๑. ภูตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระภูตเถระ
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 307
เถรคาถา นวกนิบาต
๑. ภูตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภูตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 307
เถรคาถา นวกนิบาต
๑. ภูตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภูตเถระ
[๓๖๙] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์ แล้วจมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้นย่อมไม่ประสบความยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดีในวิปัสสนาและในมรรคผล
เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอันนำทุกข์มาให้ อันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ นำมาซึ่งทุกข์ อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด บัณฑิตถูกต้องทางอันสูงสุดเป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญา มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณานั้น
เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบทอันไม่ทำให้เศร้าโศก ปราศจากธุลีอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่ง ไม่ได้ อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น
เมื่อใด กลอง คือเมฆอันเกลื่อนกล่นด้วยสายฝน ย่อมคำรนร้องอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 308
นภากาศ อันเป็นทางไปแห่งฝูงนกอยู่โดยรอบ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ ประสบควานยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งธรรมนั้น
เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่ฝั่ง แม่น้ำทั้งหลาย อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุม และดอกมะลิที่เกิดในป่าอันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวก็พากันยินดีอยู่ในป่าใหญ่ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตน เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความ กระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด ภิกษุมีความสุข ยังมลทินกิเลส อันตรึงจิตและความโศกให้พินาศ ไม่มีกลอนประตู คืออวิชชา ไม่มีป่า คือตัณหา ปราศจากลูกศร คือกิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 309
พระภูตเถระผู้เห็นธรรมโดยถ่องแท้ เป็นผู้เดียวดุจนอแรด ได้ภาษิตคาถา ๙ คาถานี้ไว้ใน นวกนิบาต ฉะนี้แล.
จบภูตเถรคาถา
จบนวกนิบาต
อรรถกถานวกนิบาต
อรรถกถาภูตเถรคาถาที่ ๑
ใน นวกนิบาต มีคาถาของ ท่านพระภูตเถระ เริ่มต้นว่า ยทาทุกฺขํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
ท่านพระภูตะแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมบุญซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าสิทธัตถะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ได้นามว่าเสนะ พอรู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งพบพระศาสดา มีใจเลื่อมใส จึงชมเชยด้วยคาถา ๔ คาถา มีนัยเป็นต้นว่า อุสภํ ปวรํ (ใครได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้องอาจ) เป็นต้น.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นลูกชายของเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติมากในบ้านใกล้ประตูนครสาเกต. ได้ยินว่า ท่านเศรษฐีนั้นมีลูกหลายคน แต่ถูกยักษ์ตนหนึ่งจับกินเสีย เพราะผูกใจอาฆาตไว้. แต่สำหรับเด็กคนนี้ พวกภูตรักษาไว้เพราะเขาเป็นผู้เกิดในชาติสุดท้าย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 310
ฝ่ายยักษ์ไปสู่ที่บำรุงของท้าวเวสวัณยังไม่กลับ ก็ในวันตั้งชื่อ พวกญาติทั้งหลายได้พากันตั้งชื่อเด็กคนนี้ว่า ภูตะ เพราะ (คิดว่า) เมื่อตั้งชื่ออย่างนี้แล้ว พวกอมนุษย์จะเอ็นดูคุ้มครอง. ก็ด้วยผลบุญของเขา เด็กนั้นจึงไม่มีอันตราย เจริญวัยแล้ว คำว่าปราสาท ๓ หลัง ได้มีแล้ว ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด เหมือนที่กล่าวถึงสมบัติของพระยสกุลบุตร.
เด็กนั้นถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระนครสาเกต เขาพร้อมกับพวกอุบาสกพากันไปยังวิหาร ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว ได้เกิดศรัทธา บวชแล้วอยู่ในถ้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า อชกรณี เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน (๑) ว่า :-
ใครได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ชนะวิเศษ มีพระฉวีวรรณดังทองคำแล้ว แล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
ใครได้เห็น พระฌานของพระพุทธเจ้า อันเปรียบเหมือนภูเขาหิมวันต์ อันประมาณไม่ได้ ดังสาครอันกว้างใหญ่ แล้วจะ ไม่เลื่อมใสเล่า
ใครได้เห็นศีลของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบเหมือนแผ่นดินอันประมาณไม่ได้ ดุจมาลัยดอกไม้ป่าอันงดงาม แล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
ใครได้เห็นพระญาณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบดังท้องฟ้าอันหาขอบเขตุมิได้ ดุจอากาศอันนับไม่ได้ แล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๖๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 311
พราหมณ์ชื่อว่าเสนะ ได้สรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ด้วยคาถา ๔ คาถานี้แล้ว ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอด ๙๘ กัป เราได้เสวยสมบัติอันดีงามมิใช่น้อยในสุคติทั้งหลาย
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้นำของโลกแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้สูงศักดิ์ ๔ ครั้ง ทรงสมบูรณ์ด้วย รัตนะ ๗ ประการ มีหมู่พลานุภาพมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ... คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว สมัยต่อมา เมื่อจะทำการอนุเคราะห์หมู่ญาติ จึงไปยังพระนครสาเกต ได้รับการบำรุงจากพวกญาติ ๒ - ๓ วัน ก็ไปอยู่ในป่าไม้อัญชันแล้ว มีความประสงค์จะไปสู่ที่ที่ตนเคยอยู่แล้วนั่นแลอีก จึงแสดงอาการว่าจะไป. พวกญาติจึงพากันอ้อนวอนพระเถระว่า นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละเจ้าข้า, ตัวท่านเองก็จักไม่ลำบาก, ถึงพวกผมก็จักได้เจริญบุญเพิ่มขึ้น.
พระเถระเมื่อจะประกาศการยินดียิ่งในความสงัดและความอยู่ผาสุกสบายในป่านั้นของตน จึงกล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-
เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์ แล้วจมอยู่
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 312
เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีในเบญจขันธ์นั้นยิ่งไปกว่าความยินดีในวิปัสสนาและในมรรคผล
เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอันนำทุกข์มาให้ อันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ อันนำมาซึ่งทุกข์อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด บัณฑิตเห็นทางอันสูงสุด เป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญา มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณานั้น
เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบทอันไม่ทำให้เศร้าโศก ปราศจากธุลี อันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น
เมื่อใด กลองคือเมฆอันเกลื่อนกล่นด้วยสายฝน ย่อมคำรนร้องอยู่โดยรอบในนภากาศ อันเป็นทางไปแห่งฝูงนก และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย ซึ่งดารดาษไปด้วยดอกไม้ป่าเป็นช่อสวยงาม เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 313
การพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด มีฝนหลั่งลงในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวงาพากันยินดีอยู่ในป่าใหญ่อันสงัดเงียบ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตน เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความกระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด ภิกษุมีความสุข กำจัดกิเลสมลทิน ที่ตรึงจิตและความเศร้าโศกให้พินาศ ไม่มีกลอน ประตูคืออวิชชา ไม่มีป่าคือตัณหา ปราศจากลูกศร คือ กิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น.
บรรดาคาถาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบการพรรณนาเนื้อความแห่ คาถาแรก ซึ่งมีวาจาประกอบความเฉพาะบทที่เป็นประธานดังต่อไปนี้ :- ความแก่รอบแห่งขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า ชรา. ความแตก (แห่งขันธ์ทั้งหลาย) ชื่อว่า มรณะ. ก็ธรรมดาที่มีความแก่และความตาย ในที่นี้ท่านสงเคราะห์ มุ่งถึงชราและมรณะ.
ในกาลใด บัณฑิตคือภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้ทุกข์นั้น ด้วย มรรคปัญญา ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์, สิ่งมี ประมาณเท่านี้ เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นที่ยิ่งไปกว่าทุกข์นี้ ดังนี้ ในอุปาทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 314
เบญจขันธ์ ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้ง คือไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ความแก่และความตายนี้เป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว จมอยู่ คือผูกพันแนบแน่น เป็นผู้มีสติ คือมีสัมปชัญญะเพ่งพินิจอยู่ ด้วยลักขณูปนิชฌาน.
เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้ ความยินดียิ่งไปกว่า คือสูงสุดกว่าความยินดีในวิปัสสนา และความยินดีในมรรคและผล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ในกาลใดๆ ภิกษุพิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในครั้งนั้นๆ เธอย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ข้อนั้นเป็นอมตะของบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย
โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นเอกราชในแผ่นดินกว่าการไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง.
พระเถระครั้น แสดงถึงราตรีที่สงัด โดยมุ่งถึงการรู้ชัดด้วยการหยั่งรู้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงข้อนั้น โดยมุ่งถึงการปหานกิจ (ละ) เป็นต้นไป จึงกล่าวคาถา ๓ คาถามีคาถาที่ ๒ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺสาวหนึ (อันนำทุกข์มาให้) ได้แก่ เป็นไปเพื่อ ความทุกข์ในเบื้องหน้า อธิบายว่า ให้ผลเป็นทุกข์
บทว่า วิสตฺติกํ คือ ตัณหา. ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า แผ่ซ่านไป, เพราะอรรถว่า กว้างขวาง, เพราะอรรถว่า หลั่งไหลไปทั่ว เพราะอรรถว่า ไม่อาจหาญ, เพราะอรรถว่า นำไปสู่สิ่งมีพิษ. เพราะอรรถว่า หลอกลวง. เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ, เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ, เพราะอรรถว่า บริโภคเป็นพิษ, ก็อีก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 315
อย่างหนึ่ง ตัณหานั้น ที่กว้างขวางใหญ่โต ท่านเรียกว่าวิสัตติกา เพราะ อรรถว่า แพร่กระจายไป ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ ตระกูล และหมู่คณะ.
บทว่า ปปญฺจสงฺฆาตทุขาธิราหินึ ความว่า ชื่อว่า ปปัญจะ เพราะ อรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า คือให้ยืดยาว ได้แก่ ราคะเป็นต้น และได้แก่มานะเป็นต้น. ปปัญจธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า สังฆาตา เพราะอรรถว่า รวบรวมทุกข์ที่เกิดขึ้นไว้, และ ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีสภาวะกระวนกระวายและเร่าร้อน เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปปัญจสังฆาตทุขาธิวาหินี เพราะนำมาเฉพาะ คือ เพราะเกิดความทุกข์ที่รวบรวมไว้ซึ่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า ตณฺหํ ปหนฺตฺวาน ได้แก่ ตัดได้เด็ดขาดซึ่งตัณหานั้นด้วยอริยมรรค.
บทว่า สิวํ ได้แก่ เกษม, อธิบายว่า ด้วยการตัดได้เด็ดขาดซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันเป็นตัวทำความไม่ปลอดโปร่งให้ บัณฑิตเหล่านั้นจึงไม่เดือดร้อน.
ทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ชื่อว่า เทฺวจตุรงฺคคามินํ เพราะอรรถว่า ให้พระอริยะทั้งหลายถึงพระนิพพาน ก็ในคาถานี้ พึงเห็นว่า ท่านทำการลบวิภัตติ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปคาถา.
ชื่อว่า มคฺคุตฺตมํ เพราะเป็นทางสูงสุด ในบรรดาทางทั้งหมดมีทางที่เกิดขึ้นแห่งรูปเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส ว่า มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย เป็นต้น. ชื่อว่า สพฺพกิเลสโสธนํ เพราะชำระสัตว์ทั้งหลายให้สะอาดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 316
บทว่า ปญฺญาย ปสฺสิตฺวา ได้แก่ เข้าถึงแล้ว ด้วยอำนาจการรู้เฉพาะภาวนา โดยปฏิเวธปัญญา.
ชื่อว่า อโสกํ เพราะความเศร้าโศกในที่นี้ไม่มี เพราะเหตุไม่มีเหตุแห่งความเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุที่ทำให้คนเศร้าโศก.
ชื่อว่า วิรชํ เพราะธุลีมีราคะเป็นต้นไปปราศแล้วอย่างนั้น.
ชื่อว่า อสงฺขตํ เพราะอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้.
ชื่อว่า สนฺตํ ปทํ เพราะสงบระงับกิเลสทั้งปวง และทุกข์ทั้งปวง ได้ และเพราะเว้นและพ้นจากการถูกเบียดเบียนในสังสารทุกข์.
ชื่อว่า สพฺพกิเลสโสธนํ เพราะเป็นเหตุชำระสันดานของสัตว์ให้สะอาดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวง.
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมบรรลุด้วยอำนาจตรัสรู้ด้วยการกระทำให้แจ้ง. แท้จริง พระเถระกล่าวอย่างนี้โดยยกขึ้นซึ่งอารมณ์ที่พึงเหนี่ยวนึกมาให้เป็นคุณวิเศษที่ได้อยู่ แห่งพระโยคาวจร ผู้ปรารถนาพระนิพพานหลายๆ ครั้งแล้ว ยังการตรัสรู้โดยการกระทำให้แจ้ง ให้เป็นไปอยู่. ชื่อว่า เป็นเครื่องตัดกิเลสเครื่องผูกคือ สังโยชน์ (สัญโญชนพันธนัจฉิทะ) เพราะตัดเครื่องผูกพันทั้งหลาย คือ สังโยชน์ได้.
จริงอยู่ ในคาถานี้ ท่านใช้เครื่องหมาย โดยความเป็นผู้กระทำ เหมือนสัจจะทั้งหลาย ที่ทำความเป็นอริยะ. ท่านเรียกว่า อริยสัจ ฉะนั้น มีวาจาประกอบความว่า ในคาถานี้ ในเวลาที่เจริญสันตบท ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น เหมือนมีวาจาประกอบ ความว่า ในคาถาก่อนๆ ในเวลาที่เพ่งพินิจ ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณานั้นฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 317
พระเถระ ครั้นน้อมนำตนให้เข้าไปด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์ โดยระบุถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔ ประการ บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงความผาสุกแห่งสถานที่ที่ตนอยู่แล้ว โดยความสงัด เงียบ จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย มีคาถาเริ่มต้นว่า ยทา นเภ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ. กลองคือเมฆ
ชื่อว่า เมฆทุนฺทุภิ เพราะมีเสียงนุ่มนวล กังวาน และกึกก้อง.
ชื่อว่า ธารากุลา เพราะเกลื่อนกล่น ด้วยสายน้ำที่ไหลมาจากทุกทิศ มีวาจาประกอบความว่า ในนภากาศ อันชื่อว่าเป็นทางไปแห่งฝูงนก เพราะเป็นทางไปแห่งฝูงนกเหล่าปักษี.
บทว่า ตโต โยค ฌานรติโต แปลว่า กว่าความยินดีในฌาน.
บทว่า กุสุมากุลานํ ได้แก่ ดารดาษด้วยดอกโกสุมที่หล่นแล้ว จากต้น.
บทว่า วิจิตฺตสาเนยฺยวฏํสกานํ ความว่า ชื่อว่า ดอกมะลิป่า เพราะเกิดในป่า แม่น้ำมีพวงมาลัยดอกมะลิป่าอันวิจิตร ชื่อว่า วิจิตฺตวาเนยฺยวฏํสกา อธิบายว่า แม่น้ำมีพวงมาลัยดอกไม้ป่านานาชนิด. ชื่อว่า ผู้มีใจเบิกบาน เพราะเขามีใจดี ด้วยอำนาจอุตริมนุสธรรมเพ่งอยู่.
บทว่า นิสีเถ ได้แก่ ในเวลาราตรี. บทว่า รหิตมฺหิ ได้แก่ ในที่สงัดเงียบ ปราศจากความเบียดเสียดแห่งหมู่ชน.
บทว่า เทเว ได้แก่ เมฆ. บทว่า คฬนฺตมฺหิ ได้แก่ มีสายน้ำฝน หลั่งไหล ตกลง.
บทว่า ทาิโน ได้แก่ ฝูงสัตว์ที่เป็นปฏิปักษ์ มีราชสีห์และ เสือโคร่งเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้น มีเขี้ยวเป็นอาวุธ ท่านจึงเรียกว่า สัตว์มีเขี้ยวงา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 318
คำว่า นทนฺติ ทาิโน แม้นี้ ท่านถือเอาก็เพื่อจะแสดงชี้ถึงความสงัดเงียบจากหมู่ชนเท่านั้น.
บทว่า วิตกฺเก อุปรุนฺธิยตฺตโน ความว่า กำจัดมิจฉาวิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น โดยพลังแห่งความเป็นปฎิปักษ์ของตน ที่ชื่อว่าของตน เพราะมีอยู่ในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตโน นี้ พึงประกอบ เข้าด้วยบทว่า วินฺทติ นี้ว่า เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น ดังนี้.
บกว่า นคนฺตเร แปลว่า ภายในภูเขา.
บทว่า นควิวรํ ได้แก่ ถ้ำภายในภูเขา หรือเงื้อมเขา.
บทว่า สมสฺสิโต ได้แก่ เข้าไปโดยการอาศัยอยู่.
บทว่า วีตทฺทโร ได้แก่ ปราศจากกิเลสเป็นเหตุให้กระวนกระวาย ได้.
บทว่า วีตขิโล ได้แก่ ละกิเลสดุจตะปูตรึงใจเสียได้. บทว่า สุขี ได้แก่ มีความสุข ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌานเป็นต้น.
บทว่า มลขิลโสกนาสโน ได้แก่ ละมลทินมีราคะเป็นต้น ละกิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ ประการ และละความเศร้าโศกอันมีความพลัดพราก จากญาติเป็นต้นเป็นเหตุได้.
บทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ อวิชชา ท่านเรียกว่า กลอนประตู เพราะห้ามการเข้าไปใกล้พระนิพพาน, เรียกว่า นิรคฺคโฬ เพราะไม่มีกลอนประตูคืออวิชชานั้น.
บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ไม่มีตัณหา. บทว่า วิสลฺโล ได้แก่ ปราศจากลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 319
บทว่า สพฺพาสเว ได้แก่ ทำอาสวะทั้งหมดมีกามาสวะเป็นต้น (ให้สิ้นไป).
บทว่า พฺยนฺติกโต มีวาจาประกอบความว่า เมื่อใดภิกษุทำ (อาสวะ) ให้สิ้นไป คือทำกิเลสให้ปราศไปด้วยอริยมรรค ดำรงอยู่ เพ่งพินิจ เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าความยินดีในการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น. ก็พระเถระ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็มุ่งตรงไปสู่ฝั่งแม่น้ำอชกรณีแล.
จบอรรถกถาภูตเถรคาถา
จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา
นวกนิบาต