พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรวตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเรวตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40651
อ่าน  404

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 465

เถรคาถา จุททสกนิบาต

๑. เรวตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเรวตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 465

เถรคาถา จุททสกนิบาต

๑. เรวตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเรวตเถระ

[๓๘๑] นับแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ไม่รู้สึกถึงความ ดำริอันไม่ประเสริฐประกอบด้วยโทษเลย ในระยะกาล นานที่เราบวชอยู่นี้ เราไม่รู้สึกถึงความดำริว่า ขอให้สัตว์ เหล่านั้น จงถูกฆ่า ถูกเขาเบียดเบียน จงได้รับทุกข์ เรารู้สึกแต่การเจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ อบรมสั่งสมดีแล้วโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว เราได้เป็นมิตรเป็นสหายของสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้อนุเคราะห์ สัตว์ทั้งปวง ยินดีแล้วในการไม่เบียดเบียน เจริญเมตตาจิตอยู่ทุกเมื่อ เรายังจิตอันไม่ง่อนแง่น ไม่กำเริบให้ บันเทิงอยู่ เจริญพรหมวิหารอันบุรุษผู้เลวทรามไม่ซ่องเสพ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าทุติยฌานอัน ไม่มีวิตกวิจาร ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่งเป็นอริยะ โดย แท้จริง ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่คงที่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจบรรพตเพราะสิ้นโมหะ ความชั่วแม้มีประมาณเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏ เหมือนประมาณเท่าหมอกเมฆ แต่ท่านผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง ยั่วยวน ผู้แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เมืองหน้าด่าน เป็นเมืองอันเขาคุ้มครองแล้วทั้งภายในและภายนอกฉันใด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 466

ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วง เลยท่านทั้งหลายไปเสีย เราไม่ยินดีต่อความตาย ไม่ เพลิดเพลินต่อความเป็นอยู่ แต่เรารอเวลาตาย เหมือน ลูกจ้างคอยให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดี ความตาย ไม่เพลิดเพลินต่อความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอท่า เวลาตาย พระศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว บรรลุถึงความ สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นคำสอนของเรา เราจักอำลาท่าน ทั้งหลายปรินิพพานในบัดนี้ เพราะเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งปวง.

จบเรวตเถรคาถา

อรรถกถาจุททสกนิบาต

อรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถาที่ ๑

ใน จุททสกนิบาต คาถาของท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระ มีคำ เริ่มต้นว่า ยถา อหํ ดังนี้, เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 467

คาถาของท่าน บางอย่างมาแล้วในเอกนิบาตในหนหลัง, ก็ในเรื่อง นั้นท่านแสดงถึงเหตุเพียงให้เกิดสติในหลานๆ ของตน เพราะฉะนั้น คาถาท่านจึงสงเคราะห์เข้าในเอกนิบาต แต่คาถาเหล่านี้ ท่านประกาศถึง ข้อปฏิบัติจำเดิมแต่พระเถระบวชแล้ว จนถึงปรินิพพาน ยกขึ้นสังคายนา ในจุททสกนิบาตนี้.

ในข้อนั้น เหตุเกิดเรื่องท่านกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. แต่ข้อนี้ มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ว่า ได้ยินว่าพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ไป ยังที่อุปัฏฐากพระศาสดาและของพระมหาเถระ มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น อยู่ในที่นั้นเพียงวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็กลับมาป่าไม้ตะเคียนนั่นแล ยับยั้ง อยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ และด้วยพรหมวิหารธรรม.

เมื่อกาลล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้ วัยถึงคร่ำคร่าเจริญโดยลำดับ. วันหนึ่งท่านไปยังที่บำรุงพระพุทธเจ้า อยู่ในที่ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี ใน ระหว่างทาง. ก็โดยสมัยนั้น พวกโจรกระทำการปล้นในพระนคร ถึงพวก มนุษย์ผู้อารักขาไล่ติดตาม พากันหนีไปทิ้งห่อสิ่งของที่ลักมาในที่ใกล้พระเถระ. พวกมนุษย์ติดตามเห็นภัณฑะในที่ใกล้พระเถระ แล้วพาไปด้วย หมายว่าเป็นโจร จึงแสดงแด่พระราชาว่า ผู้นี้เป็นโจรพระเจ้าข้า. พระราชา รับสั่งให้ปล่อยพระเถระแล้วตรัสถามว่า ท่านขอรับ ท่านกระทำโจรกรรมนี้ หรือไม่? พระเถระเพื่อจะประกาศกรรมเช่นนั้น ที่ตนไม่เคยกระทำตั้งแต่ เกิดมาก็จริง ถึงกระนั้นกรรมนั้นอาตมาก็มิได้ทำ เพราะตัดกิเลสได้เด็ด ขาด และไม่ควรกระทำในกรรมเช่นนั้น เมื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุผู้อยู่ใน ที่ใกล้และแก่พระราชา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 468

นับแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ไม่รู้สึกถึงความ ดำริอันไม่ประเสริฐ ประกอบด้วยโทษเลย ในระยะกาล นานที่เราบวชอยู่นี้ เราไม่รู้สึกถึงความดำริว่า ขอให้ สัตว์เหล่านั้นจงถูกฆ่า ถูกเขาเบียดเบียน จงได้รับทุกข์ เรารู้สึกแต่การเจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ อบรม สั่งสมดีแล้วโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ แล้ว เราได้เป็นมิตรเป็นสหายของสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ยินดีแล้วในการไม่เบียดเบียน เจริญเมตตาจิตอยู่ทุกเมื่อ เรายังจิตอันไม่ง่อนแง่น ไม่ กำเริบให้บันเทิงอยู่ เจริญพรหมวิหารอันบุรุษผู้เลวทราม ไม่ซ่องเสพ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้า ทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นอริยะ โดยแท้จริง ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้ง อยู่คงที่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจ บรรพต เพราะสิ้นโมหะ ความชั่วแม้มีประมาณเท่า ปลายขนทราย ย่อมปรากฏเหมือนประมาณเท่าหมอกเมฆ แก่ท่านผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ผู้แสวงหาความ สะอาดเป็นนิตย์ เมืองหน้าด่านเป็นเมืองอันเขาคุ้มครอง แล้วทั้งภายในและกายนอกฉันใด ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไป เสีย เราไม่ยินดีต่อความตาย ไม่เพลิดเพลินต่อความ เป็นอยู่ แต่เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างคอยให้หมด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 469

เวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน ความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอท่าเวลาตาย พระศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ได้บรรลุประโยชน์ที่กุลบุตรออก บวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ ทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม เถิด นี้เป็นคำสอนของเรา เราจักอำลาท่านทั้งหลาย ปรินิพพานในบัดนี้ เพราะเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลส ทั้งปวง.

ในคาถานั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้ว่า บทว่า อิมสฺมึ ทีฆมนฺตเร ประกอบความว่า ในกาลใดเราเป็นบรรพชิต ตั้งแต่ นั้นมาก็นี้เป็นกาลนานของเรา ในกาลระยะยาวเช่นนี้ เราไม่รู้ความตรึก อันประกอบด้วยโทษอันไม่ประเสริฐ ด้วยอำนาจอภิชฌาว่า นี้เป็นเหตุ ของเรา หรือด้วยอำนาจพยาบาทว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า.

บทว่า เมตฺตญฺจ อภิชานามิ ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะเป็น เหตุเยื่อใยคือสิเนหา ได้แก่ความไม่พยาบาท, ชื่อว่า เมตตา เพราะมี ความรักใคร่ ความเจริญเมตตา ได้แก่ พรหมวิหารธรรมมีเมตตาเป็น อารมณ์, ซึ่งเมตตานั้น, ท่านสงเคราะห์พรหมวิหารนอกนี้ ด้วยศัพท์ว่า เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา.

บทว่า อภิชานามิ ความว่า เรารู้โดยเฉพาะหน้า, จริงอยู่ เมื่อ พิจารณาถึงฌานที่บรรลุแล้ว เป็นอันชื่อว่ามุ่งหน้าต่อปัจจเวกขญาณ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 470

เพื่อเลี่ยงคำถามว่าประมาณเท่าไร ท่านจึงกล่าวว่า หาประมาณมิได้เป็นต้น. ก็ฌานนั้นนั้นชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสัตว์หาประมาณมิได้เป็น อารมณ์ เหมือนฌานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ประกอบความว่า เรารู้เฉพาะฌานนี้ที่ชื่อว่า เจริญดีแล้ว เพราะ เจริญด้วยดี ที่ชื่อว่าอบรม คือเสพคุ้นแล้วโดยลำดับ คือตามลำดับ อย่างนี้ คือเมตตาที่หนึ่ง จากนั้นกรุณา จากนั้นมุทิตา ภายหลังอุเบกขา, ชื่อว่าเป็นมิตรของคนทั้งปวง เพราะเป็นมิตรของสัตว์ทั้งปวง หรือคน ทั้งปวงเป็นมิตรของเรา, จริงอยู่ ผู้เจริญเมตตา ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ ทั้งหลาย.

แม้ในบทว่า สพฺพสโข นี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สพฺพภูตานุกมฺปโก ได้แก่ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง.

บทว่า เมตฺตจิตฺตญฺจ ภาเวมิ ความว่า เรายังจิตให้เกิด คือยังจิตที่ ประกอบคือที่สัมปยุตด้วยเมตตาให้เจริญโดยพิเศษ หรือประกาศเพราะ ถึงความสูงสุดในภาวนาแม้ในเมื่อไม่กล่าว. อีกอย่างหนึ่งว่า เราเจริญเมตตา จิต, ความแห่งคำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

บทว่า อพฺยาปชฺชรโต ความว่า ยินดียิ่งในความเบียดเบียน คือ ในการนำประโยชน์เกื้อกูลเข้าไปให้แก่สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า สทา แปลว่า ทุกๆ กาล ด้วยคำนั้นท่านแสดงถึงการกระทำ ความเพียรเป็นไปติดต่อในกาลนั้น.

บทว่า อสํหิรํ แปลว่า ไม่ง่อนแง่น คือไม่ถูกราคะอันเป็นข้าศึก ใกล้ไม่คร่ามา.

บทว่า อสงฺกุปฺปํ แปลว่า ไม่กำเริบ คือไม่กำเริบด้วยพยาบาท

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 471

อันเป็นข้าศึกไกล. ครั้นกระทำให้เป็นอย่างนี้ ย่อมบันเทิงทั่ว คือบันเทิง ยิ่ง ซึ่งเมตตาจิตของเรา คือเจริญพรหมวิหาร

บทว่า อกาปุริสเสวิตํ ความว่า เราทำให้เกิดคือเจริญซึ่งเมตตา พรหมวิหารเป็นต้นอันประเสริฐ คือเลิศ ได้แก่ หาโทษมิได้ อันคนชั่ว คือต่ำช้าไม่เสพแล้ว หรืออันคนไม่ชั่วคือพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้นเสพแล้ว.

ครั้นแสดงข้อปฏิบัติของตนด้วย ๕ คาถา โดยยกตนขึ้นแสดงอย่างนี้ บัดนี้เมื่อจะแสดงข้อปฏิบัตินั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตตผล จึงได้กล่าว ๔ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า อวิตกฺกํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิตกฺกํ สมาปนฺโน ความว่า ถึง พร้อมซึ่งฌานมีทุติยฌาณเป็นต้น อันเว้นแล้วจากวิตก, ด้วยคำนั้น พระเถระกล่าวการบรรลุฌานมีทุติยฌานเป็นต้นด้วยตนเอง โดยอ้างถึง พระอรหัตตผล ด้วยพรหมวิหารภาวนา ก็เพราะเหตุที่พระเถระกระทำ ฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาทแล้ว เจริญวิปัสสนาแล้วยึดเอาพระอรหัต โดย อาสนะเดียวนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อจะแสดงความนั้น โดยอ้างเอาพระอรหัตตผล นั่นแล จึงกล่าวว่า อวิตกฺกํ สมาปนฺโน ดังนี้แล้วกล่าวว่า สาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้นิ่งแบบพระอริยะในขณะนั้น.

ในข้อนั้น สมาบัติอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะไม่มีวจีสังขาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า เป็นความนิ่งแบบพระอริยะ ก็สมาบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นความนิ่งแบบพระอริยะ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อพวกเธอประชุมกัน พึงทำกิจ ๒ อย่าง คือเป็นผู้กล่าวธรรม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 472

หรือเป็นผู้นิ่งแบบพระอริยะ แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสมาบัติอันสัมปยุต ด้วยอรหัตตผลอันประกอบด้วยฌานที่ ๔.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมด้วยอุปมา เพราะความที่ตนบรรลุพระอรหัตตผลนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า ยถาปิ ปพฺพโต ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ ปพฺพโต เสโล ความว่า ภูเขา อันล้วนแล้วแต่หิน คืออันล้วนแล้วแต่หินเป็นแท่งทึบฉันใด อธิบายว่า ไม่ใช่ภูเขาดินร่วน ไม่ใช่ภูเขาปนดิน.

บทว่า อจโล สุปฺปติฏฺิโต ความว่า เป็นภูเขามีรากตั้งอยู่แล้ว ด้วยดี ไม่หวั่นไหวสะเทือนด้วยลมตามปกติ เพราะฉะนั้น พระอรหัตและ นิพพาน ชื่อว่า ละโมหะได้เด็ดขาด เพราะภิกษุไม่หวั่นไหว เหตุโมหะ สิ้นไปด้วยอาการอย่างนี้ ดุจภูเขาฉะนั้น คือภิกษุละอกุศลทั้งปวงได้แล้ว เพราะอกุศลทั้งปวงมีโมหะเป็นมูล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย เหมือนภูเขานั้นย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉะนั้น อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า เพราะ เหตุที่พระอรหัต และพระนิพพานท่านเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าโมหักขยา เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในอริยสัจ ๔ เพราะเหตุธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ และเพราะบรรลุพระนิพพานและอรหัต แม้ในเวลาไม่เข้าสมาบัติก็ไม่หวั่นไหว เหมือนภูเขา จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้เข้าสมาบัติเล่า.

บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ชื่อว่าบาปนี้ ภิกษุผู้มีศีลไม่สะอาดเท่านั้นย่อม ประพฤติ ส่วนภิกษุผู้มีศีลสะอาดหาประพฤติไม่ ก็บาปสำหรับผู้มีศีลสะอาด

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 473

นั้น แม้มีประมาณน้อย ก็ปรากฏเป็นของหนัก จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อนงฺคณสฺส ดังนี้.

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ความชั่วมีประมาณเท่าปลาย ขนทราย ประมาณเท่าปลายผม แม้มีประมาณเล็กน้อยแห่งบาป ของ สัปบุรุษผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องยียวน เพราะไม่มีกิเลสเครื่องยียวนมีราคะ เป็นต้น ผู้แสวงหาธรรมอันสะอาดหาโทษมิได้ ตั้งแผ่ทั่วโลกธาตุปรากฏ เป็นเพียงอากาศ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ไม่พึงหวังบุคคลผู้เช่นเรา ในกรรมเห็นปานนี้.

เมื่อจะให้โอวาทว่า เพราะเหตุที่พวกคนอันธพาลทำความว่าร้าย เห็นปานนั้น ให้เกิดขึ้นแม้ในผู้ไม่มีกิเลส ฉะนั้นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ พึงรักษาตนโดยเคารพ. จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นครํ ยถา ดังนี้.

คาถานั้นมีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่าปัจจันตนคร อันมนุษย์ชาว เมืองปัจจันตนครกระทำประตูและกำแพงเป็นต้นให้มั่นคง ชื่อว่าทำให้ มั่นคงในภายใน เมื่อกระทำเชิงเทินแลคูเป็นต้นให้มั่นคง ชื่อว่าทำให้ มั่นคงในภายนอก เพราะฉะนั้น ชื่อว่ากระทำให้เป็นอันคุ้มครองทั้งภายใน และภายนอกฉันใด พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น จงอย่าปล่อยสติที่เธอ เข้าไปตั้งไว้ ปิดทวารทั้ง ๖ ที่เป็นไปในภายในแล้ว รักษาทวารไว้แล้ว กระทำทวารเหล่านั้นให้มั่นคง ด้วยการไม่ยึดถือโดยประการที่อายตนะ ภายนอก ๖ ที่ยึดถือไว้ เป็นไปเพื่อกระทบอายตนะภายใน ไม่ละสติที่ รักษาทวาร โดยไม่ให้เข้าไปสู่อายตนะเหล่านั้น เที่ยวไปอยู่ ชื่อว่าคุ้มครองตน. เพราะเหตุไร? เพราะขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย.

จริงอยู่ ขณะทั้งหมดนี้ คือขณะเป็นที่อุบัติแห่งพระพุทธเจ้า ขณะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 474

ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ขณะอุบัติในมัชฌิมประเทศ ขณะได้สัมมาทิฏฐิ ขณะไม่บกพร่องอายตนะ ๖ ย่อมล่วงบุคคลผู้ไม่คุ้มครองตนด้วยอาการ อย่างนี้, ขณะนั้น อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสียดังนี้แล.

พระเถระ ครั้นโอวาทบริษัทพร้อมด้วยราชบริพารด้วยคาถานี้ ด้วย อาการอย่างนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนมีจิตเสมอในมรณะและชีวิต และกิจที่ตนทำเสร็จแล้วอีก จึงกล่าวคำว่า นาภินฺนฺทามิ มรณํ ไม่ยินดี ยิ่งซึ่งความตายดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เห็นกาลปรินิพพานแห่งตนปรากฏ จึงให้โอวาทแก่พวกเหล่านั้นโดยสังเขปนั่นแล เมื่อจะประกาศพระนิพพาน จึงกล่าวคาถาสุดท้าย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปาเทถปฺปมาเทน ความว่า เธอ ทั้งหลายจงยังสิกขา ๓ มีทานและศีลเป็นต้น ที่ควรให้ถึงพร้อม ให้ถึง พร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด, จงเป็นผู้ไม่ประมาทในการตามรักษาศีล อันเป็นไปแก่คฤหัสถ์ อันต่างด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ ในเบื้องหน้า ในการตามประกอบสมถะ และวิปัสสนาภาวนา.

บทว่า เอสา เม อนุสาสนี ความว่า การพร่ำสอนว่า ท่านทั้งหลาย จงไม่ประมาทในทานและศีลเป็นต้น นี้เป็นคำพร่ำสอน คือเป็นโอวาท ของเรา.

ครั้นแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะถือ เอาที่สุดแห่งข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์ตน จึงกล่าวว่า เอาเถอะ เราจัก ปรินิพพาน เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วในที่ทุกสถาน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 475

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปมุตฺโตมฺหิ สพฺพธิ ความว่า เรา เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสและภพทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เพราะ เหตุนั้น เราจักปรินิพพานโดยส่วนเดียวฉะนี้แล.

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นั่งขัดสมาธิเข้าฌานมีเตโชธาตุเป็น อารมณ์ เมื่อไฟลุกโพลงอยู่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถาที่ ๑