชแล้ว บอกแนวทางวิปัสสนาโดยย่อ. เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เธอบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันขึ้น บำเพ็ญภาวนาก็ได้ อภิญญา ๖. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน * ว่า
หมู่ชนทั้งปวงเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้มีพระทัยเมตตา เป็นมหามุนีอัครนายกแห่งโลกทั้งปวง.
ชนทั้งปวงย่อมถวายอามิส คือ สัตตุก้อน สัตตุผง น้ำ และข้าวแด่พระศาสดา และในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม.
แม้เราก็จักนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดและพระสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยม แล้วจักถวายทานแด่ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้เป็นเทพเหนือเทพ ผู้คงที่.
คนเหล่านี้เป็นผู้อันเราส่งไปให้นิมนต์พระตถาคต และภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม.
บัลลังก์ทองมีค่าแสนหนึ่ง ลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว ด้วยเครื่องลาดยัดนุ่น เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ผ้าเปลือกไม้และผ้าฝ้าย.
เราได้ ให้จัดตั้งอาสนะอันควรค่ามาก สมควรแด่พระพุทธเจ้า. พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลกประเสริฐกว่าเทวดา ผู้องอาจกว่านระ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
๑. ขุ. อุ. ๓๒/ข้อ ๔๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 257
เสด็จเข้ามาสู่ประตูบ้าน เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ผู้ทรงยศ นำเสด็จเข้าสู่เรือนของตน. เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส อังคาสภิกษุ ๑ แสน และพระพุทธเจ้าผู้นายกของโลกให้อิ่มหนำด้วยข้าวชั้นพิเศษ.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา แล้วประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดถวายอาสนะทอง อันลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาวนี้ เราตถาคตจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราชอันนางอัปสรแวดล้อม เสวยสมบัติอยู่ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นเจ้า ประเทศราชครอบครองพสุธา ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ครั้ง จักเป็นผู้มีสกุลสูงในภพและกำเนิดทั้งปวง
ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้ว จักบวชเป็นสาวกของพระศาสดา โดยชื่อว่าภัททิยะ.
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัด. ผลทั้งปวงเราบรรลุแล้ว วันนี้เราเป็นผู้สละกิเลสได้แล้ว.
พระสัพพัญญูผู้นายกของโลก ทรงทราบคุณทั้งปวงของเราแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้กระทำตาม สำเร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 258
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรามว่าอภิญญา ๖ เกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว จึงตรัสว่า มาเถิดภัททะ. ทันใดนั้นเอง พระภัททะนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนประคองอัญชลีอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา. ก็พระวาจาที่พระศาสดารับสั่งดังนั้นแหละได้เป็นอุปสมบทของเธอ. ได้ยินว่า การอุปสมบทนั่นชื่อว่าพุทธอุปสมบท อุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า.
พระเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยมุ่งกล่าวประวัติของตนตั้งแต่เกิด จึงได้กล่าวคาถา (๑) เหล่านี้ว่า
เราเป็นบุตรคนเดียว ซึ่งเป็นที่รักของมารดาบิดา เพราะเหตุว่า มารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร และการอ้อนวอนขอเป็นอันมาก
ก็มารดาบิดาทั้งสองนั้น มุ่งหวังความเจริญ แสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์เรา จึงนำเรามาถวายแด่พระพุทธเจ้าแล้วทูลว่า บุตรของข้าพระองค์นี้เป็นสุขุมาลชาติได้รับแต่ความสุข เป็นบุตรที่ข้าพระองค์ได้มาโดยยาก. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะ คือเป็นที่พึ่งของโลก ข้าพระองค์ทั้ง ๒ ขอถวายบุตรสุดที่รักนี้ ให้เป็นคนรับใช้ของพระองค์ ผู้ทรงชนะกิเลสมาร.
ก็พระศาสดาทรงรับเราแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า จงให้เด็กคนนี้บรรพชาเถิด เพราะเด็กคนนี้จักเป็นผู้รอบรู้รวดเร็ว.
พระศาสดาผู้ทรงชนะมาร ครั้นรับสั่งให้พระอานนท์บรรพชาให้เรา แล้วเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดง จิตของเราก็พ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 259
ภายหลัง พระศาสดาทรงออกจากสมาบัติแล้ว เสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งกะเราว่า จงเป็นภิกษุมาเถิดภัททะ พระดำรัสนั้น เป็นการอุปสมบทของเรา.
เราเกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓ น่าอัศจรรย์ ความที่ธรรมเป็นธรรมดีเลิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตจริยาหิ ด้วยการประพฤติวัตร ความว่า ด้วยการได้ฟังคำ ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายกระทำอย่างนี้แล้วจักได้บุตร แล้วจึงประพฤติวัตรมีการดื่มนมสดไม่บริโภคอาหาร (หนัก) เป็นต้น.
บทว่า อายาจนาหิ ด้วยการอ้อนวอน ได้แก่ ด้วยขอต่อเทวดาและขอต่อพระศาสดา, การขอนี้แหละเป็นเหตุในการได้บุตรนี้ พระเถระกล่าวคำอื่น เพื่อแสดงการปฏิบัติของมารดาบิดา และเพื่อแสดงภาวะที่มารดาบิดาได้บุตรยาก.
บทว่า เต โยค มาตาปิตโร. บทว่า อุปนามยุํ แปลว่า นำเข้า ไปถวาย.
บทว่า สุเขธิโต ได้แก่ เจริญด้วยความสุข. บทว่า เต แปลว่า แด่พระองค์. บทว่า ปริจาริกํ ได้แก่ ให้เป็นผู้กระทำกรณียกิจ.
บทว่า เหสฺสตฺยาชานิโย ยํ ความว่า เด็กคนนี้จักเป็นผู้รู้ได้รวดเร็วในศาสนาของเรา. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงได้ตรัสว่า จงรีบให้บวชในวันนี้ทีเดียว.
บทว่า ปพฺพาเชตฺวาน ได้แก่ สั่งพระอานนทเถระให้บวชให้.
บทว่า วิหารํ ได้แก่ พระคันธกุฎี.
บทว่า อโนคฺคตสฺมึ สูริยสฺมึ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดง ได้แก่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันตกดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 260
บทว่า ตโต จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า เบื้องหน้าแต่ปรารภวิปัสสนานั้น ไม่นานนักจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง คือเรา เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การสิ้นอาสวะของเรา.
บทว่า นิรากตฺวา ทรงออกจาสมาบัติแล้ว ได้แก่ เข้าผลสมาบัติที่พระองค์ถึงพร้อมแล้ว แ้วทรงออกจากสมาบัตินั้น
เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ออกจากที่เร้น.
บทว่า สา เม อาสูปสมฺปทา ความว่า พระดำรสของพระศาสดาที่ตรัสเจาะจงเราว่า มาเถิดภัททะ นั้นนั่นแลเป็นอุปสมบทของเรา.
ด้วยบทว่า เราเกิดได้ ๗ ปีก็ได้อุปสมบท นี้ พระเถระแสดงถึง การอนุเคราะห์อย่างดีที่พระศาสดาทรงกระทำ และความที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ด้วยประการอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์ความที่ธรรมเป็นธรรมดีเลิศ ดังนี้.
ก็ในที่นี้ พระเถระแม้จะประกาศความเป็นพระขีณาสพด้วยคำว่า "จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากอาสวะกิเลสทั้งปวง" ก็ได้แสดงแยกโลกิยอภิญญาไว้ว่า เราบรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ เพื่อจะประกาศว่า ท่านทำสำเร็จอภิญญา ๖ แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า เราทำให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้ว.
จบอรรถกถาภัททเถรคาถาที่ ๓