พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สิริมิตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสิริมิตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40637
อ่าน  444

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 291

เถรคาถา อัฏฐกนิบาต

๒. สิริมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิริมิตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 291

๒. สิริมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิริมิตตเถระ

[๓๖๗] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด ภิกษุนั้นแลเป็นผู้คงที่ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกธรไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วทุกเมื่อ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีศีลงาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีกัลยาณมิตร ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่ มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีปัญญางาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ผู้ใดมีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระตถาคต ตั้งมั่นดีแล้ว มีศีลอันงาม อันพระอริยะใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่ไร้ประโยชน์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 292

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรมเนืองๆ เถิด.

จบสิริมิตตเถรคาถา

อรรถกถาสิริมิตตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของ ท่านพระสิริมิตตเถระ มีว่า อกฺโกธโน ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ท่านพระสิริมิตตเถระแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นลูกชายของกุฎุมพีผู้มีทรัพย์มากในกรุงราชคฤห์ ได้มีนามว่า สิริมิตต์.

ได้ยินว่า มารดาของท่านสิริมิตต์นั้น เป็นน้องสาวของท่านสิริคุตต์ เรื่องของสิริคุตต์นั้น มาแล้วในอรรถกถาธรรมบทนั่นแล. สิริมิตต์ผู้เป็นหลานชายของท่านสิริคุตต์นั้น พอเจริญวัยแล้ว ได้มีความเลื่อมใสต่อพระศาสดา ในเพราะการทรมานช้างธนบาล บรรพชาแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต วันหนึ่งท่านขึ้นสู่อาสนะเพื่อสวดพระปาฏิโมกข์ จึงนั่งจับพัดวีชนีอันวิจิตร บอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ท่านเมื่อจะบอกและเมื่อจะจำแนกแสดงคุณอันโอฬารยิ่ง จึงกล่าวคาถา (๑) เหล่านี้ว่า :-


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๗.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 293

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด ภิกษุนั้นแลเป็นผู้คงที่ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกธรไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วทุกเมื่อ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีศีลงาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีกัลยาณมิตร ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีปัญญางาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ผู้ใดมีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระตถาคต ตั้งมั่นดีแล้ว มีศีลอันงาม อันพระอริยะใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่ไร้ประโยชน์

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรมเนืองๆ เถิด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 294

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกธโน ได้แก่ ผู้มีปกติไม่โกรธ, อธิบายว่า ก็เมื่อมีเหตุที่จะให้เกิดความโกรธปรากฏขึ้น ก็ดำรงอยู่ในอธิวาสนขันติ ไม่ยอมให้ความโกรธเกิดขึ้น.

บทว่า อนุปนาหี ได้แก่ ผู้ไม่ผูกโกรธไว้, อธิบายว่า เพราะอาศัยความผิดที่คนพวกอื่นกระทำไว้ เป็นผู้มีปกติไม่ผูกโกรธ โดยนัยเป็นต้นว่า เขาได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเรา ดังนี้.

ชื่อว่า ผู้ไม่มีมายา เพราะไม่มีมายาซึ่งมีลักษณะปกปิดความความบกพร่องที่มีอยู่.

ชื่อว่า ผู้ไม่ส่อเสียด เพราะเว้นขาดจากวาจาส่อเสียด.

บทว่า ส เว ตาทิสโก ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น มีชาติอย่างนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยคุณตามที่กล่าวมาแล้ว อธิบายว่า ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกในโลกหน้า เพราะว่าไม่มีเครื่องหมายแห่งความเศร้าโศก.

ชื่อว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว เพราะมีจักษุทวารเป็นต้น และมีกายทวารเป็นต้น อันคุ้มครองรักษาป้องกันแล้ว.

บทว่า กลฺยาณสีโล ได้แก่ ผู้มีศีลดี คือมีศีลอันบริสุทธิ์ดี.

บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ความว่า กัลยาณมิตร เพราะอรรถว่า มีมิตรดีงาม ซึ่งมีลักษณะตามที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า :-

เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่น่ายกย่อง กล่าวแนะนำพร่ำสอน อดทนต่อถ้อยคำ อธิบายถ้อยคำที่ลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำเพื่อนไปในทางที่ไม่ควร.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 295

บทว่า กลฺยาณปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี อธิบายว่า ธรรมดา ปัญญาที่ไม่ดี แม้จะไม่มีก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ก็ด้วยอำนาจปัญญาอันเป็นเหตุนำออกจากสงสาร.

พระเถระครั้นแสดงถึงสัมมาปฏิบัติ ด้วยคาถาที่เป็นบุคลาธิษฐาน โดยยกเอาความไม่โกรธเป็นต้นขึ้นเป็นประธาน ด้วยอำนาจการข่ม และด้วยอำนาจการตัดเด็ดขาดซึ่งกิเลสมีความโกรธเป็นต้น ในคาถานั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะยกเอาศรัทธาที่เป็นโลกุตระ อันตนได้สำเร็จแล้ว เป็นต้นขึ้นแสดงถึงสัมมาปฏิบัติ ด้วยคาถาที่เป็นบุคลาธิษฐานล้วนๆ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ยสฺส สทฺธา ดังนี้.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า บุคคลใดมีศรัทธาที่มาโดยถูกทาง คือ มรรค ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ จึงไม่หวั่นไหว คือไม่เอนเอียงใน พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งมั่นแล้วด้วยดี. บัณฑิตพึงนำบทว่า อตฺถิ มาเชื่อมเข้าด้วย.

บทว่า อริยกนฺตํ ได้แก่ อันพระอริยะทั้งหลายชอบใจ รักใคร่ เพราะไม่ละแม้ในระหว่างภพ.

บทว่า ปสํสิตํ มีวาจาประกอบความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว คือมีความยกย่อง ชมเชย. ก็ศีลนี้นั้น มี ๒ อย่างคือ ศีลของคฤหัสถ์ และศีลของบรรพชิต.

ในบรรดาศีล ๒ อย่างเหล่านั้น ศีลคือสิกขาบท ๕ ที่คฤหัสถ์สามารถจะรักษาได้ ชื่อว่าศีลของคฤหัสถ์. ปาริสุทธิศีล ๔ ทั้งหมด รวมทั้งศีลคือสิกขาบท ๑๐ ชื่อว่าศีลของบรรพชิต ศีลนี้นั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 296

พึงทราบว่างาม. เพราะไม่ถูกความวิบัติมีความที่ศีลขาดเป็นต้น ถูก ต้องแล้ว.

บทว่า สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความว่า บุคคลใดมีความเลื่อมใส คือมีศรัทธาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้วในพระอริยสงฆ์ โดยนัย มีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ดังนี้. บัณฑิตพึงนำคำว่า อจโล สุปฺปติฏฺฐิโต ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ดังนี้ มาประกอบเข้าด้วย.

บทว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ มีวาจาประกอบความว่า บุคคลใดมีความเห็นแม้ทั้งสองอย่าง คือความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน และ ความเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย ตรง คือไม่งอ ไม่คด เพราะไม่มีความคด คือทิฏฐิ และเพราะไม่มีความคดคือกิเลส บุคคลนั้นชื่อว่า มีความ ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว.

บทว่า อทลิทฺโท ความว่า พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวผู้นั้น คือบุคคลเช่นนั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน เพราะเขามีทรัพย์อันหมดจดด้วยดีเหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์ คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา.

บทว่า อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ ความว่า ชีวิตของผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้นไม่ไร้ประโยชน์ คือไม่ว่างจากการบรรลุถึงประโยชน์ มีประโยชน์ที่เป็นทิฏฐิธรรม คือปัจจุบันเป็นต้น ได้แก่เป็นชีวิตที่มีผลแน่นอน.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธาตามที่กล่าวไว้แล้วเป็นต้น บัณฑิตเรียกว่าเป็นผู้ไม่ขัดสน มีชีวิตไม่ไร้ประโยชน์ ฉะนั้น ถึงตัวเรา ก็พึงเป็นผู้เช่นนั้นบ้าง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 297

บทว่า สทฺธญจ ฯเปฯ สาสนํ ความว่า นักปราชญ์เมื่อหวนระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสไว้แล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า การไม่การทำบาปทั้งปวง ดังนี้ พึงประกอบ คือพึงพอกพูน ศรัทธา ศีล มีประเภทดังกล่าวไว้แล้ว และการเลื่อมใสอันมีการเห็นธรรมเป็นเหตุ อันเป็นความหลุดพ้น ด้วยความตระหนักแน่นในธรรม และความเลื่อมใส ให้เจริญขึ้นเถิด.

พระเถระเมื่อจะประกาศคุณที่มีอยู่ในตน ด้วยมุ่งแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายอย่างนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตผล.

จบอรรถกถาสิริมิตตเถรคาถาที่ ๒