พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40700
อ่าน  422

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 49

เถรีคาถา ทุกนิบาต

๓. อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 49

๓. อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

[๔๒๒] เราพ้นดีแล้ว พ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดยชอบจากสาก จากสามีไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าวและจากงูน้ำ เราตัดราคะและโทสะขาดแล้วอยู่ เรานั้นเข้าไปยังโคนไม้ เพ่งฌานโดยความสุขว่า โอ!ความสุข.

จบ อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

๓. อรรถกถาสุมังคลมาตุเถรีคาถา (๑)

คาถาว่า สุมุตฺติกา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้เป็นมารดาของพระสุมังคลเถระ.

แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลยากจนในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้วบิดามารดายกให้แก่ช่างจักสานคนหนึ่ง ได้บุตร


(๑) บาลี เป็น อัญญตราเถรีภิกขุนี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 50

คนหัวปีเป็นพระอรหันต์ บุตรหัวปีนั้นได้นามว่าสุมังคละ ตั้งแต่นั้นมา นางนั้นเขารู้กันทั่วไปว่า สุมังคลมารดา. แต่เพราะชื่อและโคตรของนางไม่ปรากฏฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในบาลีว่า ภิกษุณีเถรีองค์หนึ่งไม่ปรากฏชื่อ. แม้บุตรของนางนั้น ครั้นรู้ความแล้วก็บวช ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ได้ปรากฏชื่อว่า พระสุมังคลเถระ. มารดาของพระเถระนั้นบวชในหมู่ภิกษุณี เจริญวิปัสสนาอยู่ วันหนึ่งพิจารณาความลำบากที่ตนได้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ เกิดความสังเวช เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ได้เปล่งอุทานกล่าวคาถาสองคาถาเหล่านี้ว่า

    เราพ้นดีแล้ว พ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดยชอบจากสาก จากสามีไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าวและจากงูน้ำ เราตัดราคะและโทสะขาดแล้วอยู่ เรานั้นเข้าไปยังโคนไม้ เพ่งฌานโดยความสุขว่า โอ!ความสุข.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺติกา แปลว่า พ้นดีแล้ว ก็ อักษรเป็นเพียงทำบทให้เต็ม ความว่า พ้นแล้วด้วยดีหนอ. พระเถรีนั้นเห็นสมบัติที่ตนได้ในพระศาสนา จึงเรียกด้วยความเลื่อมใสหรือด้วยสรรเสริญสมบัตินั้น กล่าวว่า สุมุตฺติกา สุมุตฺติกา แต่เมื่อแสดงความหลุดพ้นจากสิ่งที่ตนรังเกียจเป็นพิเศษในเวลาเป็นคฤหัสถ์ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สาธุมุตฺติกามฺหิ ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า สาธุ มุตฺติกามฺหิ ความว่า เราเป็นผู้พ้นโดยชอบทีเดียวหนอ. บทว่า มุสลสฺส แปลว่า จากสาก เล่ากันมาว่า พระเถรีนี้เวลาเป็นคฤหัสถ์ ตำข้าวด้วยตนเองทีเดียวเพราะความยากจน ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อหิริโก เม ความว่า สามีของเราเป็นคนไม่มีหิริ คือปราศจากความละอาย. เพิ่มคำว่า เราไม่ชอบใจเขา. พระเถรี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 51

กล่าวรังเกียจความเป็นไปของพวกหมกมุ่นในกาม เพราะท่านมีจิตคลายกำหนัดในกามทั้งหลายแล้วโดยปกติทีเดียว. บทว่า ฉตฺตกํ วาปิ ความว่า แม้ร่มที่ทำเลี้ยงชีพ เราก็ไม่ชอบใจ วาศัพท์มีเนื้อความรวมถึงสิ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ด้วยวาศัพท์นั้น ท่านรวมถึงผอบและหีบเป็นต้น พระเถรีกล่าวรังเกียจชีวิตลำเค็ญ เพราะต้องเอาท่อนไม้ไผ่เป็นต้นทำร่มเป็นต้นทุกวัน.

    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ลมในร่างกายของเราไม่มีประโยชน์พัดไปแล้วกล่าวเนื้อความว่า ลมในร่างกายของเราเวลาเป็นคฤหัสถ์ ไม่มีประโยชน์นำมาซึ่งชรา พัดไป แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวเนื้อความว่า ลมแต่ร่างกายของเรา ไม่มีประโยชน์และมีกลิ่นเหม็นกว่าของคนอื่นๆ พัดไป. บทว่า อุกฺขลิกาเม เทฑฺฑุภํ วาติ ความว่า ภาชนะหุงต้มภัตตาหารของเรามีกลิ่นงูน้ำคลุ้งไป เพราะหมักหมมไว้นานจึงไม่บริสุทธิ์สะอาด ประกอบความว่า เราเป็นผู้พ้นโดยชอบจากสิ่งนั้น. บทว่า ราคญฺจ อหํ โทสญฺจ วิจฉินฺทนฺตี วิหรามิ ความว่า เราตัดขาดราคะและโทสะซึ่งเป็นกิเลสตัวหัวหน้า ได้แก่อยู่คือกำจัดพร้อมกับเสียงนี้ ความว่า ละได้เด็ดขาด. เล่ากันว่าพระเถรีนั้นรังเกียจสามีของตน ตำหนิเสียงท่อนไม้ไผ่แห้งเป็นต้นที่สามีผ่าอยู่ประจำวันจึงได้กล่าวการละสามีเท่ากับการละราคะและโทสะ. บทว่า สารุกฺขมูลมุปคมฺมความว่า เราคือสุมังคลมารดานั้นเข้าไปยังโคนไม้ที่สงัด. บทว่า สุขโตชฺฌายามิ ความว่า เราเพ่งว่าเป็นสุข คือเราเข้าสมาบัติตามกาลอันสมควร เสวยผลสุขและนิพพานสุข เพ่งอยู่ด้วยการเพ่งผล. ก็บทว่า อโห สุขํ นี้ พระเถรีกล่าวด้วยอำนาจมนสิการที่เป็นไปภายหลังเข้าสมาบัติ แม้จะกล่าวว่า ด้วยอำนาจความผูกใจเดิมก็ถูกเหมือนกัน.

    จบ อรรถกถาสุมังคลมาตุเถรีคาถา