พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สุนีตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสุนีตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40649
อ่าน  344

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 437

เถรคาถา ทวาทสกนิบาต

๒. สุนีตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุนีตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 437

๒. สุนีตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุนีตเถระ

[๓๗๙] เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภค น้อย การงานของเราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้ เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตน ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้า ไปสู่พระนครอันอุดมของชาวมคธเพื่อบิณฑบาต เราจึง วางกระเช้าลงแล้วเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นอุดม บุรุษได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา ครั้งนั้นเราได้ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทูลขอบรรพชากะพระองค์ผู้ สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระศาสดาผู้มีพระกรุณาอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ได้ตรัสเรียกเราว่า จง เป็นภิกษุมาเถิด พระดำรัสนั้นเป็นอุปสมบทของเรา เมื่อ เราอุปสมบทแล้ว อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวไม่เกียจคร้าน ได้ ทำตามพระดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมารที่ทรงสั่งสอน เรา ในราตรีปฐมยาม เราก็ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ใน มัชฌิมยาม ก็ได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม เราก็ทำลาย กองแห่งความมืด คืออวิชชาได้ ครั้นรุ่งราตรีพระอาทิตย์ อุทัย เทพเจ้าเหล่าอินทร์และพรหมทั้งหลาย พากัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 438

ประนมอัญชลีนมัสการเรา พร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้ เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นทักขิไณยบุคคล ลำดับนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราห้อมล้อมด้วยหมู่เทพเจ้า จึงทรงยิ้มแย้ม แล้วตรัสเนื้อความนี้ว่า บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์เพราะคุณธรรม ๔ ประการ คือ ตบะ ๑ พรหมจรรย์ ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวบุคคล ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ มีตบะเป็นต้นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ผู้อุดม.

จบสุนีตเถรคาถา

ในทวาทสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูป คือ พระสีลวเถระ ๑ พระสุนีตเถระ ๑ ล้วนแต่มีมหิทธิฤทธิ์ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๒ คาถา รวมเป็น ๒๔ คาถา ฉะนี้.

จบทวาทสกนิบาต

อรรถกถาสุนีตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระสุนีตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นีเจ กุลมฺหิ ดังนี้ เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 439

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ใน กาลว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว ขวนขวาย ในการเล่นกีฬากับคนพาลทั้งหลายเที่ยวไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ หนึ่ง กำลังเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน จึงคำว่า ท่านจะประโยชน์อะไร ด้วย การปกปิดกายทั้งสิ้นแล้วเที่ยวภิกขาจารโดยประการทั้งปวง เหมือนร่าง ของหญิงสาว ควรจะหาเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรมและวาณิชกรรมเป็นต้น มิใช่ หรือ หากท่านไม่สามารถจะทำกสิกรรมเป็นต้นนั้นไซร้ ท่านจงนำปัสสาวะ และอุจจาระเป็นต้นในทุกๆ เรือนออกไป จงเลี้ยงชีพโดยการชำระล้างพื้น ในภายหลัง.

เพราะกรรมนั้น ท่านจึงไหม้ในนรก ด้วยเศษแห่งกรรมนั่นเอง จึงบังเกิดในตระกูลแห่งบุคคลผู้เทดอกไม้ สิ้นหลายร้อยชาติแม้ในมนุษยโลก. เลี้ยงชีพโดยอาการเช่นนั้น ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน ตระกูลแห่งบุคคลผู้เทดอกไม้นั้นเอง เมื่อไม่ได้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม ก็เลี้ยงชีพด้วยกรรมคือการชำระล้างอุจจาระ. ครั้งในปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าเคยประพฤติมา ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ทรงตรวจดู สัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต อัน ลุกโพลงในภายในหทัยของสุนีตะ เหมือนประทีปลุกโพลงในหม้อฉะนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว ทรงครองผ้าแต่เช้า ถือบาตรและจีวรแวดล้อมไปด้วย ภิกษุสงฆ์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินไปตามถนน ที่สุนีตะกระทำกรรมคือการชำระล้างอุจจาระ.

ฝ่ายสุนีตะ กระทำอุจจาระและหยากเยื่อและอาหารที่เป็นเดนเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 440

ในที่นั้นๆ ให้เป็นกอง แล้วใส่ในตะกร้าหาบหลีกไป เห็นพระศาสดา แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จมาอยู่ พรั่นพรึงมีหทัยวุ่นวายชื่นชมอยู่ และเมื่อไม่ได้โอกาสเป็นที่แอบซ่อน จึงวางหาบไว้ที่ข้างฝาเรือน ได้ยืน แอบฝาประคองอัญชลีโดยข้างหนึ่ง เหมือนตามเข้าไป อาจารย์บางพวก กล่าวว่า ท่านประสงค์จะหลีกไปโดยทางช่องฝาก็มี.

พระศาสดาเสด็จถึงที่ใกล้เธอ ทรงพระดำริว่า ผู้นี้ชื่นชมเราผู้อัน กุศลมูลกระตุ้นเตือนตนอยู่ แม้ในที่พร้อมหน้าก็ยังละอาย เพราะมีชาติ และกรรมเลว เอาเถิด เราจะให้เธอเกิดความแกล้วกล้า ดังนี้. จึงตรัส เรียกว่าสุนีตะ ด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมอันลึกซึ้ง บันลือไปทั่วนคร ด้วยเสียงไพเราะอ่อนหวานดังเสียงนกการะเวก แล้วตรัสว่า เพราะความ เป็นอยู่ลำบากนี้ เธอจักอาจเพื่อจะบวชได้ไหม?. สุนีตะถูกพระดำรัสของ พระศาสดารดเฉพาะ เหมือนถูกรดด้วยน้ำอมฤต จึงเสวยปีติและโสมนัส อย่างยิ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้บุคคลทั้งหลายผู้ เช่นข้าพระองค์ ย่อมได้บวชในที่นี้ไซร้ เพราะเหตุไร ถ้าพระองค์จักไม่ บวช ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงให้ข้าพระองค์ได้บวชเถิด.

พระศาสดาตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านได้ บรรพชาและอุปสมมทโดยเอหิภิกษุภาวะ ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย ฤทธิ์ เป็นราวกะว่าพระเถระ ๖๐ พรรษา ได้อยู่ในสำนักพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำท่านไปยังวิหาร ตรัสบอกกรรมฐานแล้ว. ท่าน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้บังเกิดก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา ได้ เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ เทพมีท้าวสักกะเป็นต้น และพรหมเข้าไปหาท่านแล้ว นมัสการ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 441

เทวดา ๗๐๐ และพรหมเป็นอันมาก และพระอินทร์ มีจิตเลื่อมใสเข้าไปนมัสการท่านสุนีตะ ผู้เป็นดังม้า อาชาไนย ถูกชาติและชราครอบงำ ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นท่านแวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ ทรงกระทำ การแย้มแล้วทรงสรรเสริญ ทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาว่า ตเปน พฺรหฺมจริเยน. ลำดับนั้น ภิกษุเป็นอันมากประสงค์จะให้ท่านบันลือ สีหนาท จึงถามท่านว่า อาวุโสสุนีตะ เพราะเหตุไร ท่านจึงออกจากตระกูล บวช หรือท่านบวชได้อย่างไร และท่านแทงตลอดสัจจะได้อย่างไร? ท่าน เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นทั้งหมด จึงบันลือสีหนาทด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภค น้อย การงานของเราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้ เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตน ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไป สู่นครอันอุดมของชาวมคธเพื่ออบิณฑบาต เราจึงวาง กระเช้าลงแล้วเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษ ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา ครั้งนั้นเราได้ถวาย บังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทูลขอบรรพชากับพระองค์ผู้สูงสุด กว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระศาสดาผู้มีพระกรุณา อนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ได้ตรัสเรียกเราว่า จงเป็น ภิกษุมาเถิด พระดำรัสนั้นเป็นอุปสมบทของเรา เมื่อเรา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 442

อุปสมบทแล้ว อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน ได้ทำ ตามดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมารที่ทรงสั่งสอนเรา ใน ราตรีปฐมยาม เราก็ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ในมัชฌิมยาม ก็ได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม เราก็ทำลายกองแห่ง ความมืด คืออวิชชาได้ ครั้นรุ่งราตรีพระอาทิตย์อุทัย เทพเจ้าเหล่าอินทร์และพรหมทั้งหลาย พากันประนม อัญชลีนมัสการเรา พร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็น บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็น อุดมบุรุษ ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นทักขิไณยบุคคล ลำดับนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราห้อมล้อมด้วยหมู่เทพเจ้า จงได้ทรงยิ้มแย้มและได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า บุคคลชื่อว่า เป็นพราหมณ์เพราะคุณธรรม ๔ ประการ คือ ตบะ ๑ พรหมจรรย์ ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ มีตบะ เป็นต้นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ผู้อุดม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีเจ ได้แก่ ลามก คือเลวกว่าตระกูล ทั้งปวง. จริงอยู่ ภาวะที่ตระกูลสูงและต่ำหมายเอาสัตว์ทั้งหลาย. ก็พระเถระนี้ เมื่อจะแสดงความที่ตนเกิดในตระกูลเลวทราม ซึ่งเลวกว่าตระกูล ทั้งปวง จึงกล่าวว่า เราเกิดในตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นีเจ ซึ่งแปลว่า ลามก คือเลวกว่าตระกูลทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 443

บทว่า ทลิทฺโท แปลว่า ผู้ทุกข์ยาก. จริงอยู่ คนเข็ญใจบางพวก ได้อาหารและผ้านุ่งห่มในบางคราว มีความเป็นไปอย่างฝืดเคือง, ก็เรา ชื่อว่าเป็นคนเลว เพราะมีความเป็นไปโดยฝืดเคืองทุกๆ เวลา เป็นเหมือน บุคคลยกหม้อข้าวขึ้นสู่เตาไฟ เมื่อจะแสดงคำที่ควรแสดงว่า แม้เพียงน้ำ หน่อยหนึ่ง เราก็ไม่ได้เห็นเลย จึงกล่าวว่า มีโภชนะน้อย.

เมื่อจะแสดงว่า บางคนเกิดในตระกูลต่ำทั้งเป็นคนจน แต่การงาน และอาชีพไม่ต่ำ ส่วนเราไม่เป็นอย่างนั้น จึงกล่าวว่า เราเป็นผู้มีการ งานเลว ดังนี้. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เป็นเช่นไร? ตอบว่า เรา เป็นคนเทดอกไม้ เหมือนบุคคลมีมือพิการ ผู้นี้มีชื่อเช่นนี้ด้วยอำนาจแห่ง ความประพฤติว่าเป็นคนเทดอกไม้, หรือถูกกล่าวอย่างนั้นด้วยชั้นคนชำระ อุจจาระ เพราะเป็นผู้มีสีเหมือนที่นอนที่ปูด้วยดอกไม้เหี่ยวแห้ง.

บทว่า ชิคุจฺฉิโต ถูกเขาดูหมิ่นโดยชาติและการงาน. บทว่า มนุสฺสานํ แปลว่า อันพวกมนุษย์. บทว่า ปริภูโต แปลว่า ดูหมิ่น. บทว่า วมฺภิโต ได้แก่ อันเขาข่มขู่.

บทว่า นีจํ มนํ กริตฺวาน ความว่า ยกมนุษย์เหล่าอื่นขึ้น เหมือนยก ขึ้นสู่ภูเขาสิเนรุ กระทำตนให้เป็นคนเลวกว่าขี้เท้าของมนุษย์เหล่านั้น คือ กระทำใจให้ต่ำ คือเลวตามปกติ.

บทว่า วนฺทิสฺสํ พหุกํ ชนํ ความว่า เราไหว้ คือประคองอัญชลี เหนือเศียรเกล้านอบน้อม ในกาลที่ตนเห็นมหาชนหนาแน่น.

ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาต ใช้ในการแสดงระหว่างถึงหน้าที่.

บทว่า อทฺทสาสึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว. บทว่า มคธานํ ความว่า พระราชกุมาร ชาวชนบท ชื่อว่า มคธะ,

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 444

ชนบทแม้หนึ่งอันเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้น เขาเรียกว่า มาคธะ เพราะเจริญ, อธิบายว่า แห่งชนบทชื่อว่า มคธะ.

บทว่า ปุรุตฺตมํ ได้แก่ นครสูงสุด.

บทว่า พฺยาภงฺคึ แปลว่า หาบ.

บทว่า ปพฺพชฺชํ อหมายาจึ ความว่า เมื่อพระศาสดาทรงกระทำ โอกาสว่า สุนีตะ เธอจะบวชไหม. เราจึงได้ขอบรรพชา.

บทว่า อาสูปสมฺปทา ความว่า เป็น อุปสมฺปทา ด้วยเหตุเพียง พระดำรัสของพระศาสดาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด.

บทว่า รตฺติยา เป็นต้น เป็นบทแสดงกิจแห่งข้อปฏิบัตินั้น. ใน คำนั้นท่านกล่าว ทุติยาวิภัตติด้วยอำนาจอัจจันตสังโยคว่า ตลอดปฐมยาม ตลอดมัชฌิมยาม เพราะปุพเพนิวาสญาณ และอนาคตังสญาณมีกิจมาก. อาสวักขยญาณหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจการตรัสรู้คราว เดียว เพราะฉะนั้น บทว่า ปจฺฉิเม ยาเม พึงเห็นว่าท่านกล่าวด้วย อำนาจสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อินฺโท ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช.

บทว่า พฺรหฺมา ได้แก่ท้าวมหาพรหม. ด้วยศัพท์ว่า อินฺทพฺรหฺม พึงเห็นว่าท่านกล่าวถึงการมาแห่งกามเทพ และพรหมเหล่าอื่นนั่นเอง. จริงอยู่ นิเทศอย่างอุกฤษฏ์นั้น ย่อมเป็นเหมือนอุทาหรณ์ว่า พระราชา เสด็จมาแล้ว.

บทว่า นนสฺสึสุ ได้แก่ กระทำนมัสการด้วยกายและด้วยวาจา.

ในคำนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงการนอบน้อมที่กระทำด้วยกาย จึง กล่าวคำมีอาทิว่า นโมเต ดังนี้ เพื่อจะกล่าวว่า ปญฺชลี แล้วแสดงถึง การนมัสการที่กระทำด้วยวาจา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 445

ด้วยศัพท์ว่า เทวสงฺฆปุรกฺขตํ ท่านถือเอาพวกพรหม เพราะเป็น อุปปัตติเทพ.

บทว่า สิตํ ปาตุกริตฺวาน ความว่า พระศาสดาทรงอาศัยความที่ โอวาทของพระองค์มีผลมาก และคุณสมบัติของเทพและพรหม จึงได้ทรง กระทำการแย้มให้ปรากฏ. ก็แลเมื่อจะทรงกระทำให้ปรากฏ ไม่ทรงแสดง พระทนต์เหมือนคนเหล่าอื่น แต่ทรงแย้มพระโอษฐ์หน่อยหนึ่ง และรัศมี แห่งแก้วผลึกและแก้วมุกดาอันเป็นทิพย์ที่ถูกเหตุเพียงเท่านั้นครอบงำ รัศมี แห่งดวงดาวและพระจันทร์ที่แย้มลงมา รัศมีทึบซึ่งเกิดแต่พระทาฐะสุกปลั่ง เปล่งออกกระทำประทักษิณพระโอษฐ์ของพระศาสดา ๓ ครั้ง เทพและ พรหมเห็นพระศาสดาแล้ว แม้ไปข้างหลังก็รู้ได้ว่า พระศาสดาทรงกระทำ การแย้มให้ปรากฏ.

บทว่า ตเปน ได้แก่ ด้วยความสำรวมอินทรีย์ อาจารย์บางพวก กล่าวว่า ด้วยการสมาทานธุดงค์.

บทว่า สํยเมน ได้แก่ ด้วยศีล. บทว่า ทเมน ได้แก่ ด้วยปัญญา.

บทว่า พฺรหฺมจริเยน ได้แก่ ด้วยการประพฤติอันวิเศษประเสริฐ สุด.

บทว่า อเตน ได้แก่ ด้วยตบะเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว.

ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป.

บทว่า เอตํ ได้แก่ ตบะเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า พฺราหฺมณมุตฺตมํ ได้แก่ พราหมณ์ผู้สูงสุด, หรือในบรรดา พราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมด. บาลีที่เหลือว่า อหุ พึงนำมาเชื่อมเข้า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 446

อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว พฺรหฺมญฺํ ความเป็นพรหมว่า พราหมณ์, ท่านเป็นพรหมผู้สูงสุดด้วยอาการอย่างนี้, อธิบายว่า ไม่ใช่ชาติเป็นต้น.

จริงอยู่ ชาติตระกูล ประเทศ โคตร และสมบัติเป็นต้น หาเป็น เหตุแห่งความเป็นพระอริยะไม่, แต่อธิศีลสิกขาเป็นต้นเท่านั้นเป็นเหตุ, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ดอกบัวมีกลิ่นหอม พึงเกิดในกองหยากเยื่อ อัน บุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้น พึงเป็นที่ชอบใจ ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชนเป็น ดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อมไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชน ผู้มืดทั้งหลาย ด้วยปัญญาฉันนั้น.

พระเถระ อันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะแก้เนื้อความนั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ จึงบันลือสีหนาท ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุนีตเถรคาถาที่ ๒

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

ทวาทสกนิบาต