พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มิตตากาลีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40726
อ่าน  372

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 150

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

๖. มิตตากาลีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 150

๖. มิตตากาลีเถรีคาถา (๑)

    [๔๔๔] ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะ เที่ยวไปด้วยเหตุนั้นๆ ข้าพเจ้าละประโยชน์อันเยี่ยมแล้วถือเอาประโยชน์อันเลว อยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่รู้ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อข้าพเจ้านั่งในที่อยู่ ได้เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ชีวิตของเราน้อย ถูกชราและพยาธิย่ำยี กายนี้ย่อมทำลายไปก่อน ไม่ใช่เวลาที่เราจะประมาท เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลายจึงได้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

    จบ มิตตกาลีเถรีคาถา

อรรถกถามิตตากาฬีเถรีคาถา

    คาถาว่า สทฺธาย ปพฺพชิตฺวาน เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อมิตตากาฬี.

    แม้พระเถรีชื่อมิตตากาฬีองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ใน


    ๑. อรรถกถาว่า มิตตากาฬีเถรีคาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 151

พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกัมมาสธัมมนิคมแคว้นกุรุ รู้ความแล้ว ได้ศรัทธาเพราะมหาสติปัฏฐานเทศนา บวชในหมู่ภิกษุณี มีความต้องการลาภสักการะ บำเพ็ญสมณธรรมเที่ยวไปในที่นั้นๆ ๗ ปี เวลาต่อมามีโยนิโสมนสิการเกิดขึ้น เกิดความสังเวช เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

    ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะ เที่ยวไปด้วยเหตุนั้นๆ ข้าพเจ้าละประโยชน์อันเยี่ยมแล้วถือเอาประโยชน์อันเลว ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่รู้ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อข้าพเจ้านั่งในที่อยู่ได้เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ชีวิตของเราน้อย ถูกชราและพยาธิย่ำยี กายนี้ย่อมทำลายไปก่อน ไม่ใช่เวลาที่เราจะประมาท เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลาย จึงได้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจรึหํ เตน เตน ลาภสกฺการอุสฺสุกา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวาย คือประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วในลาภและสักการะ เที่ยวไปด้วยเหตุนั้นๆ คือด้วยเหตุที่เกิดลาภมีกล่าวพาหุสัจธรรมเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 152

    บทว่า ริญฺจิตฺวา ปรมํ อตฺถํ ความว่า ละ คือสละประโยชน์สูงสุด มีฌานวิปัสสนามรรคและผลเป็นต้น. บทว่า หีนมตฺถํ อเสวิหํ ความว่า ข้าพเจ้าได้ถือเอาประโยชน์อันเลว คือลามก เพราะเป็นอามิสกล่าวคือปัจจัยสี่ ด้วยการแสวงหาโดยไม่แยบคาย. บทว่า กิเลสา นํ วสํ คนฺตวาความว่า ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งหลาย มีมานะความถือตัว มทะความมัวเมา และตัณหาความอยากเป็นต้น. บทว่า สามญฺญตฺถํ นิรชฺชิหํ ความว่าข้าพเจ้าไม่รู้ คือไม่ทราบหน้าที่ของสมณะ.

    บทว่า นิสินฺนาย วิหารเก ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั่งอยู่ในห้องซึ่งเป็นที่อยู่ ได้เกิดความสังเวช หากจะถามว่า เกิดความสังเวชอย่างไรตอบว่า เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอุมฺมคฺคปฏิปนฺนามฺหิ ความว่า พระศาสนานี้ก็เพื่อปรินิพพานโดยไม่ถือมั่นเท่านั้น เราบวชในพระศาสนานั้นแล้วไม่มนสิการกัมมัฏฐาน เป็นผู้ปฏิบัติผิดทางของพระศาสนานั้น บทว่า ตณฺหาย วสมาคตา ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของความอยากที่เกิดแต่ปัจจัย.

    บทว่า อปฺปกํ ชีวิตํ มยฺหํ ความว่า ชีวิตของเราน้อย คือนิดหน่อยคือเร็ว เพราะไม่มีกำหนดเวลา และมีอันตรายมาก. บทว่า ชรา พฺยาธิจ มทฺทติ ความว่า ชราและพยาธิย่อมย่ำยี คือบดขยี้กายนั้น เหมือนภูเขากลิ้งบดขยี้ไปโดยรอบ. ปาฐะว่า มทฺทเร ก็มี. บทว่า ปุรายํ ภิชฺชติกาโย ความว่า กายนี้ย่อมทำลายไปข้างหน้า ประกอบความว่า เพราะกายนั้นมีการแตกทำลายโดยส่วนเดียว ฉะนั้นจึงไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท กาลนี้เว้นขณะทั้งแปด เป็นขณะที่เก้า ซึ่งไม่ควรที่จะประมาท พระเถรีนั้นมีความสังเวชดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 153

บทว่า ยถาภูตมเวกฺขนฺตี ความว่า เกิดความสังเวชอย่างนี้แล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา พิจารณาตามความเป็นจริง ด้วยมนสิการถึงอนิจจลักษณะเป็นต้น เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า พิจารณาอะไร พระเถรีจึงกล่าวว่า พิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าพิจารณาความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ห้า ซึ่งมีประเภทครบห้าสิบ โดยนัยเป็นต้นว่าเพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด ดังนี้ ด้วยอุทยัพยานุปัสสนาญาณ ขวนขวายเจริญวิปัสสนา ได้มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสและภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวงตามลำดับมรรค คือได้เป็นผู้ออกแล้วจากภพทั้งสาม ด้วยความเพียรทั้งกายและใจ และด้วยมรรคด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถามิตตากาฬีเถรีคาถา