พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๕. อุตตราเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40692
อ่าน  376

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 36

เถรีคาถา เอกนิบาต

๑๕. อุตตราเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 36

๑๕. อุตตราเถรีคาถา

[๔๑๖] เราเป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และใจได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็นดับสนิทแล้ว.

จบ อุตตราเถรีคาถา

๑๕. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

คาถาว่า กาเยน สํวุตา อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่ออุตตรา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 37

    เรื่องของพระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ก็เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อติสสา ความย่อว่า พระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ประสูติในศากยตระกูล เป็นสนมของพระโพธิสัตว์ ออกบวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี บรรลุพระอรหัตด้วยโอภาสคาถา ได้กล่าวคาถานี้เป็นอุทานด้วยตนเองทีเดียวว่า

    เราเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกายวาจาและใจ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สํวุตา อาสึ ความว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางกาย. บทว่า วาจาย ประกอบความว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางวาจา. พระเถรีกล่าวถึงศีลสังวรแม้ด้วยบททั้งสอง. บทว่า อุท ได้แก่ อถ แปลว่า และ. บทว่า เจตสา ความว่าด้วยสมาธิจิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการเจริญวิปัสสนาด้วยสมาธิจิตนั้น.บทว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ความว่า ถอนขึ้นซึ่งตัณหาพร้อมทั้งราก หรือพร้อมด้วยอวิชชา. ด้วยว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้นในภพสามที่อวิชชาปกปิดโทษไว้.

    อีกนัยหนึ่ง บทว่า กาเยน สํวุตา ความว่า เป็นผู้สำรวมทางกายด้วยความสำรวมด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉากัมมันตะทั้งหมด ด้วยสัมมากัมมันตะ. บทว่า วาจาย ความว่า เป็นผู้สำรวมทางวาจาด้วยความสำรวมด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉาวาจาทั้งหมด ด้วยสัมมาวาจา. บทว่า เจตสาได้แก่ ด้วยสมาธิ. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวสัมมาสมาธิ ด้วยหัวข้อของจิต อธิบายว่ามรรคธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับลักษณะมรรค ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์คือสัมมาสมาธินั่นแล การละอสังวรมีอภิชฌาเป็นต้นโดยไม่เหลือ ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยมรรคสังวร. เพราะเหตุนั้นแหละท่านจึงกล่าวว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ดังนี้. บทว่า สีติภูตามฺหิ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 38

นิพฺพุตา ความว่า เป็นผู้ถึงความเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนเพราะกิเลสโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ดับสนิทด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบ อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา