พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. สุมนาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40691
อ่าน  696

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 35

เถรีคาถา เอกนิบาต

๑๔. สุมนาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 35

๑๔. สุมนาเถรีคาถา

[๔๑๕] ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่าเกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จัดเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป.

จบ สุมนาเถรีคาถา

๑๔. อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา

คาถาว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับพระเถรีชื่อสุมนา.

เรื่องของพระเถรีชื่อสุมนานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อติสสาความย่อว่า พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งอยู่ต่อหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่าเกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป.

พระเถรีนั้น ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 36

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ความว่า เห็นธาตุมีจักษุเป็นต้นที่นับเนื่องด้วยสันตติ และธาตุแม้อื่นๆ ด้วยญาณจักษุว่าเป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้นเป็นต้น. บทว่า มา ชาตึปุนราคมิ ความว่า อย่าเข้าถึงชาติ คือภพใหม่ต่อไปอีก. บทว่า ภเว ฉนฺทํวิราเชตฺวา ความว่า ละฉันทะคือตัณหาในภพทั้งปวง มีกามภพเป็นต้นด้วยมรรคกล่าวคือวิราคะ. บทว่า อุปสนฺตา จริสฺสสิ ความว่า จักเป็นผู้ดับเพราะละกิเลสได้ทั้งหมดอยู่.

อนึ่งในคาถานี้ ท่านแสดงวิปัสสนาโดยหัวข้อของทุกขานุปัสสนา ด้วยบทนี้ว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ดังนี้. แสดงมรรค ด้วยบทนี้ว่า ภเว ฉนฺทํวิราเชตฺวา ดังนี้. แสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า อนุปสนฺตาจริสฺสสิ ดังนี้. แสดงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า มา ชาตึปุนราคมิ ดังนี้ บัณฑิตพึงเห็นดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา