พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สีลวเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40648
อ่าน  443

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 425

เถรคาถา ทวาทสกนิบาต

๑. สีลวเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 425

เถรคาถา ทวาทสกนิบาต

๑. สีลวเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ

[๓๗๘] ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวง มาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑ ความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วย ว่าผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชน ผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและความเสียชื่อเสียง ส่วน ผู้มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี ทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะ ฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้น ความทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร คือนิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระ ศีลให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธ อย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่า อัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 426

อย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้ สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียง อันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอัน ประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คน พาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลา ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์ โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญ ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับ ความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถาน ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้ เพราะศีลและปัญญา.

จบสีลวเถรคาถา

อรรถกถาทวาทสกนิบาต

อรรถกถาสีลวเถรคาถาที่ ๑

ในทวาทสกนิบาต คาถาของท่านพระสีลวเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สีลเมว ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 427

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์ ได้เป็น ผู้มีพระนามว่า สีลวะ. ครั้นเธอเจริญวัยแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์ จะฆ่าเธอ จึงยกขึ้นสู่ช้างตัวซับมันดุร้าย แม้พยายามอยู่ด้วยอุบายต่างๆ ก็ไม่สามารถจะให้ตายได้ เพราะท่านเกิดในปัจฉิมภพ ไม่มีอันตรายต่อชีวิต ในระหว่างยังไม่บรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความเป็น ไปของเธอ จึงตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระว่า เธอจงนำสีลวกุมารมา. พระเถระได้นำเธอมาพร้อมด้วยช้างด้วยกำลังแห่งฤทธิ์.

กุมารลงจากช้างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม อันสมควรแก่อัธยาศัย ของเธอ. เธอฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา บรรพชาบำเพ็ญวิปัสสนากรรม ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต อยู่ในโกศลรัฐ. ลำดับนั้นพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสั่งบังคับบุรุษทั้งหลายว่า พวกท่านจงฆ่า. ราชบุรุษเหล่านั้นไปยัง สำนักของพระเถระยืนอยู่แล้ว ฟังธรรมกถาที่พระเถระแสดง เกิดความ สังเวชมีจิตเลื่อมใสบวชแล้ว. พระเถระได้แสดงธรรมแก่บรรพชิตเหล่านั้น ด้วยคาถา (๑) เหล่านี้ ความว่า

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวงมา ให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑ ความ บันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วยว่า


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๘.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 428

ผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้ ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและการเสียชื่อเสียง ส่วนผู้ มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ ศีล เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระ ศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทำจิต ให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร คือนิพพานของ พระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็น อาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็น สะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็น เสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ ย่อม ได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญในเวลาที่มีชีวิตอยู่ใน โลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับความสุขโสมนัสใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 429

สวรรค์ ย่อมรื่นเริงในที่ทุกสถานในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็น ยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดในโลกนี้ ความชนะใน มนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา.

บทว่า อิธ ในบทว่า สีลเมวิธ สิกฺเขถ, อสฺมึ โลเก นี้ ในคาถา นั้น เป็นเพียงนิบาต. กุลบุตรผู้ใคร่ต่อประโยชน์ในสัตวโลกนี้ พึงศึกษา เฉพาะศีลในเบื้องต้น ต่างด้วยจาริตศีลและวาริตศีลเป็นต้น, และเมื่อจะ ศึกษาศีลนั้นให้เป็นอันศึกษาแล้วด้วยดี พึงศึกษากระทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ด้วยดี โดยให้ถึงภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น.

บทว่า อสฺมึ โลเก ความว่า ในเบื้องต้น พึงศึกษาศีล ในธรรม ที่ควรศึกษาในสังขารโลกนี้.

ท่านกล่าวว่า สีลํ หิ เป็นต้น เพราะความที่ศีลเป็นที่ตั้งมั่นแม้แห่ง ทิฏฐิสมบัติ.

ศัพท์ว่า หิ ในคาถานั้น เป็นตติยาวิภัตติ. เพราะศีลอันบุคคลเสพ แล้ว อบรมแล้ว รักษาแล้ว ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวงคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ แก่สัตว์ผู้พร้อมด้วยศีลนั้น.

เมื่อจะแสดงข้อความที่ท่านกล่าวไว้โดยสังเขปว่า ศีลย่อมน้อมนำ สมบัติทั้งปวงมาให้โดยพิสดาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สีลํ รกฺเขยฺย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺเขยฺย แปลว่า พึงรักษา. จริงอยู่ บุคคลเมื่องดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น และบำเพ็ญวัตรปฏิวัตรให้ บริบูรณ์ ชื่อว่า ย่อมรักษาศีลนั้น โดยครอบงำธรรมอัน เป็นข้าศึกเสียได้.

บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา. บทนี้เป็นบทแสดงอุบายเครื่อง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 430

รักษาศีลนั้น, จริงอยู่ การสมาทานศีลนั้น และการที่ศีลนั้นไม่กำเริบ ย่อมมีได้ด้วยกำลังแห่งญาณ.

บทว่า ปตฺถยมาโน แปลว่า เมื่อปรารถนา.

บทว่า ตโย สุเข ได้แก่ สุข ๓ อย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เหตุแห่ง ความสุข ท่านประสงค์ว่าความสุข.

บทว่า ปสํสํ แปลว่า ซึ่งเกียรติ, หรืออันวิญญูชนสรรเสริญ.

บทว่า วิตฺติลาภํ แปลว่า ได้ความยินดี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิตฺตลาภํ ได้ความปลื้มใจ, อธิบายว่า ได้ทรัพย์. จริงอยู่ ผู้มีศีลย่อม ประสบกองโภคะใหญ่ เพราะเป็นผู้ไม่ประมาท.

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ทำกาละแล้ว.

บทว่า สคฺเค ปโมทนํ เชื่อมความว่า ปรารถนาการบันเทิงด้วย กามคุณที่ชอบใจในเทวโลก. มีวาจาประกอบความว่า เมื่อปรารถนาความ สรรเสริญ คือได้ความปลื้มใจในโลกนี้ และความบันเทิงด้วยทิพยสมบัติ ในโลกหน้า พึงรักษาศีล.

บทว่า สญฺเมน ได้แก่ การสำรวมกายเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อ สำรวม ไม่เบียดเบียนใครๆ ด้วยกายทุจริตเป็นต้น ให้อภัยทาน ชื่อว่า ย่อมผูกมิตรไว้ได้ เพราะเป็นที่รักและเป็นที่พอใจ.

บทว่า ธํสเต แปลว่า ย่อมกำจัด.

บทว่า ปาปมาจรํ ได้แก่ กระทำบาปกรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ย่อมไม่คบบุคคลผู้ทุศีล, โดย ที่แท้ย่อมเว้นขาด.

บทว่า อวณฺณํ แปลว่า ซึ่งโทษมิใช่คุณ, หรือการครหาต่อหน้า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 431

บทว่า อกิตฺตึ ได้แก่ โทษมิใช่ยศ คือไม่มีชื่อเสียง บทว่า วณฺณํ แปลว่า คุณ.

บทว่า กิตฺตึ ได้แก่ ชื่อเสียง ความเป็นผู้ปรารถนายศ.

บทว่า ปสํสํ ได้แก่ ความชมเชยต่อหน้า.

บทว่า อาทิ แปลว่า เป็นมูล. จริงอยู่ ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ เธอจงชำระศีล อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น ให้หมดจดในกุศลธรรม. ก็อะไรเป็นเบื้องต้น แห่งกุศลธรรม ก็ศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดีเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม.

บทว่า ปติฏฺา ได้แก่ ตั้งมั่น, จริงอยู่ ศีลเป็นที่ตั้งแห่งอุตริ- มนุสธรรมทั้งหมด. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งอยู่ในศีล เป็นต้น.

บทว่า กลฺยาณญฺจ มาตุกํ ความว่า เป็นบ่อเกิด คือให้กำเนิด แห่งกัลยาณธรรม มีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น.

บทว่า ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ได้แก่ เป็นประมุข คือเป็นประธาน อธิบายว่า เป็นทวารแห่งความเป็นไปแห่งธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหมด มีปราโมทย์เป็นต้น.

บทว่า ตุสฺมา แปลว่า โดยความเป็นเบื้องต้นเป็นต้น. บทว่า วิโสธเย ได้แก่ พึงให้สำเร็จ โดยความเป็นศีลไม่ขาด เป็นต้น.

บทว่า เวลา ได้แก่ เป็นแดน อธิบายว่า เป็นเขต เพราะอรรถว่า ไม่ก้าวล่วงจากทุจริต. หรือว่าชื่อว่า เวลา เพราะทำความเป็นผู้ทุศีลให้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 432

ล่วงเลยไป คือกำจัดความเป็นผู้ทุศีล. ศีลชื่อว่า สังวร เพราะปิดทวาร แห่งการเกิดขึ้นแห่งกายทุจริตเป็นต้น.

บทว่า อภิหาสนํ ความว่า ชื่อว่า ยินดี เพราะความบันเทิงยิ่งแห่ง จิต โดยความเป็นเหตุไม่ต้องเดือดร้อน.

บทว่า ติตฺถญฺจ สพฺพพุทฺธานํ ความว่า และเป็นดุจท่าในการลอย มลทินคือกิเลส และในการหยั่งลงสู่มหาสมุทรคือพระนิพพาน แห่ง พระพุทธเจ้าทั้งปวง คือพระสาวกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัทมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ ได้แก่ เป็นกำลัง และเป็นเรี่ยวแรงแห่ง จอมทัพอันไม่มีผู้เสมอเหมือน ในการย่ำยีมารและเสนาแห่งมาร.

บทว่า อาวุธมุตฺตมํ ได้แก่ เป็นเครื่องประหารอันสูงสุด ในการ ตัดสังกิเลสธรรม. ชื่อว่า อาภรณ์ เพราะเพิ่มความงามแก่สรีระ.

บทว่า เสฏฺํ ความว่า เป็นสมบัติอันสูงสุด ตลอดกาลทั้งสิ้น. เป็น ประดุจเกราะ เพราะป้องกันสัตว์มีชีวิต, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่แตก กระจาย อธิบายว่า ไม่ทำลาย. ชื่อว่า เป็นสะพาน เพราะอรรถว่า ไม่จมลงด้วยกิเลส เพราะก้าวล่วงห้วงน้ำใหญ่คืออบาย และเพราะก้าวล่วง ห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร.

บทว่า มเหสกฺโข แปลว่า ผู้มีกำลังมาก.

บทว่า คนฺโธ อนุตฺตโร ความว่า กลิ่นอันยอดเยี่ยม เพราะฟุ้งทวน ลมไปในทิศทั้งปวง เหตุเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจของชนทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยน วาติ ทิโสทิสํ ความว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกลิ่น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 433

คือศีลนั้น ย่อมฟุ้งไปทั่วทิศน้อยทิศใหญ่ คือสู่ทิศทั้งปวง บาลีว่า ทิโสทิสา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า สู่ทิศ ๑๐.

บทว่า สมฺพลเมวคฺคํ ได้แก่ ข้าวห่อ ชื่อว่า เสบียง. บุรุษถือเอา ข้าวห่อเดินทางไป ไม่ลำบากด้วยความทุกข์เพราะความหิวในระหว่าง ทางฉันใด แม้ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลก็ฉันนั้น ถือเอาเสบียงคือศีลอันบริสุทธิ์ ดำเนินสู่ทางกันดารคือสงสาร ย่อมไม่ลำบากในที่ๆ ไปแล้วๆ เพราะ เหตุนั้น ศีลจึงชื่อว่า เป็นเสบียงอันเลิศ, อนึ่ง ศีลชื่อว่า เป็นเสบียงเดิน ทางอันยอดเยี่ยม เพราะไม่ทั่วไปกับโจรเป็นต้น และเพราะให้สำเร็จ สมบัติที่ปรารถนาในที่นั้นๆ เมื่อก้าวล่วงไป ชื่อว่านำไปให้ถึงที่นั้นๆ หรือ ที่ตามที่ปรารถนา. ชื่อว่า อติวาหะ นำไปยิ่ง, ได้แก่ ยานพาหนะ. ศีลเป็น ธรรมชาติอันใครๆ ประทุษร้ายไม่ได้ เป็นคุณชาติประเสริฐ เป็นพาหนะ อันประเสริฐยิ่ง เพราะเหตุให้ถึงฐานะที่ปรารถนาได้.

บทว่า เยน ได้แก่ ด้วย พาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก. บทว่า ยาติ ทิโสทิสํ ความว่า ย่อมฟุ้งนำทั้งผู้มาทั้งผู้ไปสู่ทิศนั้นๆ โดยสะดวกทีเดียว.

บทว่า อิเธว นินฺทํ ลภติ ความว่า คนมีปัญญาทรามแม้ในโลกนี้ เป็นผู้มีจิตอันกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้ายแล้ว ย่อมได้รับความนินทาครหาว่า ผู้นี้เป็นคนทุศีล เป็นคนมีธรรมอันลามก. ละไปแล้วแม้ใน ปรโลก ย่อมได้รับความนินทาจากยมบุรุษเป็นต้นในอบาย โดยนัยมีอาทิ ว่า เป็นชาติคนกาลี เป็นอวชาต ดังนี้. ย่อมได้รับแต่ความนินทาอย่าง เดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ เขาชื่อว่าเป็นคนพาลมีใจชั่วในที่ทุกสถาน คือเป็นผู้มีจิตอันประพฤติชั่วในโลกนี้ ประทุษร้ายแล้ว เพราะให้เกิดทุกข์

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 434

ด้วยอำนาจเหตุแห่งกรรมเป็นต้น เพราะเหตุนั้น เขาจึงเป็นผู้ชื่อว่า เป็น คนพาล เป็นผู้โทมนัสในที่ทุกสถาน.

อย่างไร? เพราะเขาเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีลทั้งหลาย คือมีจิตไม่ ตั้งอยู่ ไม่ประดิษฐานอยู่ในศีลทั้งหลายโดยชอบ.

บทว่า อิเธว กิตฺตึ ลภติ ความว่า ฝ่ายผู้มีใจดีในโลกนี้ ก็ย่อมได้ รับเกียรติว่า เป็นสัปบุรุษ มีศีลมีกัลยาณธรรม. เขาละไปแล้วแม้ในปรโลก ในสวรรค์ ย่อมได้รับเกียรติยศว่า ผู้นี้เป็นสัปบุรุษ มีศีลมีกัลยาณธรรม จริงอย่างนั้น เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพทั้งหลาย. ย่อมได้รับ แต่เกียรติยศอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ เขาได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพียบพร้อมด้วยปัญญา มีจิตตั้งมั่นอิ่มเอิบด้วยดี ประดิษฐานอยู่ด้วยดีใน ศีลทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีใจดี คือถึงพร้อมด้วยโสมนัส เพราะการประพฤติ สุจริตในโลกนี้ ในที่ทุกสถาน เพราะได้รับสมบัติในโลกหน้า.

ศีลในบทว่า สีลเมว อิธ อคฺคํ นี้ มี ๒ อย่าง คือโลกิยศีล ๑ โลกุตรศีล ๑. ในศีล ๒ อย่างนั้น โลกิยศีล อันดับแรก ย่อมนำคุณวิเศษ อันให้เกิดในความเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น ในกามโลก และเป็นเหตุ แห่งความเป็นบุคคลผู้ได้การอุบัติอันพิเศษ ในเทวโลก และพรหมโลก เป็นต้น. ส่วนโลกุตรศีลย่อมให้ก้าวล่วงวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นเสียได้ เพราะฉะนั้น ศีลชื่อว่าเป็นยอดโดยแท้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์ อย่างเลว ย่อมเข้าถึงความเป็นเทพด้วยพรหมจรรย์อย่าง กลาง และย่อมหมดจดด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 435

และว่า ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่า เราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร และว่า ภิกษุพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลายเท่านั้น, และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นของผู้มี ศีลย่อมสำเร็จ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนี้.

แต่ในภาวะที่เลิศ โลกุตรศีลละธรรมอันเป็นข้าศึกเสียได้โดยประการ ทั้งปวง ล่วงสังสารทุกข์เสียได้ดังแต่ภพที่ ๗ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงเลย

ด้วยบทว่า ปญฺวา ปน อุตฺตโม นี้ ท่านกล่าวถึงความที่ปัญญา นั่นแหละประเสริฐสุด โดยบุคลาธิษฐานว่า ก็บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมเป็น ผู้สูงสุด คือประเสริฐสุดอย่างยิ่ง.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงภาวะที่ศีลและปัญญาประเสริฐสุดโดยกิจ ท่านจึง กล่าวว่า ชัยชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา.

ก็บทว่า ชยํ นี้ พึงเห็นว่า เป็นลิงควิปลาส, บาลีที่เหลือว่า อหุ บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้า.

ชื่อว่า ปญฺาณํ เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว ในคาถานั้นเป็นอันชื่อว่า ชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เพราะศีลและปัญญา.

จริงอยู่ ปัญญาเว้นศีลเสียเกิดไม่ได้ และศีลเว้นปัญญาแล้ว ย่อม กระทำหน้าที่เอง, ก็ธรรมทั้งสองนั้นสนับสนุนซึ่งกันและกัน, สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปัญญาอันศีลชำระแล้ว ศีลอันปัญญาชำระแล้ว

บทว่า มนุสฺเสสุ จ เทเวสุ นี้ เป็นบทแสดงความพิเศษแห่งฐานะ ของศีลและปัญญานั้น, ความจริงในข้อนั้น ธรรมเหล่านั้น ย่อมมีความ แปลกกันเป็นไปอยู่ ก็ในข้อนั้น สมาธิย่อมเห็นด้วยศีล เพราะเป็นฐาน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 436

ของปัญญา หรือย่อมเห็นด้วยปัญญา เพราะทำให้เกิดและเป็นฐานของศีล เป็นต้น.

พระเถระเมื่อแสดงธรรมโดยยกศีลขึ้นเป็นประธาน แก่ภิกษุเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ จึงพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยแสดงถึงความที่ตนเป็น ผู้มีคุณธรรม มีศีลบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น.

จบอรรถกถาสีลวเถรคาถาที่ ๑