ความแตกต่างของกิริยา ที่ต่างจาก กุศล อกุศลและวิบาก

 
Tawin
วันที่  22 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4070
อ่าน  1,622

ผมขอความกรุณาผู้รู้ช่วยอธิบายความแตกต่างของ กิริยา กับกุศล กับอกุศลและกับวิบาก ด้วยครับ จักขอบพระคุณมาก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

ความแตกต่างของกิริยา ที่ต่างจาก กุศล อกุศลและวิบาก คือ กิริยา เป็นนามธรรมที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล (วิบาก) จิต เจตสิก ชาติกุศล และชาติอกุศลเป็นนามธรรมฝ่ายเหตุ คือ เป็นปัจจัยทำให้ผลคือวิบากเกิดขึ้น ส่วนวิบากเป็นธรรมฝ่ายผล เป็นเพียงการเกิดขึ้นเสวยผลที่กุศลและอกุศลได้กระทำแล้ว ส่วนนามธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นธรรมฝ่ายเหตุ และฝ่ายผล เพียงเกิดขึ้นกระทำกิจแล้วก็ดับไป ไม่ทำให้ผลเกิดขึ้นเปรียบเหมือนดอกไม้ลม ที่ออกดอกแล้วล่วงหล่นไปไม่มีผลเกิดขึ้น จิตเจตสิกชาติกิริยาส่วนมากเป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งท่านดับกิเลสได้ทั้งหมดแล้ว การกระทำของพระอรหันต์ทั้งหมดไม่เป็นปัจจัยให้เกิดวิบากอีกเลย สมดังข้อความอธิบายกิริยาในอรรถกถาดังนี้

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

กิริยา [สภาวธรรมที่ไม่มีกุศลมูลและอกุศลมูล]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

ปุถุชนมีกิริยาจิต ๒ ดวง คือ

๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต

๒. มโนทวาราวัชชนจิต

กุศล หมายถึง ไม่มีโรค ไม่มีกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ให้ผลเป็นสุข

อกุศล เป็นเหตุให้ได้รับวิบากที่เป็นทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Tawin
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

คุณ wannee.s ช่วยขยายต่อได้ไหมครับว่า

ปุถุชนมีกิริยาจิต ๒ ดวง คือ

๑. ปัญจทวาราวัชชนจิตคืออะไรบ้าง

๒. มโนทวาราวัชชนจิตคืออะไรบ้าง

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Tawin
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

สำหรับ : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กรุณาช่วยยกตัวอย่างในคำที่ว่า

"ส่วนนามธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นธรรมฝ่ายเหตุ และฝ่ายผล เพียงเกิดขึ้นกระทำกิจแล้วก็ดับไป ไม่ทำให้ผลเกิดขึ้นเปรียบเหมือนดอกไม้ลม ที่ออกดอก แล้วล่วงล่นไป ไม่มีผลเกิดขึ้น" คืออะไร ขยายให้อีกหน่อนะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2550

๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ จิตขณะแรกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

๒. มโนทวาราวัชชนจิต เป็นจิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร และเป็นจิตขณะแรกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร

กิริยา หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเพียงทำกิจหน้าที่เท่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุ (กุศล อกุศล) ให้เกิดผล (วิบาก)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2550

นามธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นธรรมฝ่ายเหตุ และฝ่ายผล หมายถึง เป็นกิริยาที่ปฏิเสธทั้งกุศล อกุศล วิบาก ไม่ให้เกิดผลข้างหน้า (กิริยา เกิดเพียงสักแต่ว่าทำกิจเท่านั้นไม่ได้เป็นบุญ ไม่ได้เป็นบาป ไม่ได้เป็นผลด้วยคือวิบาก) ค่อยๆ ศึกษา กุศล อกุศลวิบากให้ละเอียดมากขึ้น จึงจะเข้าใจกิริยา ที่สำคัญควรน้อมนำมาขณะนี้ถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพราะว่าถ้าศึกษาคำไม่นานก็ลืมอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ลัดดาวัลย์
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขอคุณ wannee.s ช่วยขยายต่ออีกหน่อยได้ไหมคะ

โวฏฐัพพนกิจคืออะไร

การศึกษาคำเป็นอย่างไรเพื่อจะได้นำไปตรวจสอบกับสภาพธรรมที่มีจริงเพื่อการเข้าใจต่อไปคะ

เมื่อก่อนดิฉันไม่รู้ว่า กุศล อกุศล ธรรมะ คืออะไร แต่เดี๋ยวนี้เข้าใจมากขึ้นเพราะได้ฟังพระธรรมคะ ดิฉันขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเครพอย่างสูง และขอขอบพระคุณ คุณพี่วรรณี และคุณครูบาอาจารย์ และพี่ๆ ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างสูง ขอขอบคุณคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 25 มิ.ย. 2550

โวฏฐัพพนกิจ ตามศัทพ์แปลว่าทำหน้าที่ตัดสิน โวฏฐัพพนจิต เป็นเพียงจิตที่กระทำทางให้ชวนจิตเกิดขึ้น โวฏฐัพพนกิจเป็นชื่อของมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร และมโนทวาราวัชชนจิต ทำได้อีกกิจหนึ่งคือ ทำอาวัชชนจิตทางมโนทวาร การศึกษาคำคือ การศึกษาชื่อ เช่น จิต เจตสิก รูปเพื่อเป็นปัจจัยให้เข้าถึงธรรมที่มีจริงในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 19 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ