พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40645
อ่าน  365

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 394

เถรคาถา ทสกนิบาต

๖. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 394

๖. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ

[๓๗๕] ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียง อื้ออึง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้ายเพราะการหลีกเร้น ออกเป็นเหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จาก ป่าช้า จากตรอกน้อยตรอกใหญ่ แล้วทำเป็นผ้านุ่งห่ม พึงทรงจีวรอันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครอง ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก คือตามลำดับสกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของๆ ตนแม้จะเป็น ของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก เพราะใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีใน ฌาน ภิกษุควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบ สงัด เป็นมุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวก บรรพชิตทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้ เป็นดังคนบ้าและคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใครๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ กระทั่ง เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จัก ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต มีนิมิตอันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมถะและวิปัสสนา ตามเวลาอันสมควรอยู่เนืองๆ พึงเป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 395

ด้วยความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อ ด้วยความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึงความ วางใจ อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ เป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุทั้งหลายย่อมบรรลุ นิพพาน.

จบอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถาที่ ๖

มีคาถาท่านพระอุปเสนเถระว่า วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านพระอุปเสนเถระรูปนี้ บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในหังสวดีนคร พอ เจริญวัยแล้วไปฟังธรรมยังสำนักของพระศาสดาเห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุ รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความเลื่อมในโดยรอบ แล้ว จึงกระทำบุญญาธิการไว้ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ปรารถนา ตำแหน่งนั้น ตลอดชีวิตทำแต่กุศล จึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี ในนาลกคาม และเขาได้มีชื่อว่า อุปเสนะ.

อุปเสนะนั้น เจริญวัยแล้ว พอเรียนไตรเพทจบแล้ว ฟังธรรมใน สำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาบวชแล้ว มีพรรษาเดียว ต้องการเพื่อ ให้อุปสมบท จึงให้กุลบุตรคนหนึ่ง อุปสมบทในสำนักของตน ด้วยคิดว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 396

เราจะยังห้องแห่งพระอรหัตให้เจริญ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา พร้อมกับกุลบุตรนั้น พระศาสดาทรงสดับว่า ภิกษุนั้นยังไม่มีพรรษาแต่มี ลัทธิวิหาริก จึงทรงติเตียนว่า เร็วนักแล โมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อการ เป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย เธอจึงคิดว่า บัดนี้เราถูกพระศาสดาทรงติเตียน เพราะอาศัยบุรุษนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราอาศัยบุรุษนี้แหละ จักให้ พระศาสดาตรัสสรรเสริญบ้าง ดังนี้แล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า :-

เราได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ประเสริฐ สูง สุดกว่านระ ประทับนั่งอยู่ที่เงื้อมภูเขา เวลานั้น เราได้ เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน จึงเด็ดขั้วมันแล้ว เอามา ประดับที่ฉัตร โปรย (กั้น) ถวายแด่พระพุทธเจ้า และ เราได้ถวายบิณฑบาต มีข้าวชั้นพิเศษ ที่จัดว่าเป็นโภชนะ อย่างดี ได้นิมนต์พระ ๘ รูป เป็น ๙ รูปทั้งพระพุทธเจ้า ให้ฉันที่บริเวณนั้น พระสยัมภูมหาวีระเจ้า ผู้เป็นบุคคล ผู้เลิศ ทรงอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายฉัตรนี้ (และ) ด้วยจิตอันเลื่อมใสในการถวายข้าวชั้นพิเศษนั้น ท่านจัก เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๓๖ ครั้ง และจักได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศ- ราชอันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน ในแสนกัปแต่กัปนี้


๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๙.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 397

วงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักสมภพ จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคดม โดยพระโคตร เมื่อพระศาสนากำลัง รุ่งเรือง ผู้นี้จักถึงความเป็นมนุษย์ เป็นทายาทในธรรม เป็นโอรส น้อมไปในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีพระนามว่าอุปเสนะ จักตั้งอยู่ในเอตทัคคะ ที่เป็นผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ เมื่อกาลเป็นไปถึงที่สุด เราถอนภพได้ทั้งหมด เราชนะ มารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงกายอันเป็นที่สุดไว้ คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔... ฯลฯ. .. พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้ตนเองสมาทานธุดงคธรรมทั้งหมด เป็นไปอยู่ ทั้งชักชวนให้ภิกษุพวกอื่นสมาทาน เพื่อประโยชน์แก่ธุดงค- ธรรมนั้นด้วย, ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดังเธอไว้ ใน ตำแหน่งที่เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ. สมัยต่อมา เมื่อเกิดการทะเลาะกันขึ้นในกรุงโกสัมพี และภิกษุสงฆ์แตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย เธอถูกภิกษุรูปหนึ่งผู้ประสงค์จะหลีกเลี่ยงการทะเลาะนั้น ถามว่า บัดนี้เกิดการทะเลาะกันขึ้นแล้วแล, พระสงฆ์แตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย, กระผม จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล ดังนี้ เมื่อจะกล่าวถึงข้อปฏิบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ตั้งต้นแต่การอยู่อย่างสงบ จึงกล่าวคาถา๑เหล่านี้ว่า :-

ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้าย เพราะการหลีกเร้นออกเป็น


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๕.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 398

เหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จากป่าช้า จาก ตรอกน้อยตรอกใหญ่แล้ว ทำเป็นผ้านุ่งห่ม พึงทรงจีวร อันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครองทวาร สำรวม ดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก คือตามลำดับ สกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของๆ ตน แม้จะเป็นของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก เพราะใจ ของบุคคลผู้มีติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีในฌาน ภิกษุ ควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด เป็น มุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวกบรรพชิต ทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้เป็นดังคนบ้า และคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ควรเข้า ไปกล่าวว่าใครๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบกระทั่ง เป็นผู้สำรวมพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จักประมาณ ในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต มีนิมิต อันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมณะและวิปัสสนา ตามเวลา อันสมควรอยู่เนืองๆ พึงเป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วย ความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อ ด้วย ความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึงความวางใจ อาสนะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ เป็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 399

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ เสนาสนะอันสงัดจากหมู่ ชน ว่าง มีป่าเป็นต้น.

บทว่า อปฺปนิคฺโฆสํ ได้แก่ เงียบจากเสียง คือเว้นจากที่เสียดสี มากด้วยเสียง.

บทว่า วาฬฺมิคนิเสวิตํ ได้แก่ อันมีราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง และสัตว์ร้าย อยู่อาศัย. แม้ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงสถานที่อันสงบจาก หมู่คนนั้นแล เพราะแสดงว่าเสนาสนะสงัด.

บทว่า เสนาสนํ ได้แก่ สถานที่อยู่โดยความสมควรเพื่อจะนอน และเพื่อจะอาศัย ท่านประสงค์เอาว่า เสนาสนะ. ในที่นี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานการณา ได้แก่ มีการหลีกเร้นออกเป็นเครื่อง หมาย คือเพื่อจะชักจิตกลับจากอารมณ์ต่างๆ แล้ว ให้จิตแอบแนบอยู่ โดยถูกต้อง เฉพาะในกัมมัฏฐานเท่านั้น.

พระเถระครั้นชี้แจงถึงเสนาสนะ อันสมควรแก่การเจริญภาวนา แสดงความสันโดษในเสนาสนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความสันโดษ นั้น แม้ในปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จึงกล่าวคำว่า สงฺการปุญฺชา ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺการปุญฺชา ได้แก่ กองแห่งหยากเยื่อ ทั้งหลาย ชื่อว่า กองแห่งหยากเยื่อ. จากที่กองหยากเยื่อนั้น.

บทว่า อาหตฺวา แปลว่า เก็บมาแล้ว.

บทว่า ตโต แปลว่า จากท่อนผ้าเศษที่นำมาแล้วเช่นนั้น. จริงอยู่ คำนี้เป็นปัญจมีวิภัตติ ใช้ลงในเหตุ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 400

บทว่า ลูขํ ได้แก่ เศร้าหมอง ด้วยความเศร้าหมองในการตัด และ ด้วยความเศร้าหมองในการย้อมเป็นต้น คือมีสีไม่สะอาด และถูกจับต้อง แล้ว.

บทว่า ธาเรยฺย ความว่า ท่านกล่าวว่าเป็นผู้สันโดษในจีวร เพราะ พึงบริหารด้วยอำนาจการนุ่งห่มเป็นต้น.

บทว่า นีจํ มนํ กริตฺวาน ความว่า อนุสรณ์ถึงโอวาทของพระสุคตเจ้าเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่งชีวิต ดังนี้ แล้ว ทำจิตให้ร่าเริงในการทำลายมานะ.

บทว่า สปทานํ ได้แก่ เว้นจากการเกี่ยวข้องในเรือนทั้งหลาย อธิบายว่า ตามเรือน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กุลา กุลํ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า กุลา กุลํ ได้แก่ จากตระกูลสู่ตระกูล อธิบายว่า ตามลำดับ ตระกูล คือตามลำดับเรือน.

บทว่า ปิณฺฑิกาย ความว่า ท่านกล่าวความสันโดษในบิณฑบาต ด้วยภิกษาที่เจือปนกันนี้.

บทว่า คุตฺตทฺวาโร ได้แก่ คุ้มครองจักษุทวารเป็นต้นดีแล้ว.

บทว่า สุสํวุโต ได้แก่ สำรวมแล้วด้วยดี เพราะไม่มีความคะนอง มือเป็นต้น.

อปิ ศัพท์ ในคำว่า ลูเขนปิ วา นี้ เป็นสมุจจยัตถะ. วา ศัพท์ เป็นวิกัปปิตถะ. ความว่า พึงยินดีโดยชอบสม่ำเสมอในความสันโดษ ด้วย ปัจจัยตามมีตามได้ ที่ได้มาโดยง่าย ไม่เลือกว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ ทั้งสองอย่างคือ ทั้งเศร้าหมอง ทั้งเป็นของน้อย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า นาญฺํ ปตฺเถ รสํ พหุํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 401

บทว่า นาญฺํ ปตฺเถ รสํ พหุํ ความว่า ไม่พึงปรารถนา คือพึง ละบิณฑบาตที่มากและประณีต อันมีรสอร่อยเป็นต้นอย่างอื่น จากที่ตน ได้แล้วเสีย ด้วยบทนี้ ท่านย่อมแสดงถึงความสันโดษ แม้ในคิลานปัจจัย ด้วย.

ก็ท่านเมื่อจะกล่าวถึงเหตุ เพื่อห้ามความติดใจในรสทั้งหลาย จึง กล่าวว่า ใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีในฌาน ดังนี้ เป็นต้น. อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่ทำอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์ จะทำจิตให้ สงบจากความฟุ้งซ่านได้ แต่ที่ไหนเล่า.

พระเถระ ครั้นแสดงถึงข้อปฏิบัติในการขัดเกลา ในเพราะปัจจัย ทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงกถาวัตถุที่เหลือทั้งหลาย จึงกล่าว คำเป็นต้นว่า อปฺปิจฺโฉ เจว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ ไม่มีความปรารถนา คือเว้นจากความปรารถนาในปัจจัย ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงการ ข่มตัณหาที่จะเกิดขึ้น ในเพราะปัจจัยทั้ง ๔ อย่าง. บทว่า สนฺตุฏฺโ ได้แก่ ความสันโดษ ด้วยความยินดีปัจจัย ๔ ตามที่ได้มา.

ก็บุคคลใด ไม่พึงเศร้าโศกถึงเรื่องที่แล้วมา ไม่พึง คิดถึงเรื่องที่ยังไม่มาถึง แต่พึงยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วย เหตุในปัจจุบัน บุคคลนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้สันโดษแล.

บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ละจากความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้ว ปลีก กายเข้าไปหาความสงัดสงบ. จริงอยู่ ในเรื่องความสงัดทางจิตเป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวข้างหน้า.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 402

บทว่า วเส ความว่า พึงประกอบในที่ทั้งปวง. ชื่อว่า มุนิ เพราะ ประกอบพร้อมด้วยโมไนยธรรม.

บทว่า อสํสฏฺโ ได้แก่ ไม่คลุกคลี เพราะไม่มีความคลุกคลีทาง การเห็น การฟัง การเจรจา การสมโภค และทางกาย คือเว้นจากความ คลุกคลีตามที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า อุภยํ ได้แก่ ไม่คลุกคลีด้วยชนทั้งสองพวก คือด้วยคฤหัสถ์ และด้วยบรรพชิต. จริงอยู่ คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ลงในเหตุ.

บทว่า อตฺตานํ ทสฺสเย ตถา ความว่า ถึงจะไม่เป็นบ้า เป็นใบ้ แต่ก็พึงแสดงคนเหมือนดังคนบ้าหรือคนใบ้, ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวถึง การละความอวดดีเสีย.

บทว่า ชโฬว มูโค วา นี้ ท่านทำเป็นรัสสะ เพื่อสะดวกแก่รูป คาถา, และ วา ศัพท์เป็นสมุจจยัตถะ.

บทว่า นาติเวลํ สมฺภาเสยฺย ความว่า ไม่ควรพูดเกินเวลา คือพูด เกินประมาณ. ได้แก่ พึงเป็นผู้พูดแต่พอประมาณ.

บทว่า สงฺฆมชฺฌมฺหิ ได้แก่ ในหมู่ภิกษุสงฆ์ หรือในประชุมชน. บทว่า น โส อุปวเท กญฺจิ ความว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติตามที่กล่าว แล้วนั้น ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใครๆ ที่ต่ำ ที่ปานกลาง หรือที่สูงสุด.

บทว่า อุปฆาตํ วิวชฺชเย ความว่า ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ กระทั่ง คือการเบียดเบียนทางกายเสีย.

บทว่า สํวุโต ปาฏิโมกฺขสฺมึ ความว่า พึงเป็นผู้สำรวมในพระปาติ- โมกข์ คือในพระปาติโมกขสังวรศีล ได้แก่ พึงเป็นผู้ปกป้องกายวาจา ด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 403

บทว่า มตฺตญฺู จสฺส โภชเน ความว่า พึงเป็นผู้รู้จักประมาณใน โภชนะ ในเพราะการแสวงหา การรับ การบริโภค และการเสียสละ.

บทว่า สุคฺคหีตนิมิตฺตสฺส ความว่า เมื่อจะกำหนดอาการของจิต นั้นว่า เมื่อเราทำไว้ในใจอย่างนี้ จิตได้เป็นสมาธิตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ พึง เป็นผู้มีนิมิตอันจิตถือเอาแล้วด้วยดีเป็นสมาธิ, บาลีว่า สุคฺคหีตนิมิตฺโต โส ดังนี้ก็มี, คำว่า โส นั้น โยค คำว่า โยคี แปลว่า พระโยคีนั้น.

บทว่า จิตฺตสฺสุปฺปาทโกวิโท ความว่า พึงเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เกิด ขึ้นกับจิต ทั้งที่หดหู่ และฟุ้งซ่านว่า เมื่อเจริญภาวนาอยู่ จิตมีความหดหู่ อย่างนี้, มีความฟุ้งซ่านอย่างนี้ ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อจิตหดหู่ พึงเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์เถิด, เมื่อ จิตฟุ้งซ่าน พึงเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์เถิด. ส่วนสติสัมโพชฌงค์ พึงปรารถนาทุกเมื่อเถิด ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตหดหู่เถิด ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สมถํ อนุยุญฺเชยฺย ความว่า พึงเจริญสมถภาวนา คือพึง ทำสมาธิที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ได้แก่ พึงเจริญ คือพึงพอกพูนสมาธิ ที่เกิดขึ้นแล้ว จนให้ถึงความชำนิชำนาญเถิด.

บทว่า กาเลน จ วิปสฺสนํ ความว่า ไม่พึงทำสมาธิตามที่ตนได้ แล้ว ให้เสื่อมไปหรือให้คงอยู่ ด้วยการไม่ครอบงำความชอบใจเสีย แต่ พึงทำให้อยู่ในส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ และพึงประกอบซึ่งวิปัสสนา ตามกาลอันสมควรเนืองๆ เถิด.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 404

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กาเลน จ วิปสฺสนํ ความว่า เมื่อประกอบ สมถะ ไม่พึงถึงความรังเกียจ ในกาลที่จิตนั้นมีความตั้งมั่น แต่พึงประกอบ วิปัสสนาเนืองๆ เพื่อบรรลุอริยมรรคเป็นต้นเถิด. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ ว่า :-

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุถึงแล้วซึ่งความคุ้นเคย ด้วยการ ได้สมาธิ หรือด้วยการอยู่อย่างสงัด ไม่ได้บรรลุความ สิ้นไปแห่งอาสวะได้ ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า วีรยสาตจฺจสมฺปนฺโน ดังนี้. ความเป็นไปติดต่อ ชื่อว่า สาตัจจะ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือประกอบพร้อม แล้วด้วยความเพียรที่เป็นไปติดต่อ คือความเพียรที่เป็นไปแล้วติดต่อกัน อธิบายว่า ความเพียรที่คอยประคับประคองจิตอยู่เป็นนิตย์.

บทว่า ยุตฺตโยโค สทา สิยา ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบภาวนา ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด.

บทว่า ทุกฺขนฺตํ ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งวัฏทุกข์ คือนิโรธ นิพพาน อันเป็นที่สุดแล้ว ไม่พึงถึง คือไม่พึงถึง ความวางใจ, หรือ ไม่พึงวางใจว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ได้ฌาน ได้อภิญญา ให้วิปัสสนา ถึงที่สุด หยุดอยู่ดังนี้เลย.

บทว่า เอวํ วิหรมานสฺส ความว่า เป็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยวิธีอันถึงที่สุด เพราะตนมีความเพียร ประกอบด้วยอำนาจวิปัสสนา มีการเสพเสนาสนะอันสงัดเป็นต้น.

บทว่า สุทฺธกามสฺส ได้แก่ ของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์แห่ง ญาณทัสสนะ ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง พระนิพพาน และพระอรหัต,

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 405

อธิบายว่า อาสวะทั้งหมดมีกามาสวะเป็นต้น ของภิกษุผู้เห็นภัยในสงสาร ย่อมสิ้นไป คือย่อมถึงความสิ้นไป คือความตั้งอยู่ไม่ได้, ย่อมถึง คือย่อม บรรลุพระนิพพาน แม้ทั้งสองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิ- เสสนิพพาน ด้วยการถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะเหล่านั้นนั่นแล.

พระเถระ เมื่อจะแสดงว่าคนมีข้อปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยการแสดงการ ให้โอวาทแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ จึงได้พยากรณ์ความเป็นพระอรหัตไว้แล้ว.

จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถาที่ ๖