๒. ชันตาเถรีคาถา
[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 47
เถรีคาถา ทุกนิบาต
๒. ชันตาเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 47
๒. ชันตาเถรีคาถา
[๔๒๑] โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการบรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมดข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มีในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบ ชันตาเถรีคาถา
๒. อรรถกถาชันตาเถรีคาถา
คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อชันตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 48
เรื่องที่เป็นอดีตและเรื่องปัจจุบันของพระเถรีชื่อ ชันตา นั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่ออภิรูปนันทา แต่พระเถรีนี้บังเกิดในราชตระกูลลิจฉวีกรุงเวสาลี ความแปลกกันเท่านี้เอง เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบเทศนา พิจารณาคุณวิเศษที่ตนบรรลุ ได้กล่าวคาถาสองคาถาเหล่านั้น ด้วยอำนาจปีติว่า
โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการบรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมดข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มีในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา ความว่า ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา ได้ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว หรือแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ คือผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องตรัสรู้นั้น. บทว่า มคฺคา นิพฺพานปตฺติยาได้แก่ เป็นอุบายแห่งการบรรลุพระนิพพาน. บทว่า ภาวิตา เต มยาสพฺเพ ยถา พุทฺเธน เทสิตา ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นและให้เจริญ เหมือนที่พระพุทธเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้. หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโ หิ เมโส ภควา มีความว่า เหตุ ประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้า และพระอริยะอื่นๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้ว ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 49
การเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาชันตาเถรีคาถา