พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สังกิจจเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสังกิจจเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40647
อ่าน  405

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 416

เถรคาถา เอกาทสกนิบาต

๑. สังกิจจเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสังกิจจเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 416

เถรคาถา เอกาทสกนิบาต

๑. สังกิจจเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสังกิจจเถระ

อุบาสกคนหนึ่ง ได้อ้อนวอนขอให้สังกิจจสามเณรอยู่ในวิหารแห่ง หนึ่งด้วยคาถาว่า

[๓๗๗] ดูก่อนพ่อสามเณร จะมีประโยชน์อะไรในป่า ภูเขา ชื่อ อุชชุหานะ เป็นที่ไม่สบายในฤดูฝน เพราะฉะนั้น ภูเขาอุชชุหานะจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ลมหัวด้วน พัดมาอยู่ ท่านพอใจหรือ เพราะความเงียบสงัดเป็นที่ ต้องการของผู้เจริญฌาน.

สังกิจจสามเณรตอบว่า

ลมหัวด้วนในฤดูฝน ย่อมพัดผันเอาวลาหกไปฉันใด สัญญาอันประกอบด้วยวิเวก ย่อมคร่าเอาจิตอาตมามาสู่ ความสงัดก็ฉันนั้น กายคตาสติกัมมัฏฐาน อันประกอบ ด้วยความคลายกำหนัดในร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นแก่อาตมา ทันที เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ มีสีดำ เที่ยว อาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น บุคคลเหล่าอื่นย่อมไม่รักษา บรรพชิต และบรรพชิตก็ไม่รักษาคนเหล่าอื่น ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ไม่ห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข แอ่ง ศิลาซึ่งมีน้ำใส ประกอบด้วยหมู่ชะนีและค่าง ดารดาษ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 417

ไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังอาตมาให้ยินดี การที่อาตมาอยู่ ในเสนาสนะป่า คือ ซอกเขาและถ้ำอันเป็นที่สงัด เป็น ที่ซ่องเสพอาศัยแห่งมวลมฤค ย่อมทำให้อาตมายินดี อาตมาไม่เคยรู้สึกถึงความดำริอันไม่ประเสริฐ ประกอบ ด้วยโทษเลยว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงได้รับทุกข์ อาตมาได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาทำเสร็จแล้ว อาตมา ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธาต้องการแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ทั้งปวงแล้ว อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน ความเป็นอยู่ และรอเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้สิ้น เวลาทำงานฉะนั้น อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอเวลา ตายอยู่.

ในเอกาทสกนิบาตนี้ พระสังกิจจเถระองค์เดียวเท่านั้น ผู้เสร็จกิจแล้ว หมดอาสวะ ได้ภาษิตคาถาไว้ ๑๑ คาถา ถ้วน ฉะนี้แล.

จบสังกิจจเถรคาถา

จบเอกาทสกนิบาต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 418

อรรถกถาเอกาทสกนิบาต

อรรถกถาสังกิจจเถรคาถาที่ ๑

ในเอกาทสกนิบาต มีคาถาของท่านพระสังกิจจเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า กึ ตวตฺโถ วเน ตาต ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ในภพนั้นๆ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงสาวัตถี เมื่อท่านอยู่ในท้องนั้นเอง มารดาป่วยไข้ทำกาละไป. เมื่อมารดาถูกนำไป ป่าช้าเผาอยู่ มดลูกไม่ไหม้ พวกมนุษย์เอาหลาวแทงท้อง กระทบที่สุด ดวงตาของเด็ก. มนุษย์เหล่านั้นแทงท้องนั้นแล้ว เอาถ่านเพลิงกลบไว้ แล้วก็หลีกไป. แม้ส่วนแห่งท้องก็ไหม้, ส่วนเด็กเสมือนกับรูปพิมพ์ทองคำ บนอังคาร ได้เป็นเสมือนนอนอยู่บนกลีบปทุมฉะนั้น. จริงอยู่ ธรรมดา ว่าสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย ถึงจะถูกภูเขาสิเนรุท่วมทับไว้ ยังไม่บรรลุ พระอรหัตสิ้นชีวิตไปย่อมไม่มี.

รุ่งขึ้นพวกมนุษย์ไปสู่ที่ป่าช้า เห็นเด็กนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์ จิตไม่เคยมี จึงพาเด็กไปยังบ้าน ถามพวกทำนายนิมิต พวกทำนายนิมิต กล่าวว่า ถ้าเด็กนี้จักอยู่ครองเรือนไซร้ ตลอดชั่วคนตระกูลที่ ๗ ได้รับ ทุกข์ยาก๑ ถ้าจักบวชไซร้ ก็จักแวดล้อมไปด้วยสมณะ ๕๐๐ เที่ยวไป. พวกญาติกล่าวว่า เอาเถอะในเวลาเขาเจริญวัย พวกเราจักให้บวชใน สำนักท่านพระสารีบุตรเถระของเรา พลางกล่าวว่าสังกิจจะ เพราะถูกขอ แทงที่ลูกตา ภายหลังจึงตั้งชื่อว่า สังกิจจะ.


๑. ฉบับภาษาอังกฤษว่า ไม่มีความทุกข์ยาก.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 419

ในเวลาเธอมีอายุ ๗ ขวบ ได้ยินเรื่องที่ตนอยู่ในครรภ์ และการ ตายของมารดา ก็เกิดความสลดใจจึงกล่าวว่า ฉันจักบวช. พวกญาติ กล่าวว่า ดีละพ่อ ดังนี้แล้วนำไปยังสำนักของพระธรรมเสนาบดี ได้มอบ ให้ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โปรดให้เด็กนี้บวชเถิด. พระเถระได้ให้ ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เธอบวช. เธอบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาในขณะปลงผมนั้นเอง อยู่ในป่ากับภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ให้ ภิกษุเหล่านั้นพ้นจากมือโจร แม้ตนเองก็ทรมานโจรเหล่านั้นให้บวชแล้ว อยู่กับภิกษุเป็นอันมากในวิหารแห่งหนึ่ง เห็นภิกษุเหล่านั้นมัวทะเลาะกัน จึงบอกภิกษุเหล่านั้นด้วยคำว่า เราจะไปในที่อื่น ในเรื่องนี้มีความสังเขป เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงรู้โดยนัยอันมาแล้วในเรื่องแห่งพระธรรมบทนั่นแล.

ลำดับนั้น อุบาสกคนหนึ่งประสงค์จะอุปัฏฐากเธอ จึงอ้อนวอนให้ เธออยู่ในที่ใกล้ๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ดูก่อนพ่อสามเณร จะมีประโยชน์อะไรในป่า ภูเขา ชื่ออุชชุหานะ เป็นที่ไม่สบายในฤดูฝน เพราะฉะนั้น ภูเขาอุชชุหานะจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ลมหัวด้วน พัดมาอยู่ ท่านพอใจหรือ เพราะความเงียบสงัดเป็นที่ ต้องการของผู้เจริญฌาน.

สังกิจจสามเณรได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา๑เหล่านี้ว่า

ลมหัวด้วนในฤดูฝน ย่อมพัดผันเอาวลาหกไปฉันใด สัญญาอันประกอบด้วยวิเวก ย่อมคร่าเอาจิตอาตมามาสู่ ความสงัดก็ฉันนั้น กายคตาสติกัมมัฏฐาน อันประกอบ


๑. ขุ. เถร ๒๖/ข้อ ๓๗๗.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 420

ด้วยความคลายกำหนัดในร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นแก่อาตมา ทันที เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ มีสีดำ เที่ยว อาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น บุคคลเหล่าอื่นย่อมไม่รักษา บรรพชิต และบรรพชิตก็ไม่รักษาคนเหล่าอื่น ภิกษุ นั้นแลเป็นผู้ไม่ห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข แอ่งศิลาซึ่งมีน้ำใส ประกอบด้วยหมู่ชะนีและค่าง ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังอาตมาให้ยินดี การที่อาตมา อยู่ในเสนาสนะป่า ซอกเขาและถ้ำอันเป็นที่สงัด เป็นที่ ซ่องเสพแห่งมวลมฤค ย่อมทำให้อาตมายินดี อาตมา ไม่เคยรู้สึกถึงความดำริอันไม่ประเสริฐประกอบด้วยโทษ เลยว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงได้ รับทุกข์ อาตมาได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว คำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาทำเสร็จแล้ว อาตมา ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธาต้องการแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ทั้งปวงแล้ว อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน ความเป็นอยู่ และรอเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้สิ้น เวลาทำงานฉะนั้น อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน ความเป็นอยู่ และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอ เวลาตายอยู่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 421

ศัพท์ กึ ในบทว่า กึ ตวตฺโถ วเน นี้ ในคาถานั้น ท่านกล่าว ด้วยลิงควิปัลลาส. อธิบายว่า ท่านจะประโยชน์อะไรในป่า, คือจะเป็น ประโยชน์อะไร?

บทว่า อุชฺชุหาโนว ปาวุเส ความว่า ภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า อุชฺชุ- หานะ. ก็ภูเขานั้นดารดาษไปด้วยรกชัฏ มีแอ่งน้ำและซอกเขามาก, มี น้ำไหลในที่นั้นๆ ไม่เป็นสัปปายะในฤดูฝน, เพราะฉะนั้น ภูเขาชื่อว่า อุชชุหานะ จึงมีประโยชน์ในบัดนี้คือในฤดูฝน. แต่ในที่นี้อาจารย์บาง พวกกล่าวว่า นกตัวหนึ่งชื่อว่า อุชชุหานะ จึงอดทนความหนาวไม่ได้, ในฤดูฝนมันจึงแอบอยู่ในพุ่มป่า, ตามมติของอาจารย์บางพวกนั้น ท่าน จะมีความพอใจในป่าหรือ เหมือนนกชื่อว่า อุชชุหานะ ในฤดูฝนฉะนั้น. บทว่า เวรมฺภา รมณิยา เต มีวาจาประกอบความว่า ลมหัวด้วน พัดมาอยู่ ท่านจะมีความพอใจหรือ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าใน ภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า เวรัมภา และว่าเงื้อมเขา. ก็ในที่นั้นประกอบด้วย คมนาคม เว้นจากความแออัดแห่งหมู่ชน และเพียบพร้อมด้วยร่มเงาและ น้ำ, เพราะฉะนั้น ถ้ำเวรัมภาจึงเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ สมควรที่จะอยู่ในป่า, เพราะเหตุไร? เพราะเป็นที่สงัดสำหรับผู้เข้าฌาน, เพราะเหตุที่ผู้เข้าฌาน เช่นนั้น จำต้องปรารถนาเฉพาะความสงัด ในที่ใดที่หนึ่ง ฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า เจ้าอย่าไปสู่ป่าอันไกล จงอยู่ในถ้ำเวรัมภาเถิดพ่อ.

ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เพราะเหตุเมื่อผู้เข้าฌาน ได้เสนาสนะ อันผาสุกแก่การอยู่ ควรเป็นที่สงัดนั่นแล ฌานเป็นต้นย่อมสำเร็จ เมื่อ ไม่ได้ หาสำเร็จไม่ ฉะนั้น ในฤดูฝนเห็นปานนั้น ท่านไม่ควรอยู่ในป่า แห่งใดแห่งหนึ่ง แต่อาจอยู่ได้ในถ้ำและเงื้อมเขาเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 422

เมื่ออุบาสกกล่าวอย่างนั้น พระเถระเมื่อแสดงว่า ป่าเป็นต้นเท่านั้น ย่อมยังเราให้ยินดี จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถา อพฺภานิ ดังนี้.

คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ในฤดูฝนลมหัวด้วนบันลือลั่น ทำเมฆหมอก ให้ตกลงมาไปฉันใด สัญญาอันเกี่ยวด้วยวิเวก ย่อมทำจิตของเราให้กระจัด กระจาย ย่อมรั้งมาสู่เฉพาะสถานที่สงัดเท่านั้นฉันนั้น.

เหมือนอะไรเล่า? เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ไม่ขาวคือ สีดำ เที่ยวอาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น.

บทว่า อุปฺปาทยเตว เม สตึ สนฺเทหสฺมึ วิราคนิสฺสิตํ ความว่า กายคตาสติกรรมฐานอันประกอบด้วยความคลายกำหนัดในกายนี้ ย่อมเกิด ขึ้นแก่อาตมาทันที. ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระเห็นซากมนุษย์ที่กาจิกกิน กลับได้อสุภสัญญา ที่ท่านหมายเอาจึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงแสดงว่า เราปรารถนาจะอยู่ในป่าเท่านั้น เพราะฉันทราคะในกายไม่มี โดยประการทั้งปวง.

ก็ศัพท์ว่า ยญฺจ เป็นสมุจจยัตถะ ด้วย ศัพท์นั้น ท่านแสดงว่า ท่านจงฟังเหตุแห่งการอยู่ในป่าของเราแม้อื่น. ชนเหล่าอื่นมีเสวกเป็นต้น ย่อมไม่รักษาบรรพชิตใด เพราะไม่มีผู้ที่จะพึงรักษา เหตุเป็นผู้อยู่ด้วย กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ และเหตุไม่มีเครื่องบริขารอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความโลภ, อนึ่ง บรรพชิตใดไม่รักษา ชนเหล่าอื่นอันพัวพันด้วยเครื่อง กังวลอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีบุคคลเช่นนั้นนั่นเอง.

บทว่า ส เว ภิกฺขุ สุขํ เสติ ความว่า ภิกษุนั้น ไม่มีความอาลัย คือเว้นจากความห่วงใยในวัตถุกามโดยประการทั้งปวง เพราะตัดกิเลสกาม ได้เด็ดขาด ย่อมอยู่เป็นสุขในที่ใดที่หนึ่ง, อธิบายว่า เป็นเสมือนในป่า ใกล้บ้าน เพราะผู้นั้นไม่มีความระแวงรังเกียจ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 423

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่ภูเขาและป่าเป็นต้นเป็นที่น่ารื่นรมย์ และ ความเป็นที่ๆ ตนเคยอยู่อาศัย ท่านจึงกล่าวว่า อจฺเฉทิกา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสิตํ เม ได้แก่สถานที่ๆ เราเคยอยู่ บทว่า วาฬมิคนิเสวิเต ได้แก่ ในป่าที่มีเนื้อร้าย มีราชสีห์และเสือ เป็นต้น.

ด้วยบทว่า สงฺกปฺปํ นาภิชานามิ ท่านแสดงถึงความเป็นผู้อยู่ด้วย กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ว่า อาตมาไม่รู้สึกถึงการให้เกิดความดำริชั่ว ต่างด้วยความพยาบาทและวิหิงสาเป็นต้นอันไม่ประเสริฐ จากจิตที่ประกอบ ด้วยโทษนั่นเองอย่างนี้ว่า ขอสัตว์ผู้มีปราณเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จงถูกฆ่า คือจงถูกประหารด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอกเป็นต้น จงถูกฆ่า จงถูกเบียดเบียนด้วย เครื่องประหารด้วยค้อนเป็นต้น หรือจงถึงคือประสบ ทุกข์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ความดำริผิดไม่เคยเกิดขึ้นเลย.

บัดนี้ ท่านแสดงถึงความที่กิจที่ตนทำ โดยนัยมีอาทิว่า ปริจิณฺโณ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจิณฺโณ ได้แก่ บำเรอแล้วด้วย อำนาจการทำตามโอวาทานุสาสนี.

บทว่า โอหิโต แปลว่า ปลงลงแล้ว.

บทว่า ครุโก ภาโร ได้แก่ ขันธภาระอันหนักกว่า.

บทว่า นาภินนฺทามิ มรณํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความตาย ว่า เราจะตายอย่างไรหนอ.

บทว่า นาภินนฺหามิ ชีวิตํ ความว่า เราไม่ปรารถนาแม้ชีวิตว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 424

อย่างไรหนอแล เราพึงมีชีวิตอยู่ได้นาน. ด้วยคำนี้ท่านแสดงถึงความที่ เรามีจิตเสมอกันในความตายและในชีวิต.

บทว่า กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ ความว่า เรารอการปรินิพพานเท่านั้น.

บทว่า นิพฺพิสํ แปลว่า ไม่เพลิดเพลิน คือการทำการงานเพื่อ ค่าจ้าง.

บทว่า ภตโก ยถา ความว่า ลูกจ้างกระทำการงานเพื่อคนอื่น แม้ ไม่เพลิดเพลินซึ่งความสำเร็จแห่งการงาน ก็คงกระทำการงานอยู่นั่นแล อ้างถึงความสิ้นไปแห่งวัน ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น จะไม่เพลิดเพลินถึงชีวิต ก็ดี จะไม่เพลิดเพลินถึงความตาย โดยยังอัตภาพให้เป็นไปก็ดี ก็ย่อม หวังเฉพาะกาลสิ้นสุด, คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสังกิจจเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

เอกาทสกนิบาต