พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๘. สังฆาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40695
อ่าน  456

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 41

เถรีคาถา เอกนิบาต

๑๘. สังฆาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 41

๑๘. สังฆาเถรีคาถา

[๔๑๙] ข้าพเจ้าละเรือน ละบุตรและสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นที่รัก บวชแล้ว ละราคะและโทสะและสำรอกอวิชชาเสีย ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว.

จบ สังฆาเถรีคาถา

๑๘. อรรถกถาสังฆาเถรีคาถา

คาถาว่า หิตฺวา ฆเร ปพฺพชิตฺวา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อสังฆา.

เรื่องของพระเถรีชื่อสังฆานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อธีรา ก็พระเถรีชื่อสังฆานั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 42

    ข้าพเจ้าละเรือน ละบุตร และสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นที่รัก บวชแล้ว ละราคะและโทสะและสำรอกอวิชชาเสีย ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา แปลว่า ละแล้ว. บทว่า ฆเรได้แก่ เรือน. ฆรศัพท์ในชื่อแม้อย่างเดียวกัน บางคราวท่านกล่าวขยายในข้อความมากอย่างเหมือนพืช. บทว่า หิตฺวา ปุตฺตํ ปิสุํ ปิยํ ความว่า ละบุตรและสัตว์เลี้ยงมีโคกระบือเป็นต้นที่น่ารัก ด้วยการละฉันทราคะที่เกี่ยวเนื่องกับบุตรและสัตว์เลี้ยงนั้น. บทว่า หิตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ความว่า ถอนราคะซึ่งมีสภาพกำหนัด และโทสะซึ่งมีสภาพขัดเคือง ด้วยอริยมรรค. บทว่าอวิชฺชญฺจ วิราชิย ความว่า และสำรอกโมหะซึ่งเป็นเบื้องต้นในอกุศลทั้งหมด. อธิบายว่า ถอนขึ้นด้วยมรรค ดังนี้นั่นเทียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

    จบ อรรถกถาสังฆาเถรีคาถา

    จบ อรรถกถาเอกนิบาต