๑. อุตตราเถรีคาถา
[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 274
เถรีคาถา สัตตกนิบาต
๑. อุตตราเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 274
สัตตกนิบาต
๑. อุตตราเถรีคาถา
[๔๕๙] พระปฏาจาราเถรี ให้โอวาทว่า
มาณพทั้งหลายพากันถือสากตำข้าว ได้ทรัพย์มาเลี้ยงบุตรภรรยาท่านทั้งหลายจงพากเพียรในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลังท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งจงเข้าไปตั้งจิตให้มีอารมณ์เดียว ตั้งมั่นด้วยดีแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรปรวนและโดยความเป็นของไม่ใช่ตน.
ข้าพเจ้าฟังคำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ในปฐมยามแห่งราตรี ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติก่อนได้ ในมัชฌิมยานแห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุได้หมดจด ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ทำลายกองแห่งความมืด [อวิชชา] ได้ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ จึงลุกขึ้นจากอาสนะในภายหลังข้าพเจ้าทำตามคำพร่ำสอนของแม่ท่านแล้ว ข้าพเจ้ามีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะห้อมล้อมแม่ท่านอยู่ ดุจทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พากันห้อมล้อมท่าวสักกะผู้ชนะสงครามฉะนั้น.
จบ อุตตราเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 275
อรรถกถสัตตกนิบาต
๑. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา
ในสัตตกนิบาต คาถาว่า มุสลานิ คเหตฺวาน ดังนี้เป็นต้นเป็นคาถาของพระอุตตราเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สะสมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ ได้บำเพ็ญกุศลมูลสร้างสมธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ มีธรรมเครื่องอบรมบ่มวิมุตติแก่กล้า ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนของครอบครัวแห่งหนึ่ง ได้นามว่าอุตตรา รู้เดียงสาแล้วเข้าไปยังสำนักพระปฏาจาราเถรี. พระเถรี ได้กล่าวธรรมแก่นาง นางฟังธรรมเกิดสังเวชในสังสารวัฏฏ์ เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในศาสนาก็บวช ครั้นบวชแล้ว ทำกิจเบื้องต้นเสร็จ เริ่มวิปัสสนาในสำนักของพระปฏาจาราเถรี ประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ คร่ำเคร่งวิปัสสนาอยู่ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะอินทรีย์แก่กล้า เหตุที่สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า
พระปฏาจาราเถรี ให้โอวาทว่า
มาณพทั้งหลายพากันถือสากตำข้าวอยู่ ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภรรยา ท่านทั้งหลายก็จงพากเพียรในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทำแล้วไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง จงเข้าไปตั้งจิตไว้ให้มีอารมณ์เดียว ตั้งมั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 276
ด้วยดีแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยความเป็นของไม่ใช่ตน.
พระอุตตราเถรีกล่าวว่า
ข้าพเจ้าได้ฟังคำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ในปฐมยามแห่งราตรี ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติก่อนได้ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุได้หมดจด ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ทำลายกองแห่งความมืด [อวิชชา] ได้ ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชา ๓ จึงลุกจากอาสนะในภายหลัง ข้าพเจ้าทำตามคำพร่ำสอนของแม่ท่านแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ ห้อมล้อมแม่ท่านอยู่ ดุจทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พากันห้อมล้อมท้าวสักกะผู้ชนะสงครามฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตํ อุปฏฺเปตฺวาน ได้แก่ เข้าไปตั้งจิต ประกอบด้วยภาวนาไว้ในกัมมัฏฐาน อย่างไร คือให้จิตมีอารมณ์เดียวตั้งมั่นด้วยดี. บทว่า เอกคฺคํ สุสมาหิตํ ปจิจเวกิขถ ได้แก่ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาการปฏิบัติ อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นแจ้งลักษณะสามในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยงบ้าง ว่าเป็นทุกข์บ้าง ว่าเป็นอนัตตาบ้าง ก็คำนี้พระเถรีกล่าวคล้อยตามโอวาทของภิกษุณีเหล่าอื่น และพระเถรีเป็นต้นของตนในเวลาโอวาท.บทว่า ปฏาจารานุสาสนึ ได้แก่ คำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรี. อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า ปฏาจาราย สาสนํ ดังนี้ก็มี ได้แก่คำสั่งสอนของพระปฏาจาราเถรี.
บทว่า อถ วุฏฺาสึ ความว่า เพราะข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ จึงลุกจากอาสนะภายหลัง วันหนึ่งพระเถรีแม้รูปนี้ ชำระกัมมัฏฐานในสำนักของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 277
พระปฏาจาราเถรีแล้ว เข้าไปสถานที่อยู่ของตนแล้วนั่งขัดสมาธิ ตกลงใจว่าข้าพเจ้าจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะความไม่ถือมั่นคร่ำเคร่งวิปัสสนาโดยลำดับ ก็บรรลุพระอรหัตมีอภิญญาและปฎิสัมภิทาเป็นบริวารตามลำดับแห่งมรรค ครั้นปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่างดำเนินไป ก็เกิดโสมนัสว่า บัดนี้เราทำกิจเสร็จแล้ว ก็กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้ เหยียดเท้าออกไปในเวลาอรุณขึ้น ต่อแต่นั้น ราตรีสว่าง ก็ไปยังสำนักของพระเถรี ได้กล่าวซ้ำคาถาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระอุตตราเถรีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตา เต อนุสาสนี ข้าพเจ้าได้ทำตามคำพร่ำสอนของท่านแล้ว. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาในหนหลังหมดแล้ว.
จบอรรถกถาอุตตราเถรีคาถา