พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เตลุกานิเถรคาถา ว่าด้วยการกําจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40657
อ่าน  531

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 37

เถรคาถา วีสตินิบาต

๓. เตลุกานิเถรคาถา

ว่าด้วยการกําจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 53]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 37

๓. เตลุกานิเถรคาถา (๑)

ว่าด้วยการกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด

[๓๘๗] เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความสงบใจ จึงได้ถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ซึ่งเป็นเครื่องให้รู้แจ้งปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคดคือกิเลสอันไปแล้วในภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่คือกิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วย บ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้น ไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศกและความร่ำไร ใครในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น แล้วประกาศ ทางเป็นเครื่องตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์ คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรมอันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติธรรมเครื่องนำไป ปราศจากชราและมรณะของใคร.

จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบ ด้วยความแข่งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิตกระด้าง เป็นเครื่องทำลายตัณหา. สิ่งใดมีธนูคือตัณหา เป็นสมุฏฐาน มีประเภท ๓๐ เป็นของมีอยู่ในอก เป็นของหนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่งนั้นนั่นเถิด การไม่ละทิฏฐิเล็กน้อย อันลูกศรคือความดำริผิดให้อาจหาญ


๑. ม. เตลกานิเถรคาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 38

แล้ว เราถูกยิงด้วยลูกศร คือทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือน ใบไม้ที่ถูกลมพัดฉะนั้น ลูกศรคือทิฏฐิ ตั้งขึ้นแล้วในภายในของเราย่อมไหม้ทันที กายอันเนื่องด้วยสัมผัสสะ ๖ เกิดแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราไม่เห็น หมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเรา เยียวยาเรา (โดย) ในเยียวยาด้วยเชือกต่างๆ ด้วยศัสตราและด้วยวิธีอื่นๆ. ใครไม่ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำให้ร่างกายเราเป็นแผล ไม่เบียดเบียนร่างกายเราทั้งหมด จักถอนลูกศรอันเสียบอยู่ภายในหทัยของเราออกได้ ก็บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ในธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ลอยโทษอันเป็นพิษเสียได้ ช่วยชี้บกคือ นิพพาน และหัตถ์คืออริยมรรคแก่เราผู้ตกไปในห้วงน้ำคือ สงสารอันลึก เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่อันนำดินคือ ธุลีไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำสาดไปด้วยมายา ริษยา ความแข่งดีและความง่วงเหงาหาวนอน ความดำริทั้งหลายอันอาศัยซึ่งราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆคืออุทธัจจะ เป็นเสียงคำรน มีสังโยชน์เป็นฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทร คืออบาย.

กระแสตัณหาทั้งหลายย่อมไหลไปตามอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาเพียงดังเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ใครเล่าจะละตัณหาอันเป็นดัง เถาวัลย์นั้นได้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 39

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็นเครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแสตัณหา อันเกิดแต่ใจ พัดท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดังกระแสน้ำ พัดต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งไปฉะนั้น พระศาสดาผู้มีอาวุธคือ ปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้ว เป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัย เกิดแล้ว ผู้แสวงหาฝั่งคือนิพพานจากที่มิใช่ฝั่ง พระองค์ ได้ทรงประทานบันไดอันทอดไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์ ทำด้วยไม้แก่นคือธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา ผู้ถูกกระแสตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย. เราได้ขึ้นสู่ปราสาท คือสติปัฏฐานแล้ว พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญในกาลก่อน โดยเป็นแก่นสาร ก็เมื่อใดเราได้เห็นทางอันเป็นอุบาย ขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน ได้เห็นท่า คืออริยมรรคอันอุดม พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางอันสูงสุด เพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลาย มีทิฏฐิและมานะ เป็นต้น ซึ่งเป็นดังลูกศร เกิดในตน เกิดแต่ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เป็นไปได้. พระพุทธเจ้าทรงกำจัดโทษอันเป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของเรา อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันตั้งอยู่แล้วตลอดกาลนาน.

จบเตลุกานิเถรคาถา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 40

อรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระเตลุกานิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จิรรตฺตํ วตาตาปี ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ก่อนกว่าพระศาสดาประสูติ ได้นามว่า เตลุกานิ เจริญวัยแล้ว รังเกียจกาม เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงละการครองเรือน บวชเป็นปริพาชก มีอัธยาศัยในการออกจากวัฏฏะ เที่ยวแสวงหาวิโมกข์ คือการหลุดพ้น โดยนัยมีอาทิว่า ใครคือท่านผู้ถึงฝั่งในโลก จึงเข้าไปหา สมณพราหมณ์นั้นๆ ถามปัญหา. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทำเขาให้ดื่มด่ำไม่ได้ เขามีจิตข้องกับปัญหานั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติในโลก ประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก วันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม ได้ศรัทธาแล้วบวช เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. วันหนึ่งท่านนั่งอยู่กับพวกภิกษุ พิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ แล้วหวนระลึกถึงการปฏิบัติของตนตามแนวนั้น เมื่อจะบอกข้อปฏิบัตินั้นทั้งหมดแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ ข้อ ๓๘๗.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 41

เรามีความเพียรคิดค้นธรรมอยู่นาน ไม่ได้ความสงบ ใจ จึงได้ถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลก เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่ อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใครซึ่งเป็นเครื่องให้รู้แจ้ง ปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคดคือกิเลส อันไปแล้วในภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่คือ กิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้นไม่หลุด จึงไม่ พ้นจากความโศกและความร่ำไร ใครในโลกจะช่วยเรา ผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น แล้วประกาศทางเป็นเครื่องตรัสรู้ ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรม อันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติธรรมอันเป็นเครื่องนำไป ปราศจากชราและมรณะของใคร.

จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบ ด้วยความแข่งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิต กระด้าง เป็นเครื่องทำลายตัณหา. สิ่งใดมีธนูคือตัณหา เป็นสมุฏฐาน มี ๓๐ ประเภท เป็นของมีอยู่ในอก เป็นของหนัก ทำลายหทัย แล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่งนั้นเถิด. การไม่ละทิฏฐิเล็กน้อยอันลูกศรคือความดำริผิดให้อาจหาญ ขึ้นแล้ว เราถูกยิ่งด้วยลูกศรคือทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือนเรือไม้ถูกลมพัดฉะนั้น. ลูกศรคือทิฏฐิตั้งขึ้นแล้วใน ภายในของเราย่อมไหม้ทันที กายอันเนื่องด้วยสัมผัสสะ ๖

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 42

เกิดขึ้นในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราไม่เห็น หมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราเยียวยาเรา (โดย) ไม่เยียว ยาด้วยเชือกต่างๆ ด้วยศัสตรา และด้วยวิธีอื่นๆ. ใคร ไม่ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำร่างกายให้เป็นแผล ไม่ เบียดเบียนร่างกายเราทั้งหมด จักถอนลูกศรอันเสียบอยู่ ภายในหทัยของเราออกได้ บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ในธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ลอยโทษอันเห็นพิษเสียได้ พึงช่วยขึ้น บกคือนิพพาน และหัตถ์คืออริยมรรคแก่เราผู้ตกไปในห้วงน้ำคือสงสารอันลึก เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ อันนำดินคือไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำลาดไปด้วยมายา ริษยา ความแข่งดี และความง่วงเหงาหาวนอน. ความดำริทั้งหลายอันอาศัยราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆคืออุทธัจจะเป็นเครื่องคำรน มีสังโยชน์เป็นฝนย่อม นำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทรคืออบาย. กระแส ตัณหาทั้งหลาย ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาเพียงเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้นกระแส ตัณหาเหล่านั้นได้ ใครเล่าจะตัดตัณหาเพียงดังเถาวัลย์ นั้นได้.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็นเครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแส ตัณหาอันเกิดแต่ใจ พัดพาท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดังกระแสน้ำพัดพาต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งไปฉะนั้น. พระ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 43

ศาสดาผู้มีอาวุธคือปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้ว เป็น ที่พึ่งแก่เราผู้มีภัยเกิดแล้ว ผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพาน จากที่มิใช่ฝั่ง. พระองค์ได้ประทานบันไดอันทอดไว้ดี บริสุทธิ์สำเร็จด้วยไม้แก่นคือธรรม เป็นบันไดอันมั่นคง แก่เราผู้ถูกระแสตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย. เราได้ขึ้นสู่ปราสาทคือสติปัฏฐาน แล้ว พิจารณาหมู่สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญ ในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร. ก็เมื่อใด เราได้เห็นทาง อันเป็นอุบายขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือตัวตน ได้ เห็นท่าคืออริยมรรคอันอุดม. พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ทางอันสูงสุด เพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิและ มานะเป็นต้น ซึ่งเป็นดังลูกศรเกิดในตน อันเกิดแต่ตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นไปไม่ได้. พระพุทธเจ้าทรงกำจัด โทษอันเป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของ เรา อันนอนเนื่องอยู่ในสันดานตั้งอยู่แล้วตลอดกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรรตฺตํ วต แปลว่า ตลอดกาล นานหนอ.

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร คือความปรารภความเพียร ในการแสวงหาโมกขธรรม.

บทว่า ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ ได้แก่ คิดค้น คือแสวงหาวิมุตติธรรมว่า วิโมกขธรรมเป็นเช่นไรหนอ หรือว่า เราจะพึงบรรลุวิโมกขธรรมนั้นได้ อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 44

บทว่า สมํ จิตฺตสฺส นาลตฺถํ ปุจฺฉํ สมณพฺราหฺมเณ ความว่า เราถามวิมุตติธรรมกะสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้ คือไม่ ประสบความสงบจิตอันมีสภาวะไม่สงบตามปกติ คืออธิบายธรรมอันเป็น เครื่องสลัดวัฏทุกข์อันเป็นตัวสงบ. บทมีอาทิว่า โก โส ปารงฺคโต ความว่า เป็นเครื่องแสดงอาการที่ถาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก โส ปารงฺคโต โลเก ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ปฏิญญาว่าเป็นเจ้าลัทธิในโลกนี้ คนนั้น คือใครหนอเข้าถึงฝั่งแห่งสงสาร คือพระนิพพาน.

บทว่า โก ปตฺโต อมโตคธํ ความว่า ใครถึงคือบรรลุที่พึ่ง คือ นิพพาน ได้แก่ทางแห่งวิโมกข์. บทว่า กสฺส ธมฺมํ ปฏิจฺฉามิ ความว่า เราจะรับ คือปฏิบัติตาม โอวาทธรรมของสมณะหรือพราหมณ์คนไร.

บทว่า ปรมตฺถวิชานนํ ได้แก่ เป็นเครื่องรู้แจ้งปรมัตถประโยชน์ อธิบายว่า อันประกาศปวัตติ (ทุกข์) และนิวัตติ (ความดับทุกข์) อันไม่ ผิดแผก.

บทว่า อนฺโตวงฺกคโต อาสี ความว่า ทิฏฐิ ท่านเรียกว่า วังกะ เพราะเป็นความคดแห่งใจ, อีกอย่างหนึ่ง กิเลสแม้ทั้งหมดเรียกว่า วังกะ ก็บทว่า อนฺโต ได้แก่ ภายในแห่งความคดของใจ อีกอย่างหนึ่ง ได้มี ความคดคือกิเลสอันอยู่ในภายในหัวใจ.

บทว่า มจฺโฉว ฆสมามิสํ ความว่า เหมือนปลากินเหยื่อ คืองับกิน เหยื่อ อธิบายว่า เหมือนปลาติดเบ็ด.

บทว่า พทฺโธ มหินฺทปาเสน เวปจิตฺยสุโร ยถา อธิบายว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 45

ท้าวเวปจิตติ จอมอสูร ถูกบ่วงของท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าโลก ครองไว้ อยู่ อย่างไร้เสรี ได้รับทุกข์ใหญ่หลวงฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อก่อนถูกบ่วง คือกิเลสครองไว้ เป็นผู้อยู่อย่างไม่อิสระ ได้รับทุกข์ใหญ่หลวง.

บทว่า อญฺฉามิ แปลว่า ย่อมคร่ามา. บทว่า นํ ได้แก่ บ่วงคือกิเลส.

บทว่า น มุญฺจามิ แปลว่า ย่อมไม่พ้น.

บทว่า อสฺมา โสกปริทฺทวา ได้แก่ จากวัฏฏะคือ โสกะ และ ปริเทวะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า เนื้อหรือสุกรที่ถูกคล้องบ่วงไว้ ไม่รู้อุบายจะแก้บ่วง ดิ้นไปๆ มาๆ กระตุกบ่วงนั้น ย่อมทำตรงที่ผูกรัด ให้แน่นเข้าฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อก่อนถูกบ่วงกิเลสสวมไว้ ไม่รู้อุบาย ที่จะแก้ ดิ้นในไปด้วยอำนาจกายสัญเจตนา ความจงใจทางกายเป็นต้น แก้บ่วงคือกิเลสนั้นไม่ได้ โดยที่แท้ กระทำมันให้แน่นเข้า ย่อมถึงกิเลส ตัวอื่นเข้าอีก เพราะทุกข์มีความโศกเป็นต้น.

บทว่า โก เน พนฺธํ มุญฺจํ โลเก สมฺโพธึ เวทยิสฺสติ ความว่า ในโลกนี้ ใครจะเปลื้องเครื่องผูกด้วยเครื่องผูกคือกิเลสนี้ จึงประกาศ คือพวกเราถึงทางแห่งวิโมกข์อันได้นามว่า สัมโพธิ เพราะเป็นเครื่อง ตรัสรู้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พนฺธมุญฺจํ ดังนี้ก็มี, มีวาจาประกอบ ความว่า ซึ่งทางเป็นเครื่องตรัสรู้อันปลดเปลื้องจากเครื่องผูก หรือซึ่ง เครื่องผูก.

บทว่า อาทิสนฺตํ ได้แก่ ผู้แสดง. บทว่า ปภงฺคุนํ ได้แก่ เป็น เครื่องหักราน คือกำจัดกิเลส, อีกอย่างหนึ่ง เราจะรับธรรมของใครอัน เป็นเครื่องกำจัดกิเลส คืออันแสดงบอกความเป็นไปแห่งธรรม อันเป็น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 46

เครื่องนำไปปราศจากชราและมัจจุ. บาลีว่า ปฏิปชฺชามิ ดังนี้ก็มี. เนื้อความ ก็อันนั้นแหละ.

บทว่า วิจิกิจฺฉากงฺขาคนฺถิตํ ได้แก่ ถูกร้อยรัดด้วยวิจิกิจฉาความ สงสัยอันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือ และด้วยความเคลือบแคลงอันเป็นไปโดยอาการส่ายไปส่ายมา.

บทว่า สารมฺภพลสญฺญุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสารัมภะความแข่งดี อันมีกำลัง มีลักษณะทำให้ยิ่งกว่าการทำ.

บทว่า โกธปฺปตฺตมนตฺถทฺธํ ได้แก่ ถึงความกระด้างแห่งใจอัน ประกอบด้วยความโกรธในอารมณ์ทุกอย่าง เป็นเครื่องรองรับตัณหา. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยที่ปรารถนาแล้วไม่ได้เป็นต้น ย่อมเป็นไปเหมือน ทำลายจิตของสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่ามีธนูคือตัณหาเป็นสมุฏฐาน ย่อมตั้งอยู่ คือเกิดขึ้น เพราะอุบายวิธีที่เสียบแทงคนแม้ผู้อยู่ในที่ไกล ได้แก่ลูกศร คือทิฏฐิ.

ก็เพราะเหตุที่ลูกศรคือทิฏฐินั้นมี ๓๐ ประเภท คือ สักกายทิฏฐิมี วัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประกอบด้วย ทิฏฐิ ๓๐ ประเภท อธิบายว่า มี ๓๐ ประเภท.

บทว่า ปสฺส โอรสสิกํ พาฬุหํ เภตฺวาน ยทิ ติฏฺติ ความว่า พระเถระเรียกตนเองว่า สิ่งใด ชื่อว่าเกิดในอก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการ เกี่ยวเนื่องในอกเป็นของหนัก คือมีพลังทำลาย คือทิ่มแทงหทัยแล้วตั้งอยู่ ในหทัยนั้นเอง ท่านจงดูสิ่งนั้น.

บทว่า อนุทิฏฺีนํ อปฺปหานํ ได้แก่ การไม่มีทิฏฐิที่เหลืออันเป็น ทิฏฐิเล็กน้อยเป็นเหตุ. อธิบายว่า ก็สักกายทิฏฐิยังไม่ไปปราศจากสันดาน เพียงใด ก็ยังไม่เป็นอันละสัสสตทิฏฐิเป็นต้นเพียงนั้น.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 47

บทว่า สงฺกปฺปปรเตชิตํ ความว่า อันความดำริ คือมิจฉาวิตก ทำคนอื่นผู้ถึงเฉพาะลักษณะนิสัยให้อาจหาญ คือให้อุตสาหะขึ้น.

บทว่า เตน วิทฺโธ ปเวธามิ ความว่า เราถูกลูกศรคือทิฏฐินั้น เสียบแทงจรดถึงหทัยปักอยู่ ย่อมหวั่นไหว คือย่อมดำริ ได้แก่หมุนไป รอบด้าน ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า ปตฺตํว มาลุเตริตํ ความว่า เหมือนใบของต้นไม้ถูกมาลุต คือลม พัดให้หลุดจากขั้ว.

บทว่า อชฺฌตฺตํ เม สมุฏฺาย ความว่า ธรรมดาลูกศรในโลก ตั้งขึ้นจากภายนอก แล้วห้ำหั่นทำลายภายในฉันใด ลูกศรคือทิฏฐินี้ไม่ เหมือนฉันนั้น. ก็ลูกศรคือทิฏฐินี้ตั้งขึ้นแล้วในภายใน คือในอัตภาพ ของเรา เหมือนกลุ่มผัสสายตนะ ๖ ที่รู้กันว่าอัตภาพนั้น ย่อมไหม้ไป เร็วพลัน เหมือนอะไร? เหมือนไฟไหม้พร้อมทั้งที่อาศัยของมัน เมื่อเผา ไหม้อัตภาพที่ยึดถือว่าของเรา คืออันเป็นของของเรานั้นนั่นแหละ เกิด ขึ้นแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปคือเป็นไปในที่นั้นนั่นเอง.

บทว่า น ตํ ปสฺสามิ เตกิจฺฉํ ความว่า เราย่อมไม่เห็นศัลยแพทย์ นั้นชื่อว่าผู้เยียวยา เพราะประกอบการเยียวยาเช่นนั้น.

บทว่า โย เม ตํ สลฺลมุทฺธเร ความว่า แพทย์ใด พึงถอนลูกศรคือ ทิฏฐิ และลูกศรคือกิเลสนั้น พึงนำเอาคำมาประกอบกัน. ความว่า เมื่อ จะถอน ไม่เยียวยารักษาโดยสอดเส้นเชือกต่างๆ คือเส้นลวดสำหรับ ตรวจโรคอันคล้ายกับเชือก ตัดด้วยศัสตรา (และ) ด้วยการประกอบมนต์ และอาคมอย่างอื่น อาจเยียวยาลูกศรได้. ก็บทว่า วิจิกิจฺฉิตํ นี้เป็นเพียง ตัวอย่าง. พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจลูกศรคือกิเลสแม้ทุกชนิด.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 48

บทว่า อสตฺโถ ได้แก่ ผู้งดเว้นศัสตรา.

บทว่า อวโณ แปลว่า ไม่มีแผล.

บทว่า อพฺภนฺตรปสฺสยํ ได้แก่ อาศัยหทัย กล่าวคือภายในตั้งอยู่.

บทว่า อหึสํ แปลว่า ไม่เบียดเบียน. บาลีว่า อหึสา ก็มี. อธิบายว่า โดยไม่เบียคเบียน คือโดยไม่บีบคั้น. ก็ในที่นี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ใครหนอแล ไม่ต้องถือศัสตรา ไรๆ และไม่ทำให้มีแผล ต่อแต่นั้น ไม่ทำร่างกายทุกส่วนให้ลำบาก โดย ปรมัตถ์นั้นแล จักถอนลูกศรคือกิเลสอันเป็นตัวลูกศรซึ่งอยู่ในภายใน หทัยของเรา โดยทิ่มแทงภายใน และปิดกั้นภายใน โดยไม่ให้เกิดการ บีบคั้น.

พระเถระครั้นแสดงอาการคิดของตนในกาลก่อน ด้วยคาถา ๑๐ คาถาอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงอาการคิดนั้นซ้ำอีกโดยประการอื่น จึง กล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺมปฺปติ หิ โส เสฏฺโ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปฺปติ ได้แก่ มีธรรมเป็นนิมิต คือมีธรรมเป็นเหตุ. ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า โส เสฏฺโ แปลว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ประเสริฐ.

บทว่า วิสโทสปฺปวาหโก ความว่า บุคคลเป็นผู้ลอย คือตัดกิเลส มีราคะเป็นต้นของเรา.

บทว่า คมฺภีเร ปติตสฺส เม ถลํ ปาณิญฺจ ทสฺสเย ความว่า ใครหนอแล ปลอบใจว่า อย่ากลัว แล้วพึงแสดงบก คือพระนิพพาน และหัตถ์คือพระอริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพานนั้น แก่เราผู้ตกลงใน ห้วงน้ำใหญ่ คือสงสารอันลึกยิ่ง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 49

บทว่า รหเทหมสฺมิ โอคาฬฺโห ความว่า เราเป็นผู้หยั่งลง คือ เข้าไปในห้วงน้ำคือสงสารอันใหญ่โต โดยการดำลงหมดทั้งศีรษะ.

บทว่า อหาริยรชมตฺติเก ความว่า ห้วงน้ำ ชื่อว่า มีดิน คือธุลี อันใครนำไปไม่ได้ เพราะเป็นที่มีดินคือเปือกตมอันได้แก่ธุลีมีราคะเป็นต้น อันใครๆ ไม่อาจนำออกไปได้, ในห้วงน้ำนั้น. บาลีว่า อหาริยรชมนฺติเก ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีธุลีคือราคะเป็นต้นอันนำออกไปได้ยาก ในบรรดา ธุลีมีราคะเป็นต้นซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด. บาปธรรมเหล่านั้น คือมายา มีการ ปกปิดโทษที่มีอยู่เป็นลักษณะ ความริษยา มีการอดกลั้นสมบัติของคนอื่น ไม่ได้เป็นลักษณะ การแข็งดี มีการกระทำให้ยิ่งกว่าผู้อื่นทำเป็นลักษณะ ถีนะ มีความคร้านจิตเป็นลักษณะ มิทธะ มีความคร้านกายเป็นลักษณะ แผ่ลาดไปยังห้วงน้ำใด, ในห้วงน้ำนั้นอันลาดด้วยมายา ริษยา การแข่งดี ถีนะ และมิทธะ. ก็ในที่นี้ท่านกล่าว อักษร ว่ากระทำการเชื่อมบท. อธิบายว่า แผ่ไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย ตามที่กล่าวแล้วนี้.

บทว่า อุทฺธจฺจเมฆถนิตํ สํโยชนวลาหกํ ท่านกล่าวด้วยวจนวิปลาส วจนะคลาดเคลื่อน. ชื่อว่า มีเมฆคืออุทธัจจะเป็นเสียงคำรน เพราะมี อุทธัจจะอันมีภาวะหมุนไป อันเมฆคำรน คืออันเมฆกระหึ่มแล้ว, ชื่อว่า มีสังโยชน์เป็นฝน เพราะมีฝนคือสังโยชน์ ๑๐ ประการ. อธิบายว่า ความ ดำริผิดอันอาศัยราคะ ดุจห้วงน้ำ คือเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ ตั้งอยู่ในอสุภ เป็นต้น ย่อมพาเราผู้มีทิฏฐิชั่วไป คือดึงไปสู่สมุทร คืออบายเท่านั้น.

บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา ความว่า กิเลสเพียงดังกระแส ๕ ประการนี้คือ กระแสคือตัณหา ทิฏฐิ มานะ อวิชชา และกิเลส ชื่อว่า ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไหลไปในอารมณ์ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 50

โดยจักขุทวารเป็นต้น หรือเพราะไหลไปโดยส่วนทุกส่วน โดยนัยมีอาทิว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา. บทว่า ลตา ความว่า ชื่อว่าเถาวัลย์ เพราะเป็นดุจเครือเถา เพราะอรรถว่าร้อยรัด เพราะอรรถว่าเกาะติดแน่น ได้แก่ตัณหา.

บทว่า อุพฺภิชฺช ติฏฺติ ความว่า แตกออกจากทวารทั้ง ๖ แล้ว ตั้งอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

บทว่า เต โสเต ความว่า ใคร คือบุรุษวิเศษ จะพึงกั้นกระแส มีตัณหาเป็นต้นอันไหลอยู่ในสันดานของเรา ด้วยเครื่องผูกคือมรรคอัน เป็นดุจสะพาน.

บทว่า ตํ ลตํ ได้แก่ เครือเถาคือตัณหา, ใครจะตัดคือจักตัดด้วย ศัสตราคือมรรค.

บทว่า เวลํ กโรถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงกระทำเขตแดน คือสะพานให้เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.

บทว่า ภทฺทนฺเต เป็นบทแสดงอาการร้องเรียก. บทว่า มา เต มโนมโย โสโต ความว่า กระแสน้ำกว้าง. แม้มหาชนผู้เขลา ก็อาจกระทำสะพานเป็นเครื่องกั้นกระแสน้ำนั้นได้; แต่ กระแสอันเกิดทางใจนี้ ละเอียด ห้ามยาก, กระแสอันเกิดทางใจนั้น ทำพวกท่านที่ยืนอยู่ริมฝั่งอบายให้พลันตกลงในอบายนั้น เมื่อจะให้ตกลง สมุทรคืออบาย ก็พึงอย่าให้พัดพาไป คืออย่าให้พินาศ ได้แก่อย่าให้ ถึงความฉิบหาย เหมือนกระแสน้ำพัดมา ทำให้ต้นไม้ที่อยู่ริมฝั่งโค่น พินาศไปฉะนั้น.

พระเถระนี้ เพราะเป็นผู้อบรมสังขารไว้ในชาติก่อน และเพราะถึง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 51

ความแก่กล้าแห่งญาณ เมื่อพิจารณาเห็นทุกข์ในปัจจุบันอยู่อย่างนี้ จึงแสดง อาการที่กำหนด ถือเอาสังกิเลสธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น บัดนี้เกิดความ สลดใจ เป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล จึงไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อจะแสดง คุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอวํ เม ภยชาตสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เม ภยชาตสฺส ความว่า พระศาสดา ทรงเป็นผู้ต้านทาน คือทรงเป็นที่ต้านทานของโลกพร้อมทั้งเทวโลกผู้มีภัย คือการเกิดในสงสารโดยประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ผู้แสวงหาคือแสวงหา ฝั่งคือพระนิพพาน จากที่มิใช่ฝั่ง คือจากสังสารวัฏฏ์อันมีภัยเฉพาะหน้าซึ่ง เป็นฝั่งใน ชื่อว่าทรงมีปัญญาเป็นอาวุธ เพราะมีปัญญา เครื่องตัดกิเลส เป็นอาวุธ ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนเหล่าสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิ- กัตถประโยชน์เป็นต้น ตามสมควร ผู้อันหมู่ฤาษี คือหมู่แห่งพระอริยบุคคล มีพระอัครสาวกเป็นต้นซ่องเสพ.

บทว่า โสปานํ ความว่า พระศาสดาทรงประทานบันไดกล่าวคือ วิปัสสนา ชื่อว่าทอดไว้ดีแล้ว เพราะทรงกระทำไว้ดี คือเพราะปรุงแต่ง ด้วยเทศนาญาณ ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส ชื่อว่าล้วนแล้ว ด้วยแก่นคือธรรมอันเป็นสาระ มีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น ชื่อว่ามั่นคง เพราะไม่หวั่นไหวด้วยฝ่ายตรงกันข้าม แก่เราผู้ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไป ก็เมื่อ จะประทานความปลอบใจว่า ด้วยวิธีนี้ เธอจักมีความสวัสดี จึงได้ตรัสว่า เธออย่ากลัว.

บทว่า สติปฏฺานปาสาทํ ความว่า เราใช้บันไดคือวิปัสสนานั้น ขึ้นสู่ปราสาท คือสติปัฏฐานอันเพียบพร้อมด้วยภูมิ ๔ ด้วยคุณวิเศษ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 52

คือสามัญผล ๔ ที่จะพึงได้ด้วยกายานุปัสสนาเป็นต้น แล้วพิจารณา คือพิจารณาเฉพาะ ได้แก่รู้แจ้งสัจธรรม ด้วยมรรคญาณ.

บทว่า ยํ ตํ ปุพฺเพ อมญฺิสฺสํ สกฺกายาภิรตํ ปชํ ความว่า เรารู้แจ้งสัจจะอย่างนี้แล้วได้สำคัญเหล่าสัตว์ คือเดียรถีย์ชน ผู้ยินดียิ่งใน สักกายะว่าเรา ว่าของเรา และตนที่เดียรถีย์ชนนั้น กำหนดเอาโดยเป็นสาระ ในกาลก่อน.

บทว่า ยทา จ มคฺคมทฺทกฺขึ นาวาย อภิรูหนํ ความว่า ในกาลใด เราได้เห็นทางคือวิปัสสนาอันเป็นอุบายสำหรับขึ้นเรือ คืออริยมรรคตาม ความเป็นจริง. จำเดิมแต่นั้น เราไม่ยึดถือเดียรถีย์ชนและตนนั้น คือไม่ เอามาตั้งไว้ในใจ จึงได้เห็นท่า คืออริยมรรคทัสสนะอันเป็นท่าแห่งฝั่งใหญ่ คืออมตะ กล่าวคือพระนิพพานอย่างอุกฤษฏ์ โดยมรรคทั้งปวง โดยธรรม ทั้งปวง. อธิบายว่า ได้เห็นตามความเป็นจริง.

พระเถระ ครั้นประกาศการบรรลุมรรคอันยอดเยี่ยมของตนอย่างนี้ แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสดงมรรคนั้น จึงกล่าว คำมีอาทิว่า สลฺลํ อตฺตสมุฏฺานํ ลูกศรที่เกิดในตน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลุลํ ได้แก่ ลูกศร คือกิเลสมีทิฏฐิ มานะ เป็นต้น.

บทว่า อตฺตสมุฏฺานํ ได้แก่ เกิดขึ้นในอัตภาพอันได้ชื่อว่า อัตตา เพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งมานะ การถือตัวว่าเป็นเรา.

บทว่า ภวเนตฺติปฺปภาวิตํ แปลว่า อันตั้งขึ้นจากภวตัณหา คือเป็น ที่อาศัยของภวตัณหา. จริงอยู่ ภวตัณหานั้น เป็นแดนเกิดแห่งทิฏฐิ และมานะเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 53

บทว่า เอเตสํ อปฺปวตฺตาย ความว่า เพื่อความไม่เป็นไป คือ เพื่อความไม่เกิด แห่งบาปธรรมตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า เทเสสิ มคฺคมุตฺตมํ ความว่า ตรัสอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อันสูงสุด คือประเสริฐ และวิปัสสนามรรคอันเป็นอุบาย แห่งอริยมรรคนั้น.

บทว่า ทีฆรตฺตานุสยิตํ ความว่า นอนเนืองๆ อยู่ในสันดาน มานาน ในสงสารอันมีที่สุดและเบื้องต้นรู้ไม่ได้ คือมีกำลังโดยได้เหตุ คือโดยภาวะควรแก่การเกิด แต่จากนั้นจะตั้งอยู่นาน ตั้งมั่นคือขึ้นสู่ สันดานตั้งอยู่.

บทว่า คนฺถํ ความว่า พระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรง ลอยบาปได้ ทรงบรรเทาโทษอันเป็นพิษคือกิเลส อันเป็นตัวร้อยรัดใน สันดานของเรา มีอภิชฌากายคันถะเป็นต้น ด้วยอานุภาพแห่งเทศนา ของพระองค์ คือทรงทำโทษอันเป็นพิษคือกิเลสให้สูญหายไป. จริงอยู่ เมื่อละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้เด็ดขาดแล้ว กิเลสที่ชื่อว่ายังไม่ได้ละย่อม ไม่มีแล.

จบอรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓