เอกัตคตาเจตสิก ที่ตั้งมั่นมาจากเหตุอะไรบ้างครับ

 
ajarnkruo
วันที่  22 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4074
อ่าน  1,501

การฟัง ศึกษาธรรมะและเจริญสติปัฏฐาน แม้เพียงขั้นเริ่มต้นเกิดนามนั่นนิด รูปนี้หน่อย กลับทำให้เกิดความสบายใจ เมื่อสุข ทุกข์หรือเฉย เกิดก็รู้ว่าเกิด
แม้บางครั้งจะรู้ด้วยการคิดก็ตามที ช่วงแรกๆ ที่ผมเริ่มฟังธรรมมะใหม่ๆ ผมยอมรับว่า ผมฟังได้ไม่นานเลยครับ ได้เพียง ๒๐- ๓๐ นาทีเท่านั้น และเวลามีใครมาทัก ก็จะหลุดไปเลยดื้อๆ คือ ไม่สามารถจะตั้งมั่นได้ ทำให้ต้องกลับมาฟังใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก พอเวลาผ่านไป ผมกลับพบว่าตนเองสามารถฟังธรรมได้นานมากขึ้น แม้จะมีใครมาทัก หรือมีสิ่งภายนอกรบกวนก็ไม่ทำให้หลุดจากการฟังได้มากเท่าช่วงแรก รวมทั้งเมื่อรู้ว่าหลุดไปจากการฟังเพราะความคิดที่แวบเข้ามาให้เกิดคิดในเรื่องอื่นๆ ขณะฟังธรรม ก็เกิดรู้ว่าหลุดไปแล้ว ไม่เกิดความกระวนกระวายใจมากมายเท่ากับช่วงแรกที่ต้องกลับมาฟังใหม่ซ้ำๆ จะเป็นเพราะเหตุใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 มิ.ย. 2550

ผู้ที่ศึกษาพระสัทธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ย่อมเกิดความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ทำให้เข้าใจความจริงมากยิ่งขึ้น ขณะที่ฟังด้วยความเข้าใจขณะนั้น มีโสภณธรรมเกิดร่วมด้วย จิตสงบจากอกุศล เมื่อกุศลเกิดบ่อยและมากยิ่งขึ้น ย่อมมีกำลังมากขึ้น ทำให้เข้าใจความจริงมากยิ่งขึ้น เพราะเข้าใจมากยิ่งขึ้น ความอดทนอดกลั้น คือ ขันติ โสรัจจะ เมตตา การเข้าใจผู้อื่นและตนเองย่อมมีมากขึ้น นี่คือเหตุที่ทำให้อกุศลธรรมบางประเภทที่เคยเกิดมากก็เกิดน้อยลง กุศลธรรมที่ไม่เคยเกิดย่อมเกิดขึ้น กุศลธรรมที่เคยเกิดแล้วย่อมเจริญไพบูลย์มากยิ่งขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2550

ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจ ขณะนั้นจิตสงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ ชั่วขณะ จิตขณะนั้นอ่อนโยน มีเมตตา ไม่กระวนกระวาย การฟังธรรมเป็นเหตุให้กุศลและปัญญาเจริญขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สมัยที่ไม่ได้ศึกษาธรรม กำลังดูทีวี ถ้าได้ยินเสียงธรรมก็ไม่สนใจเพราะกำลังสนใจทีวี สิ่งใดที่เราสนใจมากจิตก็ย่อมน้อมไปตั้งมั่นในสิ่งนั้นมาก กำลังมีเรื่องกลุ้มใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษ แม้มีเรื่องอื่นเข้ามาในวันนั้น ก็ผ่านไป แล้วก็มาคิดเรื่องนั้นบ่อยๆ อีกครับ เพราะกำลังสนใจ ใส่ใจในเรื่องนั้น เมื่อฟังธรรมเริ่มแรก ความเข้าใจ (ปัญญา) ยังน้อย ก็ย่อมมีความสนใจหรือความใส่ใจไม่มาก (เท่ากับเข้าใจมากแล้ว) เมื่อใส่ใจและสนใจไม่มาก เพราะปัญญายังน้อย เมื่อมีสิ่งใดมากระทบรอบข้างก็ย่อมหวั่นไหวไป เผลอไปที่จะสนใจเรื่องอื่นครับ เพราะความใส่ใจ สนใจในเรื่องอื่นก็ยังมีมาก เช่นกัน อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงของการฟังพระธรรม เพราะปัญญายังไม่มาก แต่เมื่อฟังธรรมจนปัญญาเพิ่มมากขึ้นก็ย่อมเห็นประโยชน์ของธรรมมากกว่าอย่างอื่น จิตและสังขารขันธ์ก็ปรุงแต่งให้สนใจในพระธรรมมากขึ้น (เพราะปัญญามากขึ้น) ด้วยการเห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรม เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระทบก็หวั่นไหวไปบ้างแต่ เราก็กลับมาสนใจในพระธรรมอีกได้อย่างเร็วกว่าแต่ก่อน เพราะเกิดความสนใจ ใส่ใจและเห็นประโยชน์อันเนื่องมาจากปัญญาเจริญขึ้น เพราะการฟังพระธรรมนั่นเอง แต่ที่ลืมไม่ได้และต้องย้ำอยู่เสมอว่า ไม่ใช่เราที่สนใจหรือตั้งใจมากขึ้น แต่เป็นหน้าที่ของธรรมที่ปรุงแต่งจนให้เป็นอย่างนั้นครับ ไม่ลืมเสมอว่าทุก อย่างเป็นธรรม ไม่เช่นนั้นก็เป็นเราที่ดีขึ้น ไม่สามารถละความเป็นเราได้ ก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ หนทางเดียวเท่านั้นคือ สติปัฏฐาน ละความเป็นเรา แม้ความดีที่เกิดขึ้นครับ

ขออนุโมทนา

ขอออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 17 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ