พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. โสณาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40728
อ่าน  472

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 161

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

๘. โสณาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 161

๘. โสณาเถรีคาถา

[๔๔๖] พระโสณาเถรีกล่าวคาถาอุทานว่า

    ข้าพเจ้าคลอดบุตร ๑๐ คน ในเรือนร่างคือรูปนี้เพราะเหตุนั้น จึงชราทุพพลภาพ เข้าไปหาภิกษุณี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 162

ภิกษุณีนั้น แสดงธรรมคือขันธ์อายตนะและธาตุข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว ก็โกนผมบวช ข้าพเจ้านั้นศึกษาอยู่ ก็ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้ารู้ปุพเพนิวาสญาณ รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน และเจริญอนิมิตตสมาธิ มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว มีวิโมกข์เกิดขึ้นในลำดับ ไม่ยึดมั่น ดับสนิท.ปัญจขันธ์ ข้าพเจ้ากำหนดรู้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ดำรงอยู่ น่าตำหนิความชราที่น่าชัง บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก.

    จบ โสณาเถรีคาถา

๘. อรรถกถาโสณาเถรีคาถา

    คาถาว่า ทส ปุตฺเต วิชายิตฺวา เป็นต้น เป็นคาถาของพระโสณาเถรี.

    พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณี ผู้ปรารภความเพียร ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป แม้ตนเอง ก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้ว เวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปปาทกาลนี้ ก็บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงสาวัตถี เติบโตเป็นสาวแล้วก็ได้สามี มีบุตรธิดา ๑๐ คน ใครๆ ก็รู้จักว่า ผู้มีบุตรมาก เมื่อสามีบวช

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 163

นางก็ให้บุตรธิดาซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มสาวอยู่ครองเรือน จัดแบ่งทรัพย์ทั้งหมดมอบให้บุตรทั้งหลาย ไม่ขยักทรัพย์อะไรๆ ไว้สำหรับตัวเลย บุตรและภริยาของบุตรบำรุงนางได้ ๒ - ๓ วันก็ดูหมิ่น นางคิดว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะอยู่ในเรือนที่บุตรพวกนี้ของเราดูหมิ่นแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุณีขอบวช ภิกษุณีทั้งหลายก็ให้นางบวช นางได้อุปสมบทแล้วคิดว่า เราบวชเมื่อแก่ พึงไม่ประมาท เมื่อทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คิดว่า เราจักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่งก็เอามือข้างหนึ่งจับเสาต้นหนึ่งใต้ปราสาท ไม่ละเสานั้นทำสมณธรรม แม้เมื่อเดิน คิดว่า ศีรษะของเราไม่พึงชนที่ต้นไม้เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่งในที่มืดแล้วเอามือข้างหนึ่งจับต้นไม้ ไม่ละต้นไม้นั้น ทำสมณธรรม. นับตั้งแต่นั้นมานางก็ได้ปรากฏชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระศาสดาทรงเห็นว่านางมีญาณแก่กล้า ประทับในพระคันธกุฎีแผ่พระรัศมีไป แสดงพระองค์ประหนึ่งว่าประทับนั่งต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาว่า

    ผู้เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ยังประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่ตั้งร้อยปี.

    จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า (๑)

    พระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ถึงฝั่งแห่งสรรพธรรม ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวเศรษฐี มีสุขแต่งตัวน่ารัก เข้าเฝ้าพระมุนีผู้ประเสริฐ ฟังพระมธุรวาจา.


    ๑. ขุ ๓๓/ข้อ ๑๖๖ ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 164

    พระชินพุทธเจ้าทรงยกย่องภิกษุณีรูปหนึ่งว่าเป็นเลิศของภิกษุผู้ปรารภความเพียร. ข้าพเจ้าได้ยินพระดำรัสแล้วก็ยินดีด้วย กระทำสักการะแด่พระศาสดา ถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า ปรารถนาตำแหน่งนั้น. พระมหาวีระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาว่า ขอความปรารถนาของเจ้าจงสำเร็จเถิด ในแสนกัปนับแต่กัปนี้พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ทรงสมภพในราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช จักทรงเป็นศาสดาในโลก เจ้าจักเป็นโอรสาทายาทในธรรมของพระองค์ ถูกเนรมิตโดยธรรม จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่าโสณา.

    ข้าพเจ้าฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ยินดีมีจิตเมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้นำพิเศษด้วยปัจจัย ๔ จนตลอดชีวิตในครั้งนั้น.

    ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ ข้าพเจ้าละความเป็นมนุษย์แล้วก็ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

    บัดนี้ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวเศรษฐีที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถีราชธานี.

    เมื่อข้าพเจ้าเติบโตเป็นสาว ก็ไปมีสามี ให้กำเนิดบุตรถึง ๑๐ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งล้วนแต่รูปร่างสะสวย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 165

    บุตรเหล่านั้นทุกคน อยู่ในความสุขเป็นที่โปรดปรานของบิดามารดา แม้ผู้มิใช่มิตรก็ยังชอบใจ จะป่วยกล่าวไปไยว่า บุตรเหล่านั้นจะเป็นที่รักของข้าพเจ้าสักเพียงไร ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา สามีของข้าพเจ้าอันบุตรทั้ง ๑๐ คน ห้อมล้อมแล้ว ก็บวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเทพแห่งเทพ.

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลำพังคนเดียวก็คิดว่า ข้าพเจ้าถูกสามีและบุตรสลัดแล้ว แก่เฒ่าและยากไร้ ไม่ควรจะมีชีวิตอยู่ จำจะไปที่อารามซึ่งสามีของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้แล้ว ก็ออกบวช.

    แต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลาย ก็ปล่อยข้าพเจ้าไว้แต่ผู้เดียวในสำนักภิกษุณี สั่งให้ข้าพเจ้าต้มน้ำไว้ ครั้งนั้นข้าพเจ้าเอาน้ำมาใส่ในหม้อเล็กวางทิ้งไว้ แล้วนั่งอยู่แต่นั่น ข้าพเจ้าก็เริ่มตั้งความเพียรทางจิต เห็นขันธ์ทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไป ได้บรรลุพระอรหัต.

    ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายกลับมาถามหาถึงน้ำร้อน ข้าพเจ้าก็อธิษฐานเตโชธาตุ ทำน้ำให้ร้อนได้ฉับพลัน ภิกษุณีเหล่านั้นอัศจรรย์ใจ ก็ทูลเรื่องนั้นถวายพระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 166

พระโลกนาถทรงทราบแล้วก็ทรงยินดี ได้ตรัสพระคาถาว่า ผู้ปรารภความเพียรไว้มั่นคง นี้ชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้งร้อยปี.

พระมหาวีระพุทธเจ้า ทรงให้ข้าพเจ้ายินดีในการปฏิบัติดี พระมหามุนีพระองค์นั้น ก็ตรัสยกย่องข้าพเจ้าว่า เป็นเลิศของภิกษุณีผู้ปรารภความเพียร

กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทุกภพข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกได้ขาดดุจช้างตัดเครื่องผูกขาดแล้วฉะนั้น ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้ามาดีแล้วหนอ ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับ จึงได้ทรงสถาปนาพระโสณาเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณีผู้ปรารภความเพียร พระเถรีนั้น พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าคลอดบุตร ๑๐ คน ในเรือนร่างคือรูปนี้เพราะเหตุนั้น จึงชราทุพพลภาพ เข้าไปหาภิกษุณี.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 167

    ภิกษุณีนั้น แสดงธรรมคือขันธ์ อายตนะและธาตุข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว ก็โกนผมบวช ข้าพเจ้านั้นศึกษาอยู่ ก็ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้ารู้ปุพเพนิวาสญาณ รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน และเจริญอนิมิตตสมาธิ ก็มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว มีวิโมกข์เกิดขึ้นในลำดับ ไม่ยึดมั่น ดับสนิท.

    ปัญจขันธ์ ข้าพเจ้ากำหนดรู้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ดำรงอยู่ น่าตำหนิความชราที่น่าชัง บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปสมฺจจเย ได้แก่ ในเรือนร่าง กล่าวคือรูป. ความจริง รูป ศัพท์นี้ มาในรูปายตนะ ในบาลีว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจรูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ อาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดดังนี้เป็นต้น, มาในรูปขันธ์ ในบาลีว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันดังนี้เป็นต้น.มาในสภาวะ ในบาลีว่า ปิยรูเป สาตรูเป รชฺชติ ย่อมกำหนัดในปิยรูปสาตรูป ดังนี้เป็นต้น. มาในอายตนะคือกสิณ ในบาลีว่า พหิทฺธา รูปานิปสฺสติ เห็นรูปในภายนอก ดังนี้เป็นต้น. มาในรูปฌาน ในบาลีว่า รูปีรูปานิ ปสฺสติ ผู้มีรูปเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น. มาในรูปกาย ในบาลีว่า อฏฺิญฺจ ปฏิจฺจ นหารุญฺจ ปฏิจฺจ มํสญฺจ ปฏิจฺจจมฺมญฺจ ปฏิจฺจ อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขยํ คจฺฉติ อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ หนังห้อมล้อม ก็นับว่าเป็นรูปทั้งนั้นดังนี้เป็นต้น.แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นความในรูปกายเท่านั้น. แม้สมุสฺสยศัพท์ก็เป็นปริยายของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 168

ร่างแห่งกระดูกทั้งหลาย สมุสฺสยศัพท์มาในปริยายแห่งร่างกระดูก ในบาลีว่าติสตสมุสฺสยา เพราะร่างแห่งกระดูกสามร้อยชิ้นดังนี้เป็นต้น. มาในสรีระในบาลีว่า อาตุรํ อสุจึ ปูตึ ปสฺส นนฺเท สมุสฺายํ ดูก่อนนันทาเจ้าจงดูสรีระ ที่อาดูรเดือดร้อน ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ดังนี้เป็นต้น. แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นความในสรีระเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า รูปสมุสฺสเย แปลว่า ในร่างกล่าวคือรูป อธิบายว่าในสรีระ. บทว่าอสฺมึ รูปสมุสฺสเย ประกอบความว่า ตั้งอยู่ในร่างคือรูปนี้ ได้แก่อาศัยรูปกายที่คลอดบุตร ๑๐ คน. บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุที่คลอดบุตร ๑๐คนนั้น. จริงอยู่ นางเลยปฐมวัยไปแล้ว จึงคลอดบุตรทั้งหลาย นางจึงมีสรีระอ่อนกำลังลง และคร่ำคร่าเพราะชรา มาโดยลำดับ. ด้วยเหตุนั้นพระเถรีจึงกล่าวว่า ตโตหํ ทุพฺพลา ชิณฺณา เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงอ่อนกำลังชราลง.

    บทว่า ตสฺสา แปลว่านั้น อีกอย่างหนึ่ง แปลว่าในที่ใกล้ข้าพเจ้านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺสา เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติความว่าอันข้าพเจ้านั้น. บทว่า สิกฺขมานาย ได้แก่ ศึกษาสิกขาแม้ทั้ง ๓.

    บทว่า อนนิตราวิโมกฺขาสึ ความว่า ข้าพเจ้ามีวิโมกข์เกิดขึ้นในลำดับแห่งอรหัตตมรรค. จริงอยู่ แม้วิโมกข์ ๘ เป็นต้นว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูป หาชื่อว่าวิโมกข์ในลำดับไม่. ความจริง ผลวิโมกข์ที่บรรลุในลำดับแห่งมรรคแม้เป็นไปอยู่ในเวลาเข้าผลสมาบัติ ก็อาศัยผลสมาบัตินั้นชื่อว่าอนันตรวิโมกข์ เพราะเกิดขึ้นพร้อมในลำดับแห่งมรรคแรก [โสดาปัตติมรรค] นั่นแล. เหมือนอย่างมรรคสมาธิ ท่านก็เรียกว่า อานันตริกสมาธิฉะนั้น.บทว่า อนุปาทาย นิพฺพุตา ได้แก่ ข้าพเจ้าไม่ยึดบรรดาอารมณ์มีรูปเป็นต้น แม้ไรๆ ดับสนิท เพราะดับกิเลสเด็ดขาด.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 169

    พระเถรีครั้นชี้แจงวิชชา ๓ อย่างนี้แล้ว เมื่อจับยอดโดยอรหัตตผลอุทานแล้ว บัดนี้ เมื่อจะติเตียนสรีระที่ถูกชราเบียดเบียนเป็นเวลาช้านาน เพื่อชี้แจงความที่สรีระนั้น พร้อมด้วยวัตถุล่วงเลยไปแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่าปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺญาตา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธิตวตฺถุ ชเร ขมฺเม ความว่า น่าตำหนิติเตียนความชรา ที่ชั่วต่ำทรามสำหรับท่าน เพราะทำอวัยวะให้หย่อนยานเป็นต้น. บทว่า ปตฺถิทานิ ปุนพฺภโวอธิบายว่า เพราะฉะนั้น ท่านถูกเราล่วงเลยครอบงำไว้แล้ว.

    จบ อรรถกถาโสณาเถรีคาถา