พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. โคทัตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโคทัตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40652
อ่าน  422

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 476

เถรคาถา จุททสกนิบาต

๒. โคทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคทัตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 476

๒. โคทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคทัตตเถระ

[๓๘๒] โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อม อาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใด บริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดัง อริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของ เวลา ตกอยู่ในอำนาจภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความ ทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความ เป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ มีใจฟูขึ้น เพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑ เหล่าใด ก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ใน สุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่ ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่คิดอยู่ในลาภ ความเสื่อมลาภ ในยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉะนั้น. นักปราชญ์ทั้งหลาย มีความสุขและได้ชัยชนะในที่ ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภโดย ไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันขอบธรรม จะประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 477

อะไร คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มีความรู้มียศ จะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาลกับการติเตียน จากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอัน เกิดจากกามคุณกับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์ อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมกับ ความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชน เหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้น ไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะ มิได้ ย่อมปรินิพพาน.

จบโคทัตตเถรคาถา

ในจุททสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูป ผู้มีฤทธิ์มาก คือ พระ

เรวตเถระ ๑ พระโคทัตตเถระ ๑ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๔ คาถา รวมเป็น ๒๘ คาถา ฉะนี้แล.

จบจุททสกนิบาต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 478

อรรถกถาโคทัตตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระโคทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน ในภพนั้นๆ ท่องเที่ยวไปใน เทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่ง พ่อค้าเกวียน ในกรุงสาวัตถี โดยชื่อว่า โคทัตตะ เจริญวัยแล้ว เมื่อ บิดาตายแล้ว รวบรวมทรัพย์ เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ท่องเที่ยว ไปๆ มาๆ เลี้ยงชีพด้วยการค้าขาย กระทำบุญตามกำลังสมบัติ.

วันหนึ่ง เมื่อโคที่เทียมที่แอกในระหว่างทาง ไม่สามารถลากไปได้ เมื่อพวกมนุษย์ไม่สามารถจะให้โคนั้นออกไปได้ ท่านจึงไปเอง แทงโค นั้นที่หางให้มั่น โคคิดว่า ผู้นี้เป็นอสัปบุรุษ ไม่รู้กำลังอันสมควรแก่ กำลังของเรา จึงแทงอย่างหนัก ดังนี้จึงโกรธ ใช้ภาษามนุษย์ด่าโดยสมควร แก่ความปรารถนาว่า ดูก่อนโคทัตตะผู้เจริญ เราไม่ออมกำลังของตนตลอด กาลมีประมาณเท่านี้ นำภาระของท่านไป แต่วันนี้ท่านเบียดเบียนเรา อย่างรุนแรง โดยภาวะที่เราไม่สามารถ เอาเถิด เราจุติจากอัตภาพนี้แล้ว พึงเป็นศัตรูสามารถเบียดเบียนท่านในที่เกิดแล้วๆ.

โคทัตตะได้ฟังดังนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการเบียดเบียน สัตว์ทั้งหลาย แล้วเป็นอยู่นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ เกิดความสังเวช ละสมบัติ ทั้งหมด บวชในสำนักของพระมหาเถระรูปหนึ่ง บำเพ็ญวิปัสสนากรรม ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ วันหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 479

จึงปรารภโลกธรรม ของหมู่พระอริยะผู้เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้มา ยังสำนักตน เมื่อจะแสดงธรรม จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียม แล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือน มหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้ อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดังอริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย นรชน ผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของภพน้อย ภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาล ไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วย เหตุ ๒ อย่าง คือมีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลง เพราะเหตุแห่งทุกข์ ชนเหล่าใด ก้าวล่วงตัณหาเครื่อง ร้อยรัดในทุกขเวทนา ในสุขเวทนา และในอทุกขมสุข เวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสา เขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ ในลาภ ความเสื่อมลาภ ในยศ การเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายมีความสุข และได้ชัยชนะในที่ ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภ โดยไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบ ธรรมประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้ แต่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 480

ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มี ความรู้มียศจะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาล กับการติเตียนจากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ ประเสริฐกว่า การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอันเกิดจากกามคุณ กับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิด จากกามคุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบ ธรรมกับความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐ กว่า ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชน เหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้น ไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์. ๕ และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หา อาสนะมิได้ ย่อมปรินิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาชญฺโ ได้แก่โดยผู้อาชาไนย.

บทว่า ธุเร ยุตฺโต ได้แก่ เทียมไว้ในแอกแห่งเกวียน.

บทว่า ธุรสฺสโห แปลว่า ผู้นำแอกไป ก็ในที่นี้เพื่อสะดวกแก่คาถา ท่านกระทำนิเทศโดยข้อนี้ อักษร อธิบายว่า สามารถเปื้อนจะนำแอก เกวียนไป.

บทว่า มถิโต อติภาเรน ความว่า ถูกเบียดเบียนด้วยภาระอันยิ่งๆ คือด้วยภาระอันหนัก.

บาลีว่า มทฺทิโต ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 481

บทว่า สํยุคํ ความว่า แอกที่เขาเทียมไว้ที่คอของตน ไม่ว่างเลย คือไม่ปลงลงเลย. โคใดยกขึ้นให้ดี ไม่ทอดทิ้งแอกยืนอยู่.

บทว่า เอวํ ความว่า โคนั้นนำแอกไปไม่ทอดทิ้ง คือไม่สละภาระ ของตน เพราะตนเป็นโคอาชาไนยที่ดี และเพราะตนเป็นนักปราชญ์ ผู้แกล้วกล้าฉันใด ชนเหล่าใด ทรงไว้ บริบูรณ์ด้วยปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ เหมือนมหาสมุทรบริบูรณ์ด้วยน้ำฉันนั้น ชนเหล่านั้น ย่อม ไม่ดูหมิ่น คือย่อมไม่ข่มขู่ผู้มีปัญญาทราม ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ด้วย. บทว่า อริยธมฺโมว ปาณินํ ความว่า ธรรมของพระอริยะทั้งหลายนี้ ของสัตว์ทั้งหลาย คือในสัตว์ทั้งหลาย ก็คือความไม่ดูหมิ่นคนเหล่าอื่น ด้วยความไม่มีลาภเป็นต้น ด้วยการยกตนด้วยลาภเป็นต้น เพราะถึงความ บริบูรณ์ด้วยปัญญาของพระอริยะเหล่านั้น.

เพื่อจะแสดงการอยู่เป็นสุขของพระอริยะทั้งหลาย ด้วยความบริบูรณ์ ด้วยปัญญาอย่างนี้ แล้วจึงแสดงการอยู่เป็นทุกข์ ของบุคคลผู้ไม่ใช่ พระอริยะทั้งหลาย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กาเล ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล ความว่า ในกาลมีความ พรั่งพร้อม ด้วยการมีลาภและการเสื่อมลาภเป็นต้น.

บทว่า กาลวสํ ปตฺตา ความว่า เข้าถึงอำนาจแห่งกาลมีลาภ เป็นต้น. อธิบายว่า เกิดโสมนัสด้วยลาภเป็นต้น และเกิดโทมนัสด้วยการ เสื่อมลาภเป็นต้น. บทว่า ภวาภววสํ คตา ความว่า คนเหล่านั้นเข้าถึงอำนาจภพน้อย ภพใหญ่ คือเป็นไปตามความเจริญและความเสื่อม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 482

บทว่า นรา ทุกฺขํ นิคจฺฉนฺติ เตธ โสจนฺติ มาณวา ความว่า คน เหล่านั้น คือสัตว์ผู้ได้นามว่า มาณวา ถึงความยินดีและความยินร้าย ด้วยอำนาจมีลาภและเสื่อมลาภ คือด้วยอำนาจความเจริญและความเสื่อม ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ และย่อมถึง คือย่อมประสบทุกข์มีทุกข์ในนรก เป็นต้นในโลกหน้า.

แม้ด้วยบทว่า อุนฺนตา เป็นต้น ท่านแสดงเฉพาะความประสบ ความพินาศของสัตว์ทั้งหลายด้วยอำนาจโลกธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุนฺนตา สุขธมฺเมน ความว่า ถึงความ ฟูขึ้น ด้วยเหตุแห่งสุข คือด้วยปัจจัยแห่งความสุข ได้แก่ด้วยโภคสมบัติ เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้เมาด้วยความเมาในโภคะเป็นต้น

บทว่า ทุกฺขธมฺเมน โจนตา ความว่า ถึงความเป็นผู้เสื่อม เพราะ เหตุแห่งทุกข์ คือเพราะปัจจัยแห่งความทุกข์ ได้แก่เพราะความวิบัติแห่ง โภคะเป็นต้น คือถึงความเป็นผู้ควรกรุณา ด้วยความเป็นคนจนเป็นต้น.

บทว่า ทฺวเยน ความว่า พาลปุถุชนทั้งหลาย ย่อมเดือดร้อนด้วย การฟูขึ้น และการยุบลงทั้งสองอย่าง คือด้วยเหตุ ๒ อย่าง มีลาภและเสื่อม ลาภเป็นต้น คือถูกบีบคั้นและถูกเบียดเบียนด้วยอำนาจความยินดีและความ ยินร้าย.

เพราะเหตุไร? อธิบายว่า เพราะผู้ไม่เห็นตามความเป็นจริงเหล่า นั้น ไม่รู้ยิ่งสภาวะแห่งธรรมตามความเป็นจริง และเป็นผู้ไม่กำหนดรู้ขันธ์ และยังละกิเลสไม่ได้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เพราะการไม่รู้เป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 483

บทว่า เย จ ทุกฺเข สุขสฺมิญฺจ มชฺเฌ สิพฺพินิมจฺจคู ความว่า ก็พระอริยะเหล่าใดไม่ล่วงถึง คือก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัด อันเป็น ฉันทราคะ อันเนื่องด้วยทุกขเวทนา สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนานั้น ด้วยการบรรลุอรหัตตมรรค พระอริยะเหล่านั้น ดำรงอยู่ไม่หวั่นไหวด้วย โลกธรรม เหมือนเสาเขื่อนไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น ผู้ไม่ชื่อว่า ไม่ฟู ไม่ยุบ แม้ในบางคราวไม่ฟูหรือไม่ยุบ เพราะไม่มีความยินดีและความ ยินร้ายโดยประการทั้งปวง.

ครั้นแสดงการไม่เข้าไปฉาบทาของพระอรหันต์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง เวทนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะจำแนกโลกธรรม แล้ว แสดงการไม่เข้าไป ฉาบทาแห่งพระอรหันต์ อันมีประโยชน์ทั้งปวงนั่นแล จึงกล่าวคำมี อาทิว่า นเหว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาเภ ความว่า ได้เฉพาะปัจจัยมีจีวร เป็นต้น.

บทว่า อลาเภ ความว่า ไม่ได้เฉพาะ คือไม่พึงประสบปัจจัย มีจีวรเป็นต้นนั้นนั่นแล.

บทว่า น ยเส ได้แก่ เสื่อมจากบริวารและไม่มีเกียรติยศ.

บทว่า กิตฺติยา ความว่า ในความเป็นผู้ปรารถนาเกียรติยศใน ที่ลับหลัง

บทว่า นินฺทาย ได้แก่ ในการครหานินทาต่อหน้า.

บทว่า ปสํสายํ ได้แก่ ในการชมเชยคุณโดยซึ่งหน้า.

บทว่า ทุกฺเข ได้แก่ เมื่อทุกข์เกิดขึ้น.

แม้ในบทว่า สุเข นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 484

บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ย่อมไม่ติดอยู่ใน อารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะละกิเลสได้โดยประการทั้งปวง.

เหมือนอะไร? เหมือนหยาดน้ำบนใบบัว ความว่า หยาดน้ำบน ใบบัว แม้ตั้งแนบอยู่ก็ไม่ฉาบทาติดอยู่ที่ใบบัวนั้น และใบบัวย่อมคิดอยู่ด้วย หยาดน้ำ ปล่อยจากกันไปโดยแท้ทีเดียวฉันใด พระขีณาสพแม้เหล่านั้น ก็ฉันนั้น เป็นผู้ปล่อยวางลาภเป็นต้นที่ปรากฏ และปล่อยวางอารมณ์ มีรูปเป็นต้นอันมาปรากฏเหมือนกันนั่นแล.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล นักปราชญ์คือบัณฑิต ชื่อว่าได้รับความสุขใจ เพราะลาภเป็นต้น ในที่ทุกสถาน เพราะไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และ ทุกขธรรมมีความโศกเป็นต้นด้วยญาณมุข และย่อมเป็นผู้ไม่แพ้ในที่ทุก สถาน เพราะไม่ถูกลาภเป็นต้นครอบงำ.

บัดนี้เมื่อจะแยกแสดงความประเสริฐกว่ากัน ในเพราะมีลาภและ เสื่อมลาภเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺเมน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน อลาโภ โย ความว่า การไม่ได้ นิมิตของผู้รักษาธรรมอันใด อันนั้นคือความไม่มีลาภ ได้แก่ความเสื่อมลาภ, และลาภอันใดอันไม่ประกอบด้วยธรรม เกิดขึ้นโดยอธรรมโดยไม่มีปัญญา โดยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียน, ใน ๒ อย่างนั้น การไม่มีลาภ เป็นอาการ ประกอบด้วยธรรม คือนำมาซึ่งธรรมประเสริฐกว่า, เมื่อบุคคลเว้นลาภ เช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญ การไม่มีลาภ เช่นนั้น น่าสรรเสริญ นำมาซึ่งประโยชน์.

บทว่า ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก อธิบายว่า ลาภใดเกิดขึ้นโดย อธรรม ลาภนั้นไม่ประเสริฐเลย.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 485

บทว่า ยโส จ อปฺปพุทฺธีนํ วิญูนํ อยโส จ โย ความว่า บุคคล ได้ยศ ด้วยอำนาจบุคคลผู้มีความรู้น้อย คือไม่มีความรู้ และความไม่ได้ยศ คือความเสื่อมยศ ด้วยอำนาจบุคคลมีความรู้ คือบัณฑิต. บรรดาบุคคล ทั้งสองพวกเหล่านี้ คนมีความรู้ ไม่มียศประเสริฐกว่า. เพราะว่า บุคคล ผู้มีความรู้เหล่านั้นพึงปรารถนาความไม่มียศ เพียงเพื่อให้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ. เหมือนอย่างบุคคลผู้มีชาติสมบูรณ์ พึงละธรรมที่ไม่มีคุณ นั้นแล้วตั้งอยู่ในธรรมที่มีคุณ.

บทว่า นยโส อปฺปพุทฺธีนํ ความว่า ยศย่อมไม่ประเสริฐ ด้วย อำนาจบุคคลผู้ไม่มีความรู้ ก็บุคคลผู้ไม่มีความรู้นั้น พึงยังยศนั้นให้เกิดขึ้น แม้ด้วยอำนาจนำมาซึ่งความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันไม่เป็นจริง ยศนั้น ย่อมนำมาซึ่งความพินาศแก่เขา ด้วยการนินทาจากวิญญูชนในโลกนี้ และ ด้วยความลำบากอันเกิดจากทุกข์เป็นต้น ในทุคติในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ลาภ ชื่อเสียง สักการะ และยศที่ได้มาโดยผิดๆ และว่า ลาภสักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่วเสีย.

บทว่า ทุมฺเมเธหิ แปลว่า ด้วยไม่มีปัญญา.

บทว่า ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา ความว่า อันคนพาลทั้งหลาย คือ ผู้ไม่รู้สรรเสริญ.

บทว่า กามมยิกํ แปลว่า อันสำเร็จมาแต่วัตถุกาม คืออาศัยกามคุณ เกิดขึ้น.

บทว่า ทุกฺขญฺจ ปวิเรกิยํ ความว่า ความทุกข์ทางกายอันเกิดแต่ความ สงัดคือที่เป็นไปด้วยอำนาจความลำบากกาย อันมีความเดือดร้อนในการนั่ง ไม่สม่ำเสมอเป็นต้นเป็นเหตุ แต่ทุกข์นั้นเป็นการสรรเสริญสำหรับวิญญูชน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 486

เพราะเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานอันปราศจากอามิส. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า ปวิเวกทุกฺขํ เสยฺโย ดังนี้.

บทว่า ชีวิตญฺจ อธมฺเมน ความว่า การเลี้ยงชีวิตโดยไม่ชอบธรรม คือการไม่ประพฤติธรรม เพราะเหตุแห่งชีวิตเป็นต้น. ชื่อว่าความตายโดย ธรรม ได้แก่เมื่อใครๆ กล่าวว่า เราจักทำผู้นั้น ผู้ไม่กระทำบาปชื่อนี้ให้ตาย แม้เมื่อผู้นั้นตายไป ไม่การทำบาป ไม่ยังธรรมให้กำเริบ การตายซึ่งมีธรรม เป็นเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นการประเสริฐ เพราะฉะนั้น ความตาย เช่นนั้นชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เพราะไม่ปราศจากธรรม อันวิญญูชน สรรเสริญกว่า เพราะให้ถึงสวรรค์ และเพราะเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน. สมจริงตั้งคำที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะรักษาชีวิตไว้พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึง ธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ แม้กระทั่งชีวิตทั้งหมด ดังนี้.

บทว่า ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ อธิบายว่า บุรุษพึงยังชีวิตอัน ปราศจากธรรมให้เป็นอยู่ ชีวิตนั้นชื่อว่าไม่ประเสริฐ เพราะถูกวิญญูชน ติเตียนและให้ถึงอบาย.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงการไม่เข้าไปฉาบทาของพระขีณาสพตามที่กล่าว แล้วโดยเหตุ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า กามโกปปหีนา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามโกปปหีนา ความว่า ละความยินดี ยินร้ายได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค.

บทว่า สนฺตจิตฺตา ภวาภเว ความว่า ชื่อว่ามีจิตเข้าไปสงบใน ภพน้อยและภพใหญ่ เพราะละกิเลสเครื่องเร่าร้อนได้เด็ดขาด.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 487

บทว่า โลเก ได้แก่ ในขันธโลกเป็นต้น.

บทว่า อสิตา ได้แก่ ผู้อันตัณหาไม่อาศัยแล้ว ด้วยอำนาจอาศัย ตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า นตฺถิ เตสํ ปิยาปิยํ ความว่า อารมณ์อันเป็นที่รัก หรือ ไม่เป็นที่รัก ในที่ไหนๆ มีลาภเป็นต้น และมีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมไม่มี แก่พระขีณาสพ ทั้งหลาย.

บัดนี้ครั้นแสดงประการที่ธรรมนั้น คือเห็นปานนั้น อันเป็นเหตุเกิด ด้วยภาวนาแล้ว เมื่อจะถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ภาวยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็คาถาเหล่านี้เท่านั้น ได้เป็นคาถาพยากรณ์ พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาโคทัตตเถรคาถาที่ ๒

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา จุททสกนิบาต