พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. จันทาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40732
อ่าน  400

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 202

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

๑๒. จันทาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 202

๑๒. จันทาเถรีคาถา

[๔๕๐] พระจันทาเถรี กล่าวอุทานว่า

    แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เป็นหม้ายไร้บุตร ปราศจากญาติมิตร ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งอาหารและผ้า ถือภาชนะและท่อนไม้เที่ยวขอทานจากครอบครัวหนึ่งไปยังครอบครัวหนึ่ง ถูกความหนาวและความร้อนเบียดเบียน เที่ยวขอทานอยู่ถึง ๗ ปี.ต่อมาภายหลัง ข้าพเจ้าได้พบพระปฏาจาราเถรี ภิกษุณีผู้ได้ข้าวน้ำอยู่เป็นปกติ จึงเข้าไปบอกขอบรรพชาไม่มีเรือน.

    ท่านพระปฏาจาราเถรีนั้น กรุณาข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้าได้บรรพชา ต่อนั้น ก็สั่งสอนข้าพเจ้า ประกอบข้าพเจ้าไว้ในประโยชน์อย่างยิ่ง.

    ข้าพเจ้าฟังคำของท่านแล้ว ได้กระทำตามที่ท่านสอน โอวาทของพระแม่เจ้า ไม่เป็นโมฆะเปล่าประโยชน์ ข้าพเจ้ามีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ.

    จบ จันทาเถรีคาถา

    ปัญจกนิบาต จบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 203

๑๒. อรรถกถาจันทาเถรีคาถา

คาถาว่า ทุคฺคตาหํ ปุเร อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระจันทาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ รวบรวมธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับมีญาณแก่กล้าแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในเรือนพราหมณ์ผู้ไม่ปรากฏชื่อ ในหมู่บ้านพราหมณ์ตำบลหนึ่ง นับแต่นางบังเกิด ครอบครัวนั้นก็เสื่อมโภคะลงเรื่อยมา. นางรู้เดียงสาตามลำดับ มีชีวิตอยู่อย่างลำเค็ญ ครั้งนั้น เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในเรือนหลังหนึ่ง ด้วยโรคนั้นญาติของนางทั้งหมด ก็พากันล้มตายไป เมื่อสิ้นญาติ นางก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่ในที่อื่น ต้องถือกะลาขอทาน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหาร คือ ภิกษาที่นางตระเวนไปทุกครอบครัวแล้วได้มา ได้ไปยังสถานที่แจกข้าวของพระปฏาจาราเถรี. ภิกษุณีทั้งหลายเห็นนางต้องทุกข์ ถูกทุกข์ครอบงำ ก็เกิดกรุณา ให้นางเอิบอิ่ม ด้วยอาจาระที่น่าจับใจ ด้วยอาหารที่มีอยู่ในที่นั้น. นางเลื่อมใสในอาจาระและศีลของภิกษุณีเหล่านั้น เข้าไปหาพระเถรี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. พระเถรีก็แสดงธรรมแก่นาง นางฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใสในคำสอน และเกิดความสังเวชใจในสังสารวัฏฏ์จึงบวช. ครั้นบวชแล้วก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี เริ่มตั้งวิปัสสนา ประกอบภาวนาเนืองๆ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญบารมีไว้ และเพราะญาณแก่กล้า ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 204

แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เป็นหม้ายไร้บุตร ปราศจากญาติมิตร ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งอาหารและผ้า ถือภาชนะและท่อนไม้เที่ยวขอทาน จากครอบครัวหนึ่งไปสู่ครอบครัวหนึ่ง ถูกความหนาวความร้อนเบียดเบียน เที่ยวขอทานอยู่ถึง ๗ ปี. ต่อมาภายหลัง ข้าพเจ้าได้พบพระปฏาจาราเถรี ภิกษุณีผู้ได้ข้าวน้ำอยู่เป็นปกติ จึงเข้าไปบอก ขอบรรพชาไม่มีเรือน.

    ท่านพระปฏาจาราเถรีนั้น กรุณาข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้าได้บรรพชา ต่อนั้น ก็สั่งสอนข้าพเจ้า ประกอบข้าพเจ้าไว้ในประโยชน์อย่างยิ่ง.

    ข้าพเจ้าฟังคำของท่านแล้ว ได้กระทำตามที่ท่านสอน โอวาทของพระแม่เจ้าไม่เป็นโมฆะ เปล่าประโยชน์ ข้าพเจ้ามีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ยากจน. บทว่า ปุเรได้แก่ ก่อนแต่บวช. จริงอยู่ เวลาบวชแล้ว นับตั้งแต่นั้นมา บุคคลในพระศาสนานี้ ใครๆ ไม่ควรพูดว่าเป็นคนมั่งมี หรือยากจน แต่พระเถรีนี้มั่งมีด้วยคุณทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงว่า ทุคฺคตาหํ ปุเร อาสึ. ในบทว่า วิธวา สามีเขาเรียกว่า ธว ชื่อว่า วิธวา เพราะไม่มีสามีนั้น อธิบายว่า สามีตาย [หม้าย] . บทว่า อปุตฺติกา ได้แก่ เว้นจากบุตร. บทว่า วินามิตฺเตหิ ญาตีหิ ได้แก่ เสื่อมคือปราศจากมิตรและพวกพ้อง. บทว่า ภตฺต-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 205

โจฬสฺส นาธิคํ ความว่า ไม่พบความบริบูรณ์แห่งอาหารและผ้า อธิบายว่าข้าพเจ้าไม่ได้เพียงอาหารและเครื่องปกปิด [ผ้า] คือก้อนข้าว และชิ้นผ้าเก่าๆ อย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ปตฺตํ ทณฺฑญฺจคณฺหิตฺวา เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺตํ ได้แก่ ภาชนะดิน. บทว่า ทณฺฑํได้แก่ ท่อนไม้ใช้กันโคและสุนัขเป็นต้น. บทว่า กุลา กุลํ ได้แก่ จากสกุลไปสู่สกุล. บทว่า สีตุณฺเหน จ ฑยฺหนฺติ ได้แก่ ถูกความหนาวและความร้อนเบียดเบียน เพราะไม่มีเรือนที่อยู่.

    ด้วยบทว่า ภิกฺขุนึ พระเถรีกล่าวหมายถึงพระปฏาจาราเถรี. บทว่าปุน ได้แก่ ภายหลัง คือต่อมาอีก ๗ ปี.

    บทว่า ปรมตฺเถ ได้แก่ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือสูงสุด ได้แก่ปฏิปทาที่ให้ถึงพระนิพพาน และพระนิพพาน. บทว่า นิโยชยิ ได้แก่ บอกกรรมฐาน ประกอบข้าพเจ้าไว้. คำที่เหลือมีนัยอันกล่าวแล้ว.

    จบ อรรถกถาจันทาเถรีคาถา

    จบ อรรถกถาปัญจกนิบาต