พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อุตตมาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40713
อ่าน  386

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 79

เถรีคาถา ติกนิบาต

๒. อุตตมาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 79

๒. อุตตมาเถรีคาถา

    [๔๓๑] ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้งข้าพเจ้าได้เข้าไปหาภิกษุณี ผู้มีวาจาที่ข้าพเจ้าพึงเชื่อถือได้ ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ และธาตุ แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของภิกษุณีนั้น ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้า เป็นผู้เอิบอิ่มด้วยปีติสุข นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออก.

    จบ อุตตมาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาอุตตมาเถรีคาถา

    คาถาว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตตุํ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่ออุตตมา.

    แม้พระเถรีชื่ออุตตมาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดเป็นฆรทาสีในเรือนตระกูลของกุฎุมพีคนหนึ่ง ในพระนครพันธุมดี นางเจริญวัยแล้ว ทำงานขวนขวายช่วยเหลือตายายของตนเลี้ยงชีพ สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชทรงรักษาอุโบสถในวันเพ็ญ เวลาก่อนอาหารทรงให้ทาน เวลาหลังอาหารเสด็จไปฟังธรรม ครั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 80

มหาชนประพฤติสมาทานองค์อุโบสถในวันเพ็ญ เหมือนพระราชาทรงปฏิบัติทีเดียว. คราวนั้น ทาสีนั้นได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้ ทั้งมหาราชและมหาชนประพฤติสมาทานองค์อุโบสถ อย่ากระนั้นเลย เราพึงประพฤติสมาทานองค์อุโบสถในวันอุโบสถทั้งหลาย ทาสีนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น รักษาอุโบสถศีลบริสุทธิ์ดี บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในสุคติทั้งหลายนั่นแล ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐี กรุงสาวัตถี รู้ความแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระเถรีปฏาจารา เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่อาจให้วิปัสสนานั้นถึงที่สุดได้ พระปฏาจาราเถรีทราบอาจาระจิตของเธอ จึงได้ให้โอวาท เธอตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถรีนั้น ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า (๑)

    ในพระนครพันธุมดี มีกษัตริย์พระนามว่าพันธุมะ ในวันเพ็ญท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถศีล สมัยนั้น ข้าพเจ้าเป็นกุมภทาสีอยู่ในพระนครนั้น ในกาลนั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระราชา จึงคิดอย่างนี้ว่าแม้พระราชาก็ยังทรงละราชสมบัติมารักษาอุโบสถศีลกรรมนั้นต้องมีผลแน่ หมู่ชนจึงเบิกบานใจ ข้าพเจ้าพิจารณาทุคติและความเป็นคนยากจน โดยแยบคาย ทำใจให้ร่าเริงแล้วรักษาอุโบสถศีล ข้าพเจ้ารักษาอุโบสถศีลในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมที่ทำไว้ดีนั้น ข้าพเจ้าได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ข้าพเจ้าอย่างสวยงามในดาวดึงส์นั้น สูงขึ้นไปเบื้องบนโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ มีที่นั่งใหญ่ประดับไว้อย่างดี


    ๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๑ เอกโปสถิกาเถรีอปทาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 81

อัปสรแสนนางต่างบำรุงบำเรอข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้ารุ่งโรจน์เกินเทพเหล่าอื่นในกาลทั้งปวง ได้เป็นมเหสีของเทวราช ๖๔ องค์ ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ องค์ ข้าพเจ้ามีวรรณะดังวรรณะแห่งทอง ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐในที่ทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งอุโบสลศีล. ข้าพเจ้าได้ยานช้างยานม้า ยานรถ และวอทั้งปวงนี้ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ภาชนะทอง เงิน แก้วผลึกและปัทมราคข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ผ้าฝ้าย และผ้าที่มีราคามาก ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง ข้าวน้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ ข้าพเจ้าได้ทุกอย่างนี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ของหอมอย่างดี ดอกไม้ จุรณเครื่องลูบไล้ ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้นและถ้ำข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ข้าพเจ้าเกิดได้ ๗ ปีก็บวชเป็นบรรพชิต บวชไม่ถึงครึ่งเดือนก็ได้บรรลุพระอรหัต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้งหมดขึ้นแล้ว อาสวะทุกอย่างหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้วฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 82

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้งข้าพเจ้าได้เข้าไปหาภิกษุณีผู้มีวาจาที่ข้าพเจ้าพึงเชื่อถือได้ ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะและธาตุแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของภิกษุณีนั้น ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอน ข้าพเจ้าเป็นผู้เอิบอิ่มด้วยปีติสุข นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ภิกฺขุนึ อุปาคจฺฉึ ยา เมสทฺธายิกา อหุ ความว่า ภิกษุณีใดเป็นผู้อันข้าพเจ้าพึงเชื่อ คือมีวาจาน่าเชื่อ ข้าพเจ้านั้นเข้าไปใกล้ คือเข้าไปหาภิกษุณีนั้น ท่านกล่าวหมายถึงพระปฏาจาราเถรี ปาฐะว่า สา ภิกฺขุนี อุปคจฺฉิ ยา เม สาธยิกา ดังนี้ก็มีบ้าง ความว่า ภิกษุณีใดทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า ภิกษุณีนั้นคือ พระปฏาจาราเถรีได้เข้าไปหาข้าพเจ้าเพื่ออนุเคราะห์. บทว่า สา เมธมฺมมเทเสสิ ขนฺธายตนธาตุโย ความว่า พระปฏาจาราเถรีนั้นเมื่อแสดงจำแนกขันธ์เป็นต้นว่า เหล่านี้ขันธ์ ๕ เหล่านี้อายตนะ ๑๒ เหล่านี้ธาตุ ๑๘ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า.

บทว่า ตสฺสา ธมฺมํ สุณิตฺวาน ความว่า ฟังธรรมเรื่องวิปัสสนาอันละเอียดสุขุม ที่แสดงให้ถึงอริยมรรคมีการจำแนกขันธ์เป็นต้น เป็นเบื้องต้น ในสำนักของพระเถรีผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น. บทว่า ยถา มํ อนุสาสิ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 83

สา ความว่า ตามที่พระเถรีนั้นพร่ำสอนคือกล่าวสอนข้าพเจ้า เมื่อปฏิบัติอย่างนั้น ข้าพเจ้าได้ยังการปฏิบัติให้ถึงที่สุด นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน.นามว่าอย่างไร. ตอบว่า บทว่า ปีติสุขสมปฺปิตา ได้แก่ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยปีติสุขซึ่งสำเร็จด้วยฌาน. บทว่า อฏฺมิยา ปาเท ปสาเรสึตโมกฺขนฺธํ ปทาลย ความว่า ทำลายกองโมหะไม่ให้เหลือด้วยอรหัตตมรรคทำลายบัลลังก์เหยียดเท้าออกแล้วในวันที่ ๘, ก็การเปล่งอุทานนี้แหละ เป็นการพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถรีนั้น.

จบ อรรถกถาอุตตมาเถรีคาถา