๑. นันทาเถรีคาถา
[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 43
เถรีคาถา ทุกนิบาต
๑. นันทาเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 43
เถรีคาถา ทุกนิบาต
ว่าด้วยคาถาต่างๆ ในทุกนิบาต
๑. นันทาเถรีคาถา
[๔๒๐] ดูก่อนนันทา เธอจงเห็นร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาดเปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา อนึ่ง เธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้ ละเสียซึ่งอนุสัยคือมานะ เพราะการละมานะได้นั้น เธอจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป.
จบ นันทาเถรีคาถา
อรรถกถาทุกนิบาต
๑. อรรถกถาอภิรูปนันทาเถรีคาถา
ในทุกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. คาถาว่า อาตุรํ อสุจึ ปูตึ เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนางสิกขมานาชื่ออภิรูปนันทา.
เล่ากันว่า นางสิกขมานาชื่ออภิรูปนันทานี้ เป็นธิดาของคฤหบดีมหาศาล ในพันธุมตีนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ตั้งอยู่ในสรณะและศีลห้า เมื่อพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 44
ปรินิพพานแล้ว ได้บูชาพระธาตุเจดีย์ด้วยฉัตรทองที่ประดับด้วยรัตนะแล้วตายไปบังเกิดในสวรรค์ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในสุคติภูมินั่นเอง ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์พระอัครมเหสีของ เจ้าศากยเขมกะ ในกรุงกบิลพัสดุ์ เธอมีชื่อว่า นันทา พระนางนันทานั้น มีรูปงามน่าทัศนาน่าเลื่อมใส จึงได้รู้กันทั่วไปว่า ชื่อว่า อภิรูปนันทา เพราะอัตภาพร่างกายถึงความงามเลิศของรูปอย่างเหลือเกิน เมื่อเธอเจริญวัย ศากยกุมารผู้เป็นคนรักอย่างยิ่งได้สิ้นพระชนม์เสียในวันหมั้นนั่นเอง คราวนั้น พระชนกชนนีจึงให้บวชเธอผู้ไม่ต้องการบวช.
ภิกษุณีอภิรูปนันทานั้นแม้บวชแล้วก็ยังมีความเมาเพราะอาศัยรูป ไม่ไปปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าด้วยเข้าใจว่า พระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษโดยอเนกปริยาย พระศาสดาทรงทราบว่าเธอมีญาณแก่กล้าแล้ว ทรงสั่งพระมหาปชาบดีว่า ภิกษุณีทั้งหมดจงมารับโอวาทตามลำดับเมื่อถึงวาระของตน เธอส่งภิกษุณีรูปอื่นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อถึงวาระ ภิกษุณีพึงไปด้วยตนเอง ไม่พึงส่งรูปอื่นไป เธอไม่อาจละเมิดคำสั่งของพระศาสดาได้จึงได้ไปปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเนรมิตรูปหญิงงามคนหนึ่งด้วยฤทธิ์ แล้วทรงแสดงรูปแก่หง่อมให้เธอเกิดความสังเวช ได้ภาษิต ๒ พระคาถานี้ว่า
ดูก่อนนันทา เธอจงเห็นร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาดเปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวด้วยอสุภภาวนา อนึ่งเธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้ ละเสียซึ่งอนุสัยคือมานะ เพราะการละมานะได้นั้น เธอจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 45
เนื้อความของคาถาเหล่านั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.ในเวลาจบคาถา ภิกษุณีอภิรูปนั้นทาบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า (๑)
ในพระนครอรุณวดี มีกษัตริย์พระนามว่าอรุณราช หม่อมฉันเป็นมเหสีของท้าวเธอ ประพฤติร่วมกัน ในกาลนั้น หม่อนฉันอยู่ในที่ลับนั่งคิดอย่างนี้ว่า บุญกุศลที่พอจะถือเอาไปได้ เราไม่ได้ทำไว้เลยเราจะต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก ทั้งเผ็ดร้อนร้ายแรงแสนทารุณเป็นแน่ เราไม่สงสัยในเรื่องนี้ ครั้นคิดอย่างนี้แล้วหม่อมฉันทำใจให้ร่าเริงเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ หม่อนฉันเป็นหญิงย่อมติดตามชายทุกเมื่อ ขอพระองค์โปรดประทานสมณะองค์หนึ่งแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันจักให้ท่านฉันพระเจ้าข้า พระราชาผู้ใหญ่ได้ประทานสมณะผู้อบรมอันทรีย์แล้วแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันดีใจรับบาตรของท่านเอาภัตตาหารอย่างประณีตใส่จนเต็ม ครั้นแล้วได้ถวายผ้าคู่หนึ่งซึ่งมีราคาเป็นพันให้ท่านครอง ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้นั้น และด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่หม่อมฉันละร่างกายมนุษย์ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้เป็นมเหสีของเทวราชหนึ่งพันองค์ ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิหนึ่งพันองค์ และได้เป็นมเหสีของพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยจะคณานับมิได้ได้บุญมีอย่างต่างๆ เป็นอันมาก ซึ่งเกิดแต่ผลกรรมที่
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๗๓ และ ๑๗๖ อปปลทายิกาเถรีอปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 46
ถวายบิณฑบาตนั้น หม่อนฉันมีผิวพรรณเหมือนดอกบัว เป็นหญิงงามน่าทัศนา สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวงเป็นอภิชาติทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง เมื่อเกิดครั้งสุดท้ายหม่อนฉันได้เกิดในศากยตระกูล เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นประมุขของนารีพันหนึ่ง เบื่อหน่ายต่อการครองเรือนจึงออกบวชเป็นภิกษุณี ครั้นถึงราตรีที่ ๗ ได้บรรลุอริยสัจ ๔ หม่อมฉันไม่อาจจะประมาณจีวร บิณฑบาต ปัจจัย และเสนาสนะ (ที่ทายกทายิกาถวาย) นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต ข้าแต่พระมุนี กุศลกรรมก่อนๆ ของหม่อมฉันอันใดที่พระองค์ทรงทราบ ข้าแต่พระมหาวีระ กุศลกรรมนั้นเป็นอันมาก หม่อมฉันได้สั่งสมเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ หม่อมฉันได้ถวายทานใดในกาลนั้น ไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งทานนั้นคือบิณฑบาตทาน.
หม่อมฉันรู้จักคติ ๒ คือเทวดาและมนุษย์ ไม่รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต หม่อมฉันรู้จักตระกูลสูงซึ่งเป็นตระกูลมหาศาลมีทรัพย์มาก ไม่รู้จักตระกูลอื่น นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต หม่อมฉันท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่เห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ นี้เป็นผลแห่งโสมนัส ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์และในทิพโสตธาตุ เป็นผู้มีความชำนาญในเจโต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 47
ปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุอันบริสุทธิ์มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันมีญาณในอรรถ ในธรรมในนิรุตติและปฏิภาณ เกิดขึ้นในสำนักของพระองค์หม่อมฉันเผากิเลสแล้ว ฯลฯ หม่อมฉันปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.
จบ อรรถกถาอภิรูปนันทาเถรีคาถา